SHARE

คัดลอกแล้ว

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีต้นทุนค่าผลิตต่อหน่วยต่ำจึงเป็นที่นิยมในหลากหลายประเทศ

แต่เหตุการณ์น้ำท่วมหนักในลาวเนื่องจากเขื่อนแตกจึงอาจเป็นวาระที่เหมาะสมในการทบทวนข้อดีและข้อเสียของการผลิตไฟฟ้ารูปแบบนี้

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใช้น้ำตามแม่น้ำ เขื่อน และอ่างเก็บน้ำเป็นพลังงาน ทำให้แต่ละประเทศไม่ต้องซื้อหาหรือพิ่งพาเชื้อเพลิงจากชาติอื่น ขณะที่พลังงานที่ใช้กันทั่วไปอย่างฟอสซิลมีราคาผันผวนตามการเมืองและเศรษฐกิจ

เมื่อใช้ผลิตไฟฟ้าแล้วน้ำก็ไม่ได้หมดไป แต่หมุนเวียนอยู่ในวัฏจักรธรรมชาติ เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ก็ระเหยเป็นไอ ตกลงมาเป็นฝนให้สามารถกลับมาใช้ผลิตไฟฟ้าใหม่ได้

การสร้างเขื่อนมีราคาสูงก็จริง แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วเขื่อนหนึ่งสามารถมีอายุได้ 50-100 ปี ใช้การบำรุงรักษาและเจ้าหน้าที่จำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับการผลิตพลังงานด้วยวิธีอื่น

โดยองค์การพลังงานหมุนเวียนนานาชาติ (IRENA)* ประเมินว่าเขื่อนขนาดเล็กถึงปานกลางใช้ค่าบำรุงรักษาและค่าปฏิบัติการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยเพียง 1 – 4% ของเงินลงทุนต่อปีต่อหน่วยไฟฟ้าหนึ่งกิโลวัตต์ ขณะที่เขื่อนขนาดใหญ่ใช้เป็นเปอร์เซ็นน้อยลงไปอีกเมื่อเทียบกับเงินลงทุน ทั้งนี้ไม่ได้รวมค่าเปลี่ยนอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ต้องเปลี่ยนทุก 30-50 ปี

ขนาดของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไม่มีกำหนดตายตัว สามารถเลือกได้ว่าจะสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามภูมิประเทศ เขื่อนจิ๋วของบริษัท Turbulent Hydro มีขนาดเพียง 4×3 เมตรเท่านั้นและสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 15- 100 กิโลวัตต์ ขณะที่เขื่อนซานเสียต้าป้าของจีนสูงถึง 181 เมตร และมองเห็นจากนอกโลกได้

ตามข้อมูลขององค์การพลังงานหมุนเวียนนานาชาติ (IRENA)* กล่าวว่าโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำสามารถบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับความต้องการไฟฟ้าได้ หากความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำก็ลดปริมาณน้ำลง น้ำที่เหลือก็เก็บไว้ใช้เมื่อมีความต้องการสูง หรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ

นอกจากเก็บกักน้ำและผลิตไฟฟ้าแล้ว พื้นที่เขื่อนยังสามารถสร้างประโยชน์ทางอ้อมได้ เช่นด้านการประมงและด้านการการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ให้ชุมชน ตัวอย่างเช่น ในปี 2016 ชุมชนโดยรอบเขื่อนรัชชประภาสามารถทำรายได้จากธุรกิจการท่องเที่ยว 65 ล้านบาท และมีนักท่องเที่ยวกว่า 3 แสนคน

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำภายในประเทศเพื่อป้องกันน้ำท่วม ให้ประโยชน์ด้านการชลประทานและการกักเก็บน้ำไว้บริโภคเมื่อแล้งด้วย

การสร้างเขื่อนถือเป็นเมกะโปรเจ็คที่กินเวลานานและใช้ทรัพยากรมหาศาล บางเขื่อนอาจใช้งบประมาณสูงถึง 20 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณหกแสนล้านบาท) หรือเขื่อนบางแห่งใช้เวลาสร้างนาน 18 ปี

จากข้อมูลขององค์การแม่น้ำโลก (International Rivers) ชี้ว่า การสร้างเขื่อนยังเกิดปัญหางบประมาณบานปลายบ่อยคร้ง โดยเฉลี่ยแล้วคิดเป็น 30% ของงบประมาณที่เสนอในทีแรก และเมื่อสร้างเสร็จก็มักจะผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ 20% โดยเฉลี่ยด้วย

