Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คนกรุงต้องฝันค้างอีกครั้ง เพราะล่าสุดศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ยุติการส่งมอบรถเมล์ NGV จำนวน 489 คน จากบริษัท  SCN-CHO  บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) ที่เป็นคู่สัญญากับ ขสมก.

แม้ที่ผ่านมาจะส่งมอบรถล็อตแรกไปแล้ว 100 คัน และมีการเปิดตัวอย่างอลังการเมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา หรือเมื่อไม่ถึงหนึ่งเดือนมานี้เอง เรียกได้ว่าเกือบจะเป็นความจริงแล้ว แต่สุดท้ายก็มีผู้ไปฟ้องว่า การทำสัญญาระหว่าง ขสมก. กับ บริษัท ช. ทวีฯ นั้นไม่ถูกต้อง และมติ ขสมก. ครั้งนั้นเป็นเท็จ และต้องระงับการส่งมอบออกไป

ต้องบอกว่าระบบการขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ นั้นเป็นที่ยอมรับกันมานานว่าประสบปัญหาอย่างสูง ทั้งจำนวนที่ไม่พอและสภาพรถที่เก่าแก่ ทำให้คนส่วนหนึ่งปฏิเสธที่จะใช้ระบบขนส่งมวลชนและกลับไปใช้รถส่วนตัว ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการเพิ่มภาระให้การจราจรและสภาพมลพิษในเมืองหลวง ที่นับวันมีแต่จะแย่ลงเรื่อยๆ

รถไฟฟ้าเองก็ยังพึ่งพาได้ไม่มาก เพราะยังไม่เต็มรูปแบบทั้งระบบ การขนย้ายผู้โดยสารจากนอกเมืองเข้ามาในเมืองยังทำได้ดีไม่พอ หรือแอร์พอร์ทลิงค์ที่ประสบปัญหาการบริหารจนรถเหลือใช้การได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง จากความยากลำบากกลายเป็นเรื่องขบขันของคนกรุงไปเสียแล้ว ยิ่งตอกย้ำความรู้สึกให้คนต้องการใช้รถส่วนตัว


ย้อนกลับมาที่รถเมล์ NGV
นั้นหากมองแบบคำพังเพยต้องใช้ว่า “ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่…” เพราะจากแรกเริ่มผ่านกระบวนการต่างๆ วันและเวลาเปลี่ยนแปลงไปมาก และสุดท้ายแม้จะใกล้แค่มือเอื้อม แต่ก็หลุดลอยออกไป ซึ่งมีเหตุผลทั้งการ “ศึกการเมือง” และ “ศึกธุรกิจ”

โครงการรถเมล์ NGV นั้นเข้าขั้นมหากาพย์ โดยเริ่มขึ้นตั้งสมัยปลายรัฐบาล “ทักษิณ ชินวัตร” คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2548 ให้ทั้งหารถใหม่ และนำรถเดิมมาปรับปรุงเป็นรถปรับอากาศ และใช้ก๊าซ NGV แทนน้ำมัน โดยกำหนดวงเงินไว้ 23,500 ล้านบาท

ต่อมาวันที่ 14 ก.พ. 2549 ครม.ก็อนุมติหลักการ โดยกำหนดไว้ที่ 2,000 คัน ทั้งนี้มีการกำหนดให้เป็นการลงทุนพิเศษเพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งต่อมาก็มีการทักท้วงถึงวงเงินและความเหมาะสมและความจำเป็น

แต่โครงการก็ต้องถูกระงับไปเพราะการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549

จากนั้นในปี 2551 พรรคพลังประชาชน ซึ่งก็คือกลุ่มพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบพรรคไปก็ชนะการเลือกตั้งกลับมาเป็นรัฐบาล โดยมี “สมัคร สุนทรเวช” เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการปัดฝุ่นโครงการนี้อีกครั้ง แต่คราวนี้มาอย่างยิ่งใหญ่อลังการกว่าเก่า โดยกำหนดให้เช่ารถเมล์ NGV ถึง 6,000 คัน ซึ่งต่อมาก็ปรับลดขนาดโครงการลงเหลือ 4,000 คัน

