Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 นักสิทธิมนุษยชน ชี้ กฎหมายในการปกป้องและคุ้มครองผู้ถูกละเมิดมีแต่ในทางปฏิบัติจริงพบปัญหา แนะแก้กฎหมายและฟังเสียงผู้เกี่ยวข้อง

 

วันนี้ (16 พ.ค. 67) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดข้อค้นพบจากรายงาน “อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง” (Being Ourselves is Too Dangerous) พบว่าในช่วงหลังจากมีการรัฐประหารในปี 2557 มีนักกิจกรรมที่ต้องอยู่แนวหน้าของการชุมนุมประท้วง และมีนักกิจกรรมที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ และแสดงความคิดเห็น เพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนผ่านออนไลน์ 

แต่กลับพบนักกิจกรรมผู้หญิงและผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ที่ออกมาเคลื่อนไหวถูกสอดส่องติดตามโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยการเฝ้าติดตามทางดิจิทัล รวมถึงถูกพุ่งเป้าโจมตีด้วยการใช้สปายแวร์เพกาซัสและการคุกคามทางออนไลน์ เพื่อจะปิดปากนักกิจกรรม ซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้นักกิจกรรมเหล่านี้ปิดกั้นตัวเอง และหวาดกลัว และพบว่ากลไกในการเข้าถึงการปกป้อง คุ้มครองคนเหล่านี้ยังมีน้อย และมีช่องโหว่  จนนำมาสู่การเปิดวงเสวนาคุยเรื่อง  “อันตรายเกินกว่าจะเป็นตัวเอง”: ความรุนแรงในโลกดิจิทัลและการปิดปากนักกิจกรรมผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ  เพื่อหาทางออกร่วม


อังคณา นีละไพจิตร อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและสมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจของสหประชาชาติหนึ่งในผู้ร่วมเสวนา กล่าวว่า ตนถูกคุกคามทางออนไลน์ตั้งแต่ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องจากว่าในช่วงที่ตนทำงานมีการออกมาให้ความคิดเห็นในพื้นที่ข่าวอยู่ตลอดเวลา และได้มีการเขียนความคิดเห็นส่วนตัวลงในเฟซบุ๊ก หรือในทวิตเตอร์ เพื่อรักษาสิทธิความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในฐานะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคนหนึ่ง จึงเลือกที่จะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวอย่างอิสระ และเปิดเผยมาโดยตลอด 

“เวลาที่เราออกมาพูดเรื่องผู้ลี้ภัย เราออกมาพูดเรื่องโทษประหารชีวิต อย่างพอพูดเรื่องผู้ลี้ภัย ก็จะมีคนที่ไม่เปิดเผยตัวตน แล้วบอกว่ามึงก็เอามันไปทำผัวสิอะไรแบบนี้ เอามันไปอยู่ที่บ้านมึงอะไรประมาณแบบนี้ ดิฉันคิดว่าในความเป็นผู้หญิงเรื่องเพศจะถูกหยิบยกมาในการที่จะทำลาย และมันไม่ได้ทำลายศักดิ์ศรีนะคะ ไม่ได้ทำลายชื่อเสียงอย่างเดียว แต่มันทำลายความเป็นตัวเรา ซึ่งเรื่องแบบนี้มันเป็นความเจ็บปวดมาตลอด”

 

ที่ผ่านมาตนแจ้งความมาตลอดแต่พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เข้าใจเรื่องความอ่อนไหวทางเพศสภาพเนื่องจากในขบวนการขั้นตอนการสอบสวนจะมีคำถามย้ำการถูกละเมิด ซึ่ง อังคณาให้ความเห็นว่า ในทางปฎิบัติจริงเจ้าหน้าก็เป็นคนที่ทำให้เกิดการละเมิดซ้ำอีก 

นาดา ไชยจิตต์ อาจารย์สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ  กล่าวว่า การคุกคามทางเพศเกิดขึ้นง่าย จากวาจา สายตา สามารถที่จะทำให้เกิดการคุกคามทางเพศได้ ซึ่งความน่าตกใจคือคนส่วนใหญ่ในสังคมเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ เมื่อมองไปถึงกฎหมายตนมองว่าไม่มีกฎหมายที่จะช่วยเรื่องการคุกคามในลักษณะนี้เลย ในทางกฎหมายอาญาเป็นลหุโทษ อย่างมากคือจำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ระบุความเสียหายยาก 