แม้จะถูกเข้าใจว่าเป็นพลังงานสะอาด แต่การสร้างเขื่อนก็จะทำให้ต้องเสียพื้นที่ป่าไม้เป็นบริเวณกว้าง นอกจากสัตว์ป่าก็ถูกรบกวนแล้ว เคยมีการค้นพบว่าหากต้นไม้ยืนต้นตายใต้น้ำก็อาจสร้างปริมาณคาร์บอนไดซ์ออกไซด์พอ ๆ กับการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลเลย*

การเปลี่ยนทางน้ำก็กระทบต่อระบบนิเวศน์ในน้ำ เนื่องจากกิจวัตรของปลาเป็นผลมาจากระดับน้ำ ทางน้ำ ที่กำบังแหล่งอาหาร การสร้างเขื่อนจึงกระทบความหลากหลายทางชีวภาพ โดยที่ผ่านมาปลาและนกบางสปีชีส์ต้องสูญพันธุ์ไป

เขื่อนมักจะสร้างบริเวณหุบเขาที่มีแม่น้ำ บ่อยครั้งเป็นที่ชุมน้ำซึ่งแหล่งการเกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด พื้นที่เหล่านี้กว่าครึ่งของโลกหายไปเพราะการสร้างเขื่อน

เมื่อมีการสร้างเขื่อนจะมีการเวนคืนที่ดินทั้งบริเวณที่จะสร้าง ทั้งหมู่บ้านที่อยู่โดยรอบต้องรับความเสี่ยงน้ำท่วมบ่อย ที่ผ่านมามีคณะกรรมการเขื่อนโลกประเมินว่ามีผู้ต้องย้ายถิ่นฐานเนื่องจากการสร้างเขื่อนมาแล้ว 40-80 ล้านคนทั่วโลก และน้อยครั้งมากที่คนเหล่านี้จะได้ค่าชดเชยที่เป็นธรรม*

นอกจากนี้เรายังมักจะคิดกันว่าเขื่อนเป็นโครงสร้างที่คงทนถาวร ทั้งที่จริงแล้วเขื่อนย่อมมีโอกาสจะแตกได้เสมอทั้งจากภัยธรรมชาติหรือการบำรุงรักษาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งหากเขื่อนแตกก็จะส่งผลให้น้ำในเขื่อนทะลักจนเกิดปัญหาอุทกภัยแก่บริเวณใกล้เคียง

ก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์เขื่อนแตกหลายครั้ง เช่น เหตุการณ์เขื่อนแตกเนื่องจากพายุใต้ฝุ่นเข้าที่มณฑลเหอหนานประเทศจีน ปี 1975 ประเมินแล้วมียอดผู้เสียชีวิตกว่า 80,000 – 230,000 คน

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอันเป็นผลมมาจากสภาวะโลกร้อนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การควบคุมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากน้ำไม่สามารถคาดการณ์ได้แม่นยำเสมอไป การผลิตไฟฟ้าและราคาไฟฟ้าจะแปรผันตามปริมาณน้ำที่มี หากเกิดภัยแล้งก็จะทำให้เกิดวิกฤตขาดพลังงานได้

ปัญหานี้เกิดขึ้นที่เวเนซูเอลาเมื่อมิถุนายนที่แล้ว โดยสภาพอากาศฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลทำให้เกิดภัยแล้งขึ้นในรัฐซาน คริสโตบาล ปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือน้อย ไม่สามารถปล่อยน้ำออกมาผลิตไฟฟ้าได้ ที่อยู่อาศัยหลายแห่งต้องขาดไฟฟ้าใช้เป็นเวลานานกว่า 14 ชั่วโมง

ประเทศโลกที่ 1 อย่างสหรัฐอเมริกาก็หนีไม่พ้นปัญหานี้เช่นเดียวกัน รัฐแคลิฟอร์เนียเกิดภัยแล้วติดต่อกันตั้งแต่ปี 2012 จนถึง 2016 จนแม่น้ำเหลือน้ำน้อยเต็มทนทำให้ในช่วงนั้นไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ต้องพึ่งพาพลังงานจากแหล่งอื่นแทน

 

 

 

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ http://www.workpointnews.com

Facebook / https://www.facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / https://www.instagram.com/workpointnews/

Twitter / https://twitter.com/WorkpointShorts

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า