Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจากเพจ Hindu Meeting (Fan Page)

งานแห่ประเพณีวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขก เนื่องในวันวิชัยทศมี ในเทศกาลนวราตรีประจำปี 2561 มีประชาชนเข้ามาร่วมประเพณี เพื่อแสดงความเคารพบูชา สักการะ ตามความเชื่อเป็นจำนวนมาก

เมื่อคืนวันที่ 19 ต.ค.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเทศกาลงานนวราตรี ประจำปี 2561ใน งานแห่ประเพณีวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ (วัดแขก สีลม) ที่จัดขึ้นทุกปี เนื่องในวันวิชัยทศมี อันเป็นวันฉลองชัยชนะขององค์พระแม่มหาทุรคาที่ทรงต่อสู้กับอสูรควาย (มหิษาสูร) ได้สำเร็จ หลังจากต่อสู้กันมาเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน จนสามารถเอาชนะได้ในวันที่ 10 ทางวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) จึงได้จัดให้มีงานแห่ประเพณี เพื่อเฉลิมฉลองและให้ผู้ศรัทธาได้ร่วมกันสักการะองค์พระแม่ และทวยเทพเทวะทั้งหลายอย่างทั่วถึง โดยขบวนแห่ในปีนี้ มี 8 ขบวน โดยเริ่มเคลื่อนขบวนออกจากวัดเวลา 19.30 น.

ตลอดเส้นทางถนนสีลมมีบรรดาศิษยานุศิษย์ เข้าร่วมงานอย่างเนืองแน่น และพร้อมใจกันประดับตกแต่งโต๊ะบูชาอย่างสวยงาม มีการจัดตั้งโต๊ะบูชาตลอดเส้นทางไปจนถึงถนนสาทรเพื่อรอรับขบวนองค์พระแม่และเทพเทวรูปต่างๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู

ผู้ร่วมงานประเพณี คนนี้ บอกว่า ในการแห่ขบวนทุกปี จะมีการปิดเส้นทางจราจรโดยรอบ เพื่อเคลื่อนขบวนไปโดยรอบ แม้จะมีความไม่สะดวกอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคที่จะเข้ามาร่วมประเพณี และกราบสักการะเพราะได้วางแผนการเดินทางไว้แล้ว

ภาพจาก Sutthawan Net

ขณะเดียวกัน ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงพนักงานที่ทำงานในพื้นที่ส่วนใหญ่ เข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมความเชื่อของคนในสังคมไทย และรับรู้ถึงกำหนดการประเพณีของวัด เพราะทำงานที่นี่มานาน

ซึ่งในวันแห่จะมีการปิดถนนหลายเส้นทางโดยรอบ ก็ใช้วิธีปรับเปลี่ยนเส้นทาง บางบริษัทในพื้นที่ได้ปรับเวลาทำงานเพื่ออำนวยความสะดวก ต่อการเดินทางด้วย

สำหรับขบวนแห่เมื่อคืนนี้ เสร็จสิ้นไปเมื่อเวลาประมาณ 03.03 น. รถแห่พระแม่คันสุดท้ายกลับมาถึงหน้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ถือเป็นการเสร็จสิ้นงานแห่ประเพณี ประจำปี 2561 อย่างงดงาม

นวราตรี (Navratri) เทศกาลบูชาพระแม่ทุรคา

นวราตรี (Navratri, Navaratri, หรือ Navarathri) เป็นเทศกาลแห่งการบูชาและการเต้นรำ ในภาษาสันสกฤตคำว่า นว (nava) หมายถึง เก้า และ ราตรี (ratri) หมายถึง กลางคืน จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “เก้าคืน” ซึ่งในช่วง “เก้าคืน” นี้จะมีการบูชาพระแม่ทุรคา (Durga) หรือศักติ (Shakti) ซึ่งหมายถึง พลังหรืออำนาจ ในเก้ารูปแบบ

โดยเทศกาลนี้จะจัดขึ้นสองครั้งต่อปี ในช่วงต้นฤดูร้อน และต้นฤดูหนาว ในช่วงฤดูหนาวนี้ตรงกับเดือนอัศวิน (Ashwin) ตามปฏิทินฮินดู