อย่างไรก็ตามโครงการรถเมล์ NGV ในสมัยรัฐบาลนายสมัครมีความเชื่อโยงไปถึงพรรคภูมิใจไทยด้วย

แต่ต่อมาก็เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง รัฐบาลเปลี่ยนจาก “สมัคร” มาเป็น “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” แต่รัฐบาล “สมชาย” ก็แทบบริหารประเทศไม่ได้เนื่องจากการชุมนุม จนสุดท้ายก็เปลี่ยนมาเป็นรัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถผลักดันโครงการนี้ได้สำเร็จ เพราะถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมและความโปร่งใส โดยเฉพาะวงเงินที่สูงถึง 69,000 ล้านบาท ซึ่งต่อมาก็ลดลงเหลือ 64,000 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี

จวบจนเข้าสู่รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ก็มีการนำโครงการนี้มาปัดฝุ่นอีกครั้ง โดยวันที่ 8 พ.ค. 2555  กระทรวงคมนาคมเสนอให้ ครม.มีมติอนุมัติให้ ขสมก. ซื้อรถเมล์ NGV จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162 ล้านบาท

อีกครึ่งปีต่อมาวันที่  9 เม.ย. 2556 ครม.ก็อนุมัติให้ ขสมก. กู้เงิน 13,162 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว

แต่รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ก็ถูกรัฐประหารในปี 2557  และเปลี่ยนผ่านมาสู่รัฐบาล “ประยุทธ์ จันทร์โอชา” อย่างไรก็ตามคราวนี้โครงการไม่ได้สะดุดหยุดลง โดย 8 ก.ค. 2557 คสช. มีมติให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาและเปรียบเทียบระหว่างการซื้อและการเช่า จวบจน 2 ธ.ค. 2557 ครม. จึงเห็นชอบในโครงการจัดซื้อ

20 ม.ค. 2558 ครม.ได้รับทราบและใช้ระบบข้อตกลงคุณธรรมมาใช้บังคับโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ล็อตแรก 489 คัน โดยถือเป็นโครงการนำร่อง หากสำเร็จจะมีล็อตที่สองอีก 2,694 คัน

13-21 ม.ค. 2558 ครม.ประกาศขายซองประกวดราคาการจัดซื้อรถเมล์ NGV ครั้งที่ 1 จำนวน 489 คัน วงเงิน 1,784.85 ล้านบาท

แต่อีกหนึ่งสัปดาห์ถัดมาคือวันที่ 29 ม.ค. 2558  ขสมก.ก็สั่งยกเลิกการประกวดราคาเนื่องจากระบุว่าผู้เสนอราคามีรายละเอียดต่างไปจากทีโออาร์

วันที่ 19-27 ก.พ 2558 จึงมีการขายซองประกวดราคาครั้งที่สอง มีผู้ยื่นสามรายคือ บริษัทเบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ซ๊เอ็ท แมเนจเมนท์ และ บริษัท บ้านโป่งบัสบอดี้ จำกัด แต่สุดท้ายก็ต้องยกเลิกอีกครั้งเนื่องจากผู้เสนอราคาคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ข้อเสนอด้านเทคนิคไม่เป็นไปตามเงื่อนไข

ที่สุดจึงเปิดการขายซองประมูลครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 23-26 มี.ค. และกำหนดยื่นซองในวันที่ 3 เม.ย. 2558 ซึ่งมีผู้ผ่านคุณสมบัติสองรายคือ  1.กลุ่มบริษัทร่วมค้า JVVC ที่มีบริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 50%  และบริษัท เบทส์ริน กรุ๊ป จำกัด