“เวลาไปแจ้งความตำรวจไม่ค่อยรับดำเนินคดี จะรับแค่บันทึกประจำวันเพราะว่าจะรับดำเนินคดียาก โทษน้อย ทำไปเสียเวลาจะทำไปทำไม เราเคยพาเคสไปแจ้งความเราเห็นการเลือกปฏิบัติเลย คือมีผู้หญิงคนหนึ่งสวยมากเดินไปแจ้งความ ทั้งที่เรามาก่อนเคสเราไม่ได้รับและเราไปแจ้งความโดนหลอก โดยการปริ้นใบบันทึกประจำวันมาให้ เราต้องบอกว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ เราต้องการบันทึกการดำเนินคดี ตำรวจก็ถามว่าเรารู้กฎหมายด้วยหรอ ต้องมาทำให้ใหม่ เราจะเจออะไรแบบนี้ในกระบวนการยุติธรรมเสมอ ตลอดระยะเวลาทำงานเรื่องการพยายามปกป้องสิทธิความหลากหลายทางเพศในโลกออนไลน์ และชีวิตจริง ”จากเวทีเสวนา ค้นพบข้อเสนอว่าการแก้ปัญหานี้จะต้องอาศัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน และต่างประเทศ ทั้งในเรื่องการผลักดันกฎหมายและนโยบาย”

  • ประเทศไทยต้องรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องนักสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง
  • ต้องมีการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจัง กับคนที่บูลลี่ คุกคาม 
  • ต้องมีกระบวนการเยียวยา ฟื้นฟูสภาพจิตใจของคนที่ถูกคุกคาม 
  • เจ้าของแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องเคารพหลักการธุรกิจและสิทธิมนุษยชน และต้องไม่ยอมให้ใช้พื้นที่ทางออนไลน์ละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเสนอแก้กฎหมาย ม.248 ในกฎหมายอาญาที่ว่าด้วยเรื่องของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และฟังเสียงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 

ขณะที่ ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยระดับภูมิภาคประจำประเทศไทย  แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล  ให้ความเห็นว่า รัฐบาลไทยยังไม่ประสบความสำเร็จ ในการคุ้มครองและปกป้องนักสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะผู้หญิงและLGBTI ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำคัญ  แม้รัฐบาลมีเจตจำนงทำให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งในผู้หญิงและผู้ที่มีความหลายทางเพศ แต่ไทยคงไม่สามารถเป็นได้ หากปัญหาความความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศผ่านการใช้เทคโนโลยี กับนักกิจกรรมผู้หญิงและผู้ที่มีความหลายทางเพศยังไม่หมดไปจากประเทศนี้ จึงมีข้อเสนอถึงรัฐบาล 

  • คุ้มครองนักปกป้องสิทธิฯ ที่เป็นผู้หญิงและ LGBTI ที่ต้องการดำเนินคดีทางกฎหมายเกี่ยวกับความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศรูปแบบอื่นๆ ผ่านการใช้เทคโนโลยี (Technology Facilitated Gender Based Violence – TfGBV)เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะปลอดภัยจากการล้างแค้นเอาคืน
  • ยุติการดำเนินคดีอาญาทั้งหมดต่อทุกคน รวมถึงนักปกป้องสิทธิฯ ที่เป็นผู้หญิงและ LGBTI ที่ถูกฟ้องร้องเพียงเพราะมีส่วนร่วมในการชุมนุมประท้วงอย่างสงบ หรือใช้สิทธิของการมีเสรีภาพในการแสดงออก
  • ใช้แนวทางปฏิบัติเฉพาะทาง สำหรับเจ้าหน้าที่ ที่บังคับใช้กฎหมายในการจัดการกับ TfGBVโดยยึดถือวิถีการ รับมืออย่างมีความละเอียดอ่อน ต่อเรื่องเพศภาวะ และคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจ 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า