SHARE

คัดลอกแล้ว

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชา ซึ่งพราหมณ์ผู้ทำพิธีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในวันที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นเครื่องแสดงว่าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินถูกต้องสมบูรณ์แล้ว

พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นพระมหาพิชัยมงกุฎทองคำลงยาราชาวดีประดับเพชร สูง ๖๖ เซนติเมตร น้ำหนัก ๗๓๐๐ กรัม สร้างขึ้นเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในรัชกาลที่ ๑ ในครั้งนั้นยอดพระมหาพิชัยมงกุฎยังเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ประดับเพชรเม็ดเล็กๆ จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปเลือกสรรหาซื้อเพชรขนาดใหญ่มาจากประเทศอินเดีย นำมาประดับยอดมงกุฎแทนพุ่มข้าวบิณฑ์ พระราชทานเพชรเม็ดนี้ว่า “พระมหาวิเชียรมณี” เพชรเม็ดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๖ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร

พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระขรรค์โบราณ เชื่อกันว่าเป็นพระราชศาสตราคู่บ้านคู่เมืองเขมร สมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จมอยู่ในทะเลสาบเมืองนครเสียมราฐ มาเป็นเวลานานเท่าใดไม่มีใครทราบ ชาวประมงไปทอดแหติดขึ้นมาองค์พระขรรค์ยังดีไม่มีสนิมผุกร่อน ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง และ นครเสียมราฐจึงได้มอบให้พระยาพระเขมรเชิญเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำด้ามพระขรรค์หุ้มทองคำลงยาราชาวดีลายเทพนม ทำฝักหุ้มทองคำลงยาราชาวดีประดับมณีขึ้นด้วยฝีมืออันประณีตงดงามเสร็จแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘

พระแสงองค์นี้ เฉพาะองค์ยาว ๖๔.๕ ซ.ม. ที่สันตอนใกล้จะถึงด้ามคร่ำด้วยทองคำเป็นลวดลายงดงาม ด้ามพระขรรค์ ยาว ๒๕.๔ ซ.ม. สวมฝักแล้วยาว ๑๐๑ ซ.ม. หนัก ๑๙๐๐ กรัม

ธารพระกร เป็นไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทองคำตลอด ปลายสุดของธารพระกรทำเป็นซ่อมสามง่าม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงอธิบายไว้ว่า “ลักษณะก็เหมือนกับไม้เท้าพระภิกษุที่สำหรับใช้ในการชักมหาบังสุกุล” ธารพระกรองค์นี้สร้างขึ้นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์แต่รัชกาลที่ ๑

พระวาลวิชนี ของเดิมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพัดใบตาลแบบที่เรียกกันว่า พัชนีฝักมะขาม ที่ใบตาลปิดทอง ขอบขลิบทองคำ ด้ามก็ทำด้วยทองคำต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริว่า ตามพระบาลีที่เรียกว่า “วาลวิชนี” นั้นไม่ควรจะเป็นพัดใบตาล ควรจะเป็นเครื่องโบกปัดที่ทำด้วยขนจามรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแส้จามรีขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ภายหลังใช้ขนหางช้างเผือกแทน เรียกว่าพระแส้ขนหางช้างเผือก แต่ก็ไม่อาจที่จะเลิกใช้พัดใบตาลของเดิมได้จึงโปรดให้ใช้ควบคู่กัน โดยเรียกของสองสิ่งรวมกันว่า “วาลวิชนี ”

ฉลองพระบาท เป็นฉลองพระบาทเชิงงอน ทำด้วยทองคำยาราชาวดีฝังเพชร มีน้ำหนัก ๖๕๐ กรัม สร้างเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระมหาราชครูวามหามุนีเป็นผู้สวมถวาย

ขณะที่เพจ ThaiArmedForce.com ได้โพสต์ข้อความให้ข้อมูลเกี่ยวกับ พระแสงสำคัญเครื่องประกอบในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระบุข้อความว่า ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันนี้นอกจากจะมีการผสมผสานธรรมเนียมเครื่องแต่งกายของยุทโธปกรณ์ยุคใหม่เข้ากับพระราชประเพณี เรายังได้เห็นพระแสงซึ่งถือเป็นยุทธภัณฑ์อันมีความศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์จักรี ที่มีความต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน โดยยุทธภัณฑ์ที่มีความสำคัญในฐานะหนึ่งในเครื่องเบญราชกกุธภัณฑ์ คือ พระแสงขรรคชัยศรี โดยพระขรรค์ หมายถึง พระปัญญาอันจะตัดมลทินถ้อยความไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้เห็นแจ้งทั่วทั้งโลกธาตุ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาแต่โบราณของพระมหากษัตริย์

พระแสงดาบอีกองค์หนึ่งที่มีการอัญเชิญออกมาตามเสด็จในพิธีวันนี้ คือ พระแสงดาบคาบค่าย หนึ่งในพระแสงดาบสำคัญที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงโปรดมีรับสั่งให้สร้างขึ้นมาใหม่แทนองค์เดิมของสมเด็จพระนเรศวรที่สูญหาญหายไปภายหลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 นอกจากเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องทรงชุดมหาพิชัยยุทธ และเครื่องประกอบในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระแสงดาบคาบค่ายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้ ยังถือเป็นพระแสงสำคัญองค์หนึ่งในหมู่พระแสงรายตีนทอง สำหรับให้มหาดเล็กเชิญตามเสด็จในพระราชพิธีสำคัญ ดังที่ได้เห็นในพระราชพิธีวันที่ 3 พฤษภาคม 2562

ซึ่งเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ใช้ในงานบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ล้วนแต่เป็นของที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 แทนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศที่สูญสิ้นไปเมื่อคราวเสียงกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 โดยหมวดพระแสงที่มีการออกในพระราชพิธีวันนี้ ยังมีพระแสงศักดิ์สิทธิ์อีกหลายองค์มีรายนามดังต่อไปนี้ พระแสงดาบเชลย พระแสงจักร พระแสงตรีศูล พระแสงธนู พระแสงดาบเขน พระแสงหอกชัย พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย พระแสงดาบใจเพชร พระแสงเวียด พระแสงทวน พระแสงง้าว พระแสงปืนคาบศิลาเคยทรง พระแสงขอตีช้างล้ม พระแสงขอคร่ำด้ามไม้เท้า พระแสงชนักต้น และพระแสงศร

เรียบเรียงข้อมูลจาก ณัฏฐภัทร จันทวิช. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรมศิลปากร, 2530.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า