Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ระหว่างการเลือกตั้งพ.ศ. 2562 ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ หนึ่งในองค์กรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินคดีเกี่ยวกับผู้ลงสมัคร พรรคการเมืองและการเลือกตั้งหนีไม่พ้นศาลรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ชี้ขาดการตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทำงานได้อย่างลุล่วง

ภารกิจอันสำคัญเช่นนี้ดำเนินไปตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ทีมข่าวเวิร์คพอยท์สำรวจที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน พบว่ามีที่มาทั้งสิ้น 3 รูปแบบ

รูปแบบแรกคือการสรรหาโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้มีที่มา 4 แบบ คือ 1. เลือกมาจากที่ประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวน 3 คน 2. เลือกมาจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน 3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวน 2 คน 4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 2 คน

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันที่จะเห็นได้ในกรณีนี้คือ
1.นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ได้รับการสรรหาจากกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และได้รับการแต่งตั้งในปี 2556

2.นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ได้รับคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดในช่วงคาบเกี่ยวการรัฐประหารปี 2557 ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งในปีเดียวกัน

รูปแบบที่ 2 มาจากการสรรหาโดยสนช. โดยคสช.ออกคำสั่งที่ 48/2557 ให้การสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างตามหลักเกณฑ์และวิธีการของรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ขณะที่บังคับใช้ประกาศนี้ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎรและผู้นำฝ่ายค้าน ทำให้คณะกรรมการสรรหาเหลือเพียง ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและประธานสนช. ทั้งมีสนช.ซึ่งแต่งตั้งโดยคสช.เป็นผู้พิจารณาเห็นชอบด้วย
.
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในชุดนี้ที่มาจากวิธีนี้ได้แก่ นายปัญญา อุดชาชน และนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (ทั้งสองคนแต่งตั้งในปี 2558)

ส่วนรูปแบบที่ 3 มาจากการต่ออายุโดยใช้คำสั่งรัฐบาล คสช. ได้แก่ นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรัญ ภักดีธนากุล นายชัช ชลวร นายบุญส่ง กุลบุปผา และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี

ตุลาการทั้ง 5 คนได้รับตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในปี 2551 ตามกระบวนการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดวาระไว้ 9 ปี เมื่อครบวาระในปี 2560 คสช.ได้มีประกาศคสช.ที่ 24/2560 ออกมา ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งออกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ใช้บังคับ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ออกมาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 และให้มีผลบังคับใช้ในวันถัดมา ทั้งนี้หากจะมีการสรรหาใหม่ ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า