3  เม.ย. 2558 ขสมก. ประกาศราคากลางที่จำนวน 489 คันที่วงเงิน 2,446.35 ล้านบาท โดยให้จัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ

27 ก.ค. 2558 ประกาศผู้ชนะคือ กิจการร่วมค้า JVVC หรือ ช.ทวี  โดยเสนอที่ 1,850 บาท ต่อวัน ต่อคัน ต่ำกว่าราคากลาง 1,636 บาท  รวมวงเงิน 1,735.55 ล้านบาท  โดย ขสมก. ได้เจรจาค่าซ่อมบำรุงรวมทั้งสิ้น 2,286.1 ล้านบาท

แต่แล้วก็ฝันค้างอีกครั้งเมื่อ ขสมก. ยกเลิกการประกวดราคา โดยอ้างเรื่องความไม่ชัดเจนของ TOR ในวันที่ 18 พ.ย. 2558

8 มิ.ย. 2559 จึงมีการประกวดราคาอีกครั้งเป็นคำรบ 4  คราวนี้ในวงเงิน 4,021.71 ล้านบาท โดยมีผู้ซื้อซอง 11 ราย แต่มาประกวดราคาสามรายคือ กลุ่มบริษัทร่วมค้า JVCC ที่มีบริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทย เทคโนโลยี แอนด์ เดเวลลอปเมนท์ จํากัด และบริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด

23 มิ.ย. 2559  ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติสองบริษัทคือ ช.ทวีฯ และ เบสท์ริน

8 ส.ค. 2559 เบสท์รินชนะการประมูลที่ราคา 3,389.71 ล้านบาท และให้ส่งมอบในวันที่ 29 ธ.ค. 2559

จากนั้น 1ธ.ค. 2559 รถเมล์ NGV ล็อตแรกก็มาถึงไทย แต่ก็ปรากฏว่า กรมศุลกากรกักรถเมล์เอ็นจีวี 100 คันที่เบสท์รินนำเข้าจากมาเลเซียเพื่อส่งมอบให้ ขสมก. เพราะตรวจพบว่าสำแดงเท็จเพื่อเลี่ยงภาษี โดยระบุว่าเป็นการอ้างว่าเป็นรถที่ผลิตจากมาเลเซียซึ่งได้รับการยกเว้นตามกฎอาเซียน แต่จริงๆ แล้วเป็นรถที่นำเข้ามาจากประเทศจีน

ทำให้วันที่ 13 เม.ย.  2560 ขสมก. มีมติยกเลิกสัญญากับ เบสท์รินกรุ๊ป

ต่อมา 7 พ.ย. 2560 จึงมีการประกวดราคาอีกครั้งโดยตั้งราคากลางที่วงเงิน 4,020 ล้านบาท คราวนี้มีผู้เสนอราคารายเดียวคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า SCN-CHO หรือ บริษัท ช.ทวี และ บริษัทแสกนอินเตอร์ จำกัด (มหาชน) โดย ขสมก. มีมติเลือกเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2560 โดยอยู่ในวงเงิน 4,261 ล้านบาท

และ ช.ทวี ก็ได้นำเข้ารถเมล์ NGV ล็อตแรกเข้ามาและเริ่มใช้ในเดือน มี.ค.

อย่างไรก็ตามมีผู้ไปร้องว่ามติ ขสมก. ครั้งนั้นไม่ถูกต้องเพราะองค์ประชุมไม่ครบ ซึ่งที่สุดศาลปกครองก็สั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับการส่งมอบรถเมล์ NGV ซึ่งก็ไม่รู้ว่าต้องรออีกเท่ไหร่ เราจึงจะได้ใช้รถที่ว่า


หรือถึงเวลานั้นรถเมล์อาจไม่จำเป็นอีกต่อไป และขนส่งมวลชนของเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ก็จะเป็นปัญหาไม่จบไม่สิ้น


บทความ โดย อสรพิษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า