Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ล่าสุดได้มีการโอนเงินให้ผู้ถือบัตรรายละ 500 บาทนั้น ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลจะเน้นย้ำเสมอว่า การดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยด้วยสวัสดิการต่างๆ นั้น หาใช่วิธีคิดวิธีการแบบ “ประชานิยม” แต่เป็นไปในวิถีทางแห่ง “ประชารัฐ”

แต่ถึงกระนั้นก็ตามที ทั้ง 2 แนวทางนี้ ก็มักจะถูกนำมาเปรียบเทียบกันอยู่บ่อยครั้ง และทำให้หลายท่านรู้สึกสับสนในความแตกต่าง !

แม้ที่ผ่านมา จะมีการอธิบายถึงความต่างระหว่างนโยบายทั้งสองจากฝั่งรัฐบาล แต่พอถึงขั้นตอนการปฏิบัติ คำถามถึงความแตกต่าง ก็มักจะดังกระหึ่มขึ้นมาอีก

ฉะนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เราจึงขอย้อนนำสิ่งที่ ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลปัจจุบัน ได้เคยอธิบายเกี่ยวกับนโยบายประชารัฐ กับประชานิยม ไว้ว่า มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2559 ในเพจเฟซบุ๊กของตนเอง มานำเสนออีกครั้ง โดยมีเนื้อหาทั้งหมดดังต่อไปนี้

ประชานิยม” VS “ประชารัฐ”

ดังที่ทราบกันดีว่า ยุทธศาสตร์สำคัญภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เน้นในเรื่องของ

– การพัฒนาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

– ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน (Strength from Within)

– ขับเคลื่อนตามแนวคิด “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

– ผ่านกลไก “ประชารัฐ”

มีหลายท่านตั้งข้อสงสัยว่า “ประชารัฐ” แตกต่างจาก “ประชานิยม” หรือไม่อย่างไร ?

คำตอบคือ แนวคิด 2 ชุดนี้ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ

“ประชารัฐ” เป็นการผนึกกำลังกันของ 3 ภาคส่วน ระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในลักษณะ “การร่วมรังสรรค์” (Co-Creation) ครอบคลุมทั้งการร่วมรังสรรค์ทางเศรษฐกิจ (Economic Co-Creation) และการร่วมรังสรรค์ทางสังคม (Social Co-Creation)

ในขณะที่ “ประชานิยม” เปลี่ยนประชาชนที่ “เดือดร้อน” (Suffer) เป็น “อยู่รอด” (Survive) แล้วก็จบแค่นั้น

“ประชารัฐ” เปลี่ยนประชาชนที่ “เดือดร้อน”เป็น “อยู่รอด” และจาก “อยู่รอด” เป็น “ยั่งยืน” (Sustain)

การดำเนินการของ “ประชานิยม” มุ่งการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ส่วน “ประชารัฐ” ดำเนินการตามบันได 3 ขั้นของ“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

– ขั้นที่หนึ่ง คือ พึ่งพาตนเอง

– ขั้นที่สอง คือ พึ่งพากันเอง

– ขั้นที่สาม คือ รวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง

หากเปรียบเทียบเป็นยารักษาโรค “ประชานิยม” จะเป็นยารักษาโรคตามอาการ จึงเป็นยาที่ก่อให้เกิด Short Term Gain

“ประชานิยม” นั้น นานๆ ใช้ที ก็โอเค แต่ถ้าใช้นานๆ จนติด จะเกิดผลข้างเคียงเป็น Long Term Loss (คล้าย “สเตียรอยด์” ยาครอบจักรวาลที่พวกเราคุ้นเคย)

ในทางกลับกัน เนื่องจากประชาชนต้องมีส่วนร่วม เพราะไม่ได้ให้เปล่า “ประชารัฐ” จึงเปรียบเหมือน “ยาขม” ที่ประชาชนต้องเผชิญกับ Short Term Loss อยู่บ้าง แต่เมื่อทำอย่างต่อเนื่อง ผลที่ตามมาจะเป็นไปในลักษณะ “ดีวันดีคืน” คือเป็น Long Term Gain

ในทางการเมือง ยิ่งใช้ “ประชานิยม” มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งไปเสริมส่ง “อำนาจแนวตั้ง” (Vertical Power) ให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพราะ “ประชานิยม” เป็นกลไกที่ทำให้ประชาชนต้อง “พึ่งพิงอิงอาศัย” ภาครัฐมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่ถูกควบคุมโดยรัฐ อาจเรียกได้ว่า “รัฐควบคุมสังคม” เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ประชาธิปไตยที่แท้จริงจึงเกิดขึ้นได้ยาก

ส่วน “ประชารัฐ” เป็นกระบวนการลดทอน “อำนาจแนวตั้ง” ไปสู่การเสริมสร้าง “อำนาจแนวนอน” (Horizonal Power) ให้มากขึ้น เพราะจุดเน้นของ “ประชารัฐ” อยู่ที่ “People Empowerment” ส่งผลให้สังคมไทยค่อยๆ ปรับเปลี่ยนจาก “รัฐควบคุมสังคม” มาเป็น “สังคมควบคุมสังคม” และกลายเป็น “สังคมควบคุมรัฐ” ในที่สุด

ตรงนี้ต่างหากที่ทำให้ “ประชารัฐ” เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นอย่างแท้จริง

ในโลกนี้ไม่มีอะไรฟรีครับ

– อยากได้ Short Term Gain , Long Term Loss ก็เลือก “ประชานิยม”

– อาจต้องเผชิญกับ Short Term Loss บ้าง แต่เป็น Long Term Gain แน่นอน ก็เลือก “ประชารัฐ” ครับ !

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า