Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ที่ผ่านมา มีการพูดถึงเรื่อง “ความเหลื่อมล้ำ” ในประเทศไทยกันอย่างกว้างขวาง มีการอ้างถึงตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำจากหลายแหล่ง ซึ่งให้ภาพสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำแตกต่างกัน จนผู้อ่านหลายคนอาจจะงงว่า สุดท้ายแล้วประเทศไทยเหลื่อมล้ำที่สุดในโลกจริงหรือไม่ และสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย แท้จริงแล้วดีขึ้นหรือแย่ลงกันแน่

เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยให้มากขึ้น อาจต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจว่า ความเหลื่อมล้ำสามารถถูกวัดได้ในหลายมิติ ไม่ว่าจะด้วยทรัพย์สิน รายได้ รายจ่าย หรือด้วยปัจจัยอื่นๆ อีกทั้ง “วิธีการ” วัดความเหลื่อมล้ำเองก็มีอย่างหลากหลาย ซึ่งมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์อยากชวนผู้อ่านไปดูผลลัพธ์ของการวัดค่าความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยหลายรูปแบบ เพื่อให้เห็นถึงความหลากหลายของคำว่า “ความเหลื่อมล้ำ” เอง รวมถึงให้ผู้อ่านได้เข้าใจสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยอย่างรอบด้านมากขึ้นด้วย

รายงานของ Credit Suisse ซึ่งเป็นต้นธารของการถกเถียงเรื่องความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมานี้ วัดความเหลื่อมล้ำในด้าน “ทรัพย์สิน” (ในรายงานใช้คำว่า Wealth หรือ ความมั่งคั่ง) โดยวิธีการเบื้องต้นสุดในการวัดก็คือ การวัดว่าคนที่รวยที่สุด 1% ถือครองทรัพย์สินเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของทรัพย์สินทั้งหมดของประเทศ

ผลลัพธ์ในปีล่าสุดออกมาปรากฏว่า กลุ่มคน 1% ที่รวยที่สุดในประเทศไทย ถือครองทรัพย์สินทั้งสิ้น 66.9% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าทุกประเทศในโลก จึงเป็นที่มาของกระแสข่าวที่ว่าประเทศไทยเหลื่อมล้ำที่สุดในโลก อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อ 2 ปีที่แล้ว สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินของไทยยังแย่ลงด้วย โดยรายงานของ Credit Suisse ซึ่งเผยแพร่ในปี 2559 ได้เคยคำนวณไว้ว่ากลุ่มคน 1% ที่รวยที่สุดในตอนนั้นถือครองทรัพย์สินทั้งสิ้น 58% (สูงสุดเป็นอันดับที่ 3 รองจากรัสเซียและอินเดีย)

ที่มา:
รายงานปี 2018 https://www.credit-suisse.com/corporate/en/research/research-institute/global-wealth-report.html

ข้อมูลปี 2016 http://publications.credit-suisse.com/tasks/render/file/index.cfm?fileid=AD6F2B43-B17B-345E-E20A1A254A3E24A5

ค่าสัมประสิทธิ์ความเสมอภาค หรือ Gini Coefficient เป็นตัวเลขอีกตัวหนึ่งซึ่งนิยมถูกนำมาใช้ในการวัดความเหลื่อมล้ำ เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์ Gini นี้จะนำทรัพย์สิน (หรือรายได้ หรือปัจจัยอื่นๆ แล้วแต่ว่าวัดด้วยอะไร) ของทุกคนในสังคมมาคำนวณ ผลลัพธ์สุดท้ายจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100% โดยถ้าตัวเลขยิ่งต่ำ ก็แปลว่าสังคมเท่าเทียมกัน ในขณะที่ถ้าหากคำนวณค่า Gini ออกมาได้สูง ก็แปลว่าสังคมมีความเหลื่อมล้ำมาก

การคำนวณความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินโดย Credit Suisse ในรายงานที่เพิ่งเผยแพร่ในปีนี้พบว่า ค่า Gini อยู่ที่ 90.2% ซึ่งสูงกว่าค่าที่คำนวณได้เมื่อ 2 ปีก่อน (85.9%) ซึ่งตีความได้ว่าตลอด 2 ปีที่ผ่านมานี้ สถานการณ์การกระจายทรัพย์สินของประเทศไทยแย่ลง

ที่มา:
รายงานปี 2018 https://www.credit-suisse.com/corporate/en/research/research-institute/global-wealth-report.html

ข้อมูลปี 2016 http://publications.credit-suisse.com/tasks/render/file/index.cfm?fileid=AD6F2B43-B17B-345E-E20A1A254A3E24A5

“รายได้” เป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งซึ่งนิยมนำมาคำนวณเพื่อฉายภาพความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยวิธีการวัดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้แบบหนึ่งที่หน่วยงานราชการในประเทศไทยนิยมใช้คือ การเปรียบเทียบว่ากลุ่มคนที่มีรายได้มากที่สุด 10% มีรายได้คิดเป็นกี่เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยที่สุด 10%

ผลลัพธ์การวัดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ด้วยวิธีนี้ปีล่าสุดของไทย (2558) พบว่ากลุ่มคน 10% ที่รวยที่สุด มีรายได้มากกว่ากลุ่มคน 10% ที่มีรายได้น้อยที่สุดประมาณ 22 เท่า และโดยรวมแล้ว ถ้ามองด้วยวิธีนี้ การกระจายรายได้ของประเทศไทยถือว่าดีขึ้น เนื่องจากเมื่อประมาณเกือบยี่สิบปีก่อน สัดส่วนดังกล่าวนี้อยู่ที่เกือบ 27 เท่า

ที่มา: http://www.nesdb.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6363

การวัดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของประเทศไทย ด้วยสัมประสิทธิ์ความเสมอภาค (สัมประสิทธิ์ Gini) พบว่า ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์การกระจายรายได้ของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้น โดยในปี 2560 ค่าสัมประสิทธิ์ Gini ของการกระจายรายได้ของไทยอยู่ที่ 45.3% ถือว่าดีกว่าในช่วงทศวรรษ 2530 และทศวรรษ 2540 ที่โดยทั่วไปแล้วค่าสัมประสิทธิ์ Gini อยู่ในระดับสูงกว่า 50%

อีกทั้งเมื่อมองดูแนวโน้มระยะยาวจะเห็นว่าค่าสัมประสิทธิ์ Gini ในด้านรายได้ของไทยลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งนั่นแปลว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ขอประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ด้วย

ที่มา: http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=685&template=1R1C&yeartype=M&subcatid=68

นอกจากทรัพย์สินและรายได้แล้ว “รายจ่าย” ก็สามารถนำมาเป็นตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้เช่นเดียวกัน โดยจากสถิติ 30 ปีหลังสุดจะเห็นได้ว่า ค่าสัมประสิทธิ์ Gini ของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคของครัวเรือนในประเทศไทยลดลงเรื่อย ๆ จากประมาณ 44% ในช่วงเริ่มต้นทศวรรษ 2530 มาอยู่ที่ประมาณ 36% ในปี 2560

ตัวเลขดังกล่าวนี้สะท้อนว่า ครัวเรือนในประเทศไทย (ไม่ว่าจะรวยหรือจน) มีแนวโน้มใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคใกล้เคียงกันมากขึ้น

ที่มา: http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=688&template=1R1C&yeartype=M&subcatid=69

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า