ภาพจาก Sutthawan Net

เทวีทุรคา หรือที่นิยมเรียกว่า พระแม่ทุรคา เป็นเทวีแห่งความมั่งคั่ง ความเจริญรุ่งเรือง และสุขภาพดี พระนางเป็นอวตารภาคหนึ่งของพระแม่ปารวตี มเหสีของพระศิวะ ตามตำนานเทพเจ้าฮินดู กล่าวถึงการปราบ มหิงสาสูร ซึ่งเป็นอสูรที่ทรงอำนาจมากจนไม่มีเทพเจ้าองค์ใดทำลายลงได้ ดังนั้นบรรดาทวยเทพต่างๆ จึงได้ไปเข้าเฝ้าพระนางทุรคาขอให้ทรงช่วย และเทพต่างๆ เหล่านั้น ก็มอบอาวุธที่ทรงอำนาจให้กับพระนาง เมื่อมีอาวุธครบครัน พระนางก็สามารถปราบอสูรร้ายลงได้ และสถานที่ที่มหิงสาสูรสิ้นชีพนั้น เดิมคือเมือง มหิศปุระ (Mahishpur) ปัจจุบันคือ เมืองไมซอร์ (Mysore) ชาวไมซอร์จึงมีการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อย่างยิ่งใหญ่สนุกสนาน

โดยในการบูชาศักตินี้ จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ในช่วงสามวันแรกจะเป็นพิธีปลุกพระแม่ทุรคา เทวีแห่งพลังอำนาจขึ้นมา เพื่อมากำจัดสิ่งเลวร้ายไม่บริสุทธิ์ต่างๆ จากนั้นเทวีที่ได้รับการบูชาต่อมาคือ พระแม่ลักษมี (Lakshmi) ผู้ที่จะมอบความมั่งคั่งให้กับผู้ที่บูชา และในช่วงสามวันสุดท้ายเป็นการชูชา พระแม่สรัสวตี (Saraswati) เทวีแห่งสติปัญญา ชาวฮินดูเชื่อว่า เพื่อที่จะได้รับพรครบในทุกด้าน จำเป็นที่จะต้องบูชาพระแม่ทั้งสามพระองค์ต่อเนื่องกัน 9 วัน

รูปบูชาของพระแม่จะถูกนำมาวางไว้ที่บ้านและที่วัดตลอดทั้งเก้าวันที่เฉลิมฉลอง มีการถวายผลไม้ ดอกไม้ ขนมหวาน แด่รูปเทวี และร้องเพลงสวดบาจัน (bhajans) เพื่อสรรเสริญพระนาง ในวันสุดท้ายของเทศกาลนี้จะมีขบวนแห่นำรูปเคารพไปจมลงในแม่น้ำใกล้เคียง

ในอินเดียมีการเฉลิมฉลองเทศกาลนวราตรีทั่วทั้งอินเดีย แต่อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค นอกจากการบูชาเทวีแล้วชาวฮินดูยังฉลองด้วยการเต้นดันดิยาราส (Dandiya-raas) หรือรำกระทบไม้ โดยถือไม้สั้นๆ คนละคู่ ตีกระทบกันเป็นวง วนไปวนมา แม้ดูแล้วไม่มีท่าเต้นอะไร แต่คนเล่นเขาก็สนุกสนานกันมาก ซึ่งการเต้นนี้ก็อาจแตกต่างกันไปตามความนิยมในแต่ละที่

เทศกาลนี้ยังถือเป็นโอกาสที่ดีและเป็นมงคลสำหรับครอบครัวและเพื่อนๆ ที่จะมาพบปะอวยพร และสังสรรค์กัน ทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่เป็นมงคลและดีที่สุดที่จะเริ่มการลงทุนด้านธุรกิจใหม่ๆ อีกด้วย

ร่างทรงพระแม่อุมาเทวี : ภาพจาก Sutthawan Net

ร่างทรงพระแม่อุมาเทวี : ภาพจาก Sutthawan Net

ร่างทรงพระแม่กาลี ระบำไฟ : ภาพจาก Sutthawan Net

ร่างทรงพระขันธกุมาร : ภาพจาก Sutthawan Net

 

ขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมนักศึกษาไทยเมืองปูเณ่ ประเทศอินเดีย , Hindu Meeting (Fan Page)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม >>>

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า