Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นวาระสำคัญระดับโลก อย่างงานประชุมล่าสุด COP26 ที่เพิ่งจัดกันไปช่วงต้นเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา มีตัวแทนจากหลายประเทศเข้าร่วมเพื่อถกปัญหาและหาแนวทางแก้ไขการสภาพภูมิอากาศ โดยการร่วมมือกันรักษาอุณหภูมิโลกและลดการปล่อยมลพิษ

หนึ่งในอุตสาหกรรมที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมคือ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่น (Fast Fashion) มาไวไปไว และทิ้งร่องรอยผลกระทบไว้ให้กับโลกอย่างมหาศาล ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำ สามารถผลิตได้เยอะและรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการซื้อของผู้บริโภคจำนวนมาก

ซึ่งช่วงที่ผ่านมาภาพขยะเสื้อผ้ากองเท่าภูเขา ถูกแชร์บนโลกออนไลน์กว่า 59,000 ตัน โดยถูกนำไปทิ้งสะสมไว้กลางทะเลทรายอาตากาม่า ประเทศชิลี ขยะจำพวกเสื้อผ้าฝังกลบได้ยาก มีสารเคมีในเส้นใยผ้า รวมไปถึงกระบวนการย่อยสลายเองตามธรรมชาติก็ใช้เวลานานนับร้อยปีเลยทีเดียว

ในแต่ละปี โลกต้องการพื้นที่ในการฝังกลบขยะเสื้อผ้ามากกว่า 10 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้ถูกนำไปรีไซเคิลไม่ถึง 10% เราจึงจะเห็นบ่อขยะเสื้อผ้ามหาศาลเช่นนี้ โดยเฉพาะในแถบประเทศกำลังพัฒนาซึ่งถูกใช้เป็นแหล่งทิ้งขยะเสื้อผ้าของโลก

ความไม่สมดุลกันระหว่างความต้องการซื้อและการใช้งานจริง ก่อให้เกิดขยะเสื้อผ้ามากมาย TODAY Bizview ขอพาไปดูต้นสายปลายเหตุ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางการบรรเทาปัญหาด้วยแฟชั่นแบบหมุนเวียน หนึ่งในแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ “Circular Economy”

[เปิดผลกระทบอุตสาหกรรม Fast Fashion]

อุตสาหกรรมเสื้อผ้ามีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ราว 8-10% ของอัตราการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก  และปล่อยน้ำเสียเกือบ 20% ของปริมาณน้ำเสียทั่วโลก พร้อมสารเคมีมากมาย โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าใช้พลังงานมากกว่าอุตสาหกรรมการบินและการขนส่งทางเรือรวมกัน

สาเหตุที่ทำให้เสื้อผ้าแฟชั่นได้รับความนิยมอย่างมาก สาเหตุแรกมาจากฝั่งแบรนด์หรือผู้ผลิต ที่มองในเรื่องของยอดขายและกำไรเป็นหลัก การหาซัพพลายเชนที่ง่ายจึงออกคอลเลคชั่นใหม่ๆ อยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังทำโฆษณา การตลาด กระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อมากยิ่งขึ้น

จนการซื้อเสื้อผ้ากลายเป็นเรื่องของ “ค่านิยมหรือความพึงพอใจ” ตามกระแส มากกว่าจะมองที่อรรถประโยชน์แท้จริง

ไม่เพียงแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น อุตสาหกรรมเสื้อผ้ายังเกี่ยวโยงไปกับปัญหาการขูดรีดแรงงานด้วย เพราะอุตสาหกรรมนี้ใช้งานแรงงานค่อนข้างหนัก แต่กลับได้รับค่าแรงที่ต่ำ ยกตัวอย่างข่าวดังก่อนหน้านี้ มีหลักฐานว่าเกิดการบังคับใช้แรงงานอุยกูรย์ในการเก็บฝ้ายของจีน

