Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รศ.นพ. สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น) แนะทางออกปัญหาความรุนแรงของเยาวชน คือครอบครัวต้องเข้าใจและใส่ใจบุตรหลานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 61 ที่ผ่านมา เกิดเหตุนักเรียนชั้น ม.6 อายุ 18 ปี ถูกนักเรียนช่างกล อายุ 17 ปี ใช้มีดทำครัวแทงกว่า 10 แผล บนรถเมล์สาย 180 ก่อนจะไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
หลังก่อเหตุ เยาวชนวัย 17 ปี รับสารภาพ​ว่าลงมือก่อเหตุจริง โดยเล่าว่า ตนขึ้นรถโดยสารมากับแฟนสาวจากพระราม 3 นั่งอยู่เบาะคู่ ฝั่งขวา ก่อนถึงเบาะหลัง ส่วนผู้เสียชีวิตขึ้นรถที่ป้ายกรมศุลกากร และขึ้นมานั่งแถวเบาะหลังใกล้กับตน จึงไล่ให้ไปนั่งที่อื่น ก่อนจะมีการโต้เถียงและชกต่อยกัน ระหว่างนั้นได้ชักมีดที่พกมาด้วยแทงนักเรียนชั้น ม.6 จนนอนกับพื้น ซึ่งโดยส่วนตัวไม่เคยรู้จักหรือมีความปัญหาขัดแย้งกับผู้เสียชีวิตมาก่อน

เหตุการณ์ความรุนแรงของเยาวชนในลักษณะนี้ เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมไทย รศ.นพ. สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น) กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรงของเยาวชนไทยเข้าขั้นวิกฤติมานานแล้ว ซึ่งไม่ได้เกิดจากปัจจัยแค่ตัวบุคคลเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญอีก 2 อย่างคือ พื้นฐานครอบครัวและสภาพแวดล้อม

“ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยบุคคลเท่านั้น มันมีแม้กระทั่งปัจจัยระบบนิเวศของตัวคนๆ นั้นที่อาศัยอยู่เกี่ยวข้องด้วย ยกตัวอย่างเช่น บ้าน ชุมชน ถ้าเป็นเด็กก็โรงเรียน ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็คือสถานที่ทำงาน หากสิ่งที่เขากำลังทำงานอยู่ หากครอบครัวที่เขาอาศัยอยู่ร่วมกันมีการใช้ความรุนแรง ไม่ได้เป็นต้นแบบที่ดี ไม่ได้มีวิธีการที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเอง โดยไม่ไปรุกล้ำคนอื่นเขา ถ้าไม่ได้ฝึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้มา บวกกับมีความอ่อนแอใน พื้นฐานอารมณ์ของตัวเองเป็นตัวตั้ง แล้วก็เห็นโมเดลแบบต้นแบบแบบนี้เกิดขึ้นในสังคมของเขาเองด้วย โอกาสที่เขาจะใช้ความรุนแรงสูงมาก ที่สำคัญจะเป็นการใช้ความรุนแรงโดยไร้จิตสำนึกครับ”

การแก้่ไขปัญหาความรุนแรงเหล่านี้ ควรต้องเริ่มจากคนในครอบครัว ที่จ้องเข้าใจและใส่ใจบุตรหลาน ช่วยชี้แนวทางที่ถูกต้อง และควรทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาควานรุงแรง รศ.นพ. สุริยเดว กล่าวต่อว่า “ต้องเริ่มต้นจากที่ตัวครอบครัวต้องเข้ามาใส่ใจ ที่สำคัญอย่างยิ่งใจต้องมาก่อนนะ คือถ้าใจเราบวก เราไม่ให้ท้ายซึ่งกันและกัน และเรามาช่วยในการที่จะดูแลลูกหลานของเราเองไม่ปล่อยไป เพราะพ่อแม่ทิ้งภาระหน้าที่นี้ให้กับใครไม่ได้ หากไม่มีพ่อแม่ก็ผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก หรือแม้กระทั่งคนที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการที่จะต้องเกาะติดเรื่องพฤติกรรม อันนี้คือจุดเริ่มต้น ต้องอยู่บนความตั้งใจจริงจัง และก็ต่อเนื่อง เพราะใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ ไม่ได้”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า