Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ชีวิตคนปกติย่อมต้อง “ตด” กันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดมาใหม่ๆ มักจะไม่ตด ด้วยระบบภายในร่างกายเกิดความแปรปรวน ดังนั้น ใครที่เคยผ่านประสบการณ์การผ่าตัดมาย่อมเคยอยู่ในนาทีที่ทุกคนลุ้นให้ “ตด”

แล้วสำหรับคนปกติล่ะ “การตด” หรือ “การผายลม” ในแต่ละวัน ที่บางวันก็ตดดัง บางวันก็ตดเหม็น บางวันก็ตดบ่อย แบบไหนอันตรายกว่ากัน หรือตดนั้นกำลังส่งสัญญาณเตือนเรื่องสุขภาพของเราอย่างไรบ้าง

ตดดัง

การตดที่มีเสียงดัง เกิดจากการที่แก๊สถูกขับออกมาด้วยแรงดันอากาศหรือแรงเบ่งที่สูงมาก หรืออาจเกิดจากการที่แก๊สต้องแทรกตัวผ่านกล้ามเนื้อหูรูดที่บีบตัวแน่น ส่วนตดจะดังมากดังน้อยขึ้นอยู่กับความกระชับของกล้ามเนื้อหูรูดและความดันลมภายในลำไส้ใหญ่ ดังนั้น เสียงที่มาพร้อมกับการตดจึงไม่ได้บ่งบอกถึงความผิดปกติอะไร

ตดเหม็น

สารเคมีใน “ลมตด” มีหลายชนิด แต่มีเพียงร้อยละ 1-2 ที่มีกลิ่นเหม็น โดยแก๊สเหล่านี้มีธาตุกำมะถันหรือซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ ซึ่งสารเคมีหลักที่มีกลิ่นในตดคือ แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (hydrogen sulfide) หรือแก๊สไข่เน่า และอื่นๆ โดยแก๊สเหล่านี้เกิดจากเชื้อแบคมีเรียบางชนิดในลำไส้ผลิตขึ้นระหว่างการย่อยอาหาร กลิ่นตดจึงขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่แล้วอาหารจำพวกโปรตีนจะก่อให้เกิดแก๊สที่มีกลิ่นเหม็นมาก เช่น อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ ไข่ ชีส และนม รวมไปถึงถั่วชนิดต่างๆ อีกทั้งแก๊สเหล่านี้ต้องเดินทางผ่านลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของอาหารและกากอาหารที่ถูกย่อยสลายแล้ว จึงมีกลิ่นเหม็นเป็นธรรมดาและไม่ถือว่าเป็นสัญญาณของความผิดปกติของสุขภาพแต่อย่างใด

ตดบ่อย

โดยปกติแล้วผู้ที่มีร่างกายอุดมสมบูรณ์และแข็งแรงดีจะตดประมาณ 14 – 23 ครั้งต่อวัน เมื่อใช้เกณฑ์นี้เป็นตัววัดแล้ว การตดที่มากกว่า 23 ครั้ง ภายใน 1 วัน ถือว่าผิดปกติ โดยความผิดปกตินี้อาจเกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊สในร่างกายมากเกินไป เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ชีส กะหล่ำปลี หัวหอม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม หรืออาจเกิดจากภาวะความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งภายในร่างกาย

การตด หรือการผายลมบ่อยมากเกินไปนั้นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงสุขภาพภายในได้เป็นอย่างดี ซึ่งภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการตด ได้แก่ โรคมะเร็งลำไส้ โรคลำไส้แปรปรวน ระบบดูดซึมอาหารทำงานผิดปกติ การแพ้อาหารที่มีส่วนประกอบของแลคโตส (lactose) เช่น นมวัวและโยเกิร์ต ภาวะที่เกี่ยวของกับกระเพาะอาหาร เช่น การที่อาหารเป็นพิษ ฯลฯ

ดังนั้น เราจึงควรหมั่นนับจำนวนครั้งที่เราตดในแต่ละวัน เพื่อสังเกตการทำงานที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารและลำไส้ หากมีการตดที่บ่อยครั้งเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สได้ง่าย แต่หากยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และหาทางแก้ไขอย่างเร็วที่สุด

รู้หรือไม่ ?

  • ดร.ไมเคิล เลวิตต์ (Dr.Michael Levitt) แห่ง Veterans Administration Medical Center ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการยอมรับจากวงวิชาการทั่วโลกว่าเป็น “ผู้เชี่ยวชาญเรื่องตดระดับโลก” และเป็นผู้คิดค้น “กางเกงในดับกลิ่นตด”
  • ผู้หญิงตดเหม็นกว่าผู้ชาย…ไม่อยากเชื่อเลยใช่ไหม แต่จากการศึกษาของ ดร.เลวิตต์ พบว่า เมื่อท้องอืด ผู้หญิงจะมีไฮโดรเจนซัลไฟด์เข้มข้นมากขึ้น ซึ่งทำให้กลิ่นตดเหม็นขึ้นด้วย
  • คนทานเนื้อสัตว์ตดเหม็นกว่าคนทานมังสวิรัติ
  • คนทานมังสวิรัติตดบ่อยกว่าคนทานเนื้อสัตว์
  • คนชอบทานอาหารรสจัด ใส่เครื่องเทศมาก หรือชอบดื่มเบียร์ ตดเหม็นไม่เบา
  • อาการท้องผูก ทำให้ตดมากและตดเหม็น
  • ตดติดไฟได้ แต่ถ้าใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ก็ไม่มีปัญหา หากเป็นมนุษย์ในยานอวกาศนอกโลกที่ต้องอยู่ในสภาพสุญญากาศ การตดจะเป็นปัญหามากเพราะติดไฟได้ง่าย ต้องหาวิธีดูดแก๊สที่ออกมาไปเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง: scimath, 10 ความรู้รอบ “ตด” โดย สุปรีดี จันทะดี, เคมีของ “ตด” กับผลทางสุขภาพ (ที่ไม่น่าเชื่อ และไม่ควรเชื่อ) โดย รศ.ดร.พลังพล คงเสรี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, seventeen

ขอบคุณภาพจาก: mychimney, thealternativedailyscoopwhoop

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า