โรงงานเสื้อผ้าส่วนใหญ่ อยู่ในประเทศที่มีค่าแรงต่ำ ยกตัวอย่าง จีน บังคลาเทศ เวียดนาม และอินเดีย ส่วนในประเทศไทยเองก็มีโรงงานผลิตเสื้อผ้าเช่นกัน ทาง Clean Clothes Campaign เปิดเผยว่า โรงงานสิ่งทอจำนวนมากในไทยได้ย้ายฐานการผลิตไปยังจังหวัดใกล้ชายแดน เพื่อจะใช้ประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติได้ง่าย ซึ่งมีค่าแรงถูกกว่า แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาด้านสวัสดิภาพแรงงานตามมาด้วยเช่นกัน

[เปิดมูลค่าอุตสาหกรรมเสื้อผ้า และทางแก้ด้วยแฟชั่นหมุนเวียน]

อุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลกเติบโตขึ้นในอัตราเฉลี่ย 5.5% ต่อปี ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าเกือบ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างในช่วงก่อนโควิดระบาด ปี 2019 ปีเดียว มีการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าถึงหลักพันล้านชิ้น เนื่องจากในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา กลุ่มชนชั้นกลางเติบโตขึ้นมาก และได้เพิ่มการบริโภคเสื้อผ้าเป็นสองเท่า

ส่วนในช่วงโควิด 19 แพร่ระบาด ตั้งแต่ปี 2020  เป็นต้นมา แม้ยอดขายเสื้อผ้าจะลดลงจากปีก่อนๆ แต่ที่น่าสนใจคือการช้อปปิ้งเสื้อผ้าออนไลน์กลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นผ่านแอปพลิเคชันที่สะดวกรวดเร็ว

หนึ่งในทางออกของปัญหานี้ คือ  “แฟชั่นหมุนเวียน” ตามแนวคิดของ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ Circular Economy เช่น การใช้ซ้ำวัตถุดิบเดิม การนำเอาวัสดุรีไซเคิลมาทำเป็นเสื้อผ้าใหม่ การให้เช่าและขายต่อเสื้อผ้า เป็นต้น นับว่าเป็นอีกทางเลือกของการบริโภคในยุคทุนนิยมสมัยใหม่ ที่เราสามารถเอาสินค้าเดิมมาหมุนเวียนใช้ซ้ำและแลกเปลี่ยนกันได้

การใช้เสื้อผ้ามือสองช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อเสื้อผ้าใหม่ โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยว่าถึงเกือบ 7 เท่า  และใช้น้ำน้อยกว่าถึง 65 เท่า

ข้อมูลที่น่าสนใจจากบริษัท Thredup ซึ่งเป็นร้านค้าออนไลน์มือสองขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2030 หรืออีกราว 10 ปี ข้างหน้า มูลค่าตลาดของเสื้อผ้ามือสองจะมีมูลค่าถึง 84,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่ามูลค่าของตลาด Fast Fashion ที่น่าจะมีมูลค่าตลาดอยุ่ที่ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่าราว 2 เท่า

สาเหตุที่ทำให้คาดการณ์ว่าตลาดเสื้อผ้ามือสองจะได้รับความนิยมมากขึ้น น่าจะมาจากเทรนด์ของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไป ทั้งจากปัญหา Fast Fashion รวมไปถึงการที่คนรุ่นใหม่ๆ เริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม สนใจแฟชั่นแบบหมุนเวียน หรือแฟชั่นมือสองมากขึ้น

โดยแนวโน้มของผู้บริโภคเปิดใจต่อการซื้อเสื้อผ้ามือสองเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ทางเลือกในการจัดการกับเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วจะเป็นการขายต่อ คาดการณ์ว่าในปี 2025 ตลาดเสื้อผ้ามือสองโตจะขึ้นถึง 11 เท่า จากมูลค่าตลาดในปัจจุบัน ส่วนผู้ขายเสื้อผ้ามือสองหน้าใหม่ก็เพิ่มขึ้นถึง 118 ล้านคน ในขณะที่ปี 2020 มีผู้ขายรายใหม่เข้ามาเพียง 36.2 ล้านคน

ส่วนทางการซื้อขายเสื้อผ้าแบบ Fast Fashion เทรนด์ในอนาคต 10 ปีข้างหน้านี้ อัตราการเติบโตจะค่อยเป็นค่อยไปไม่ได้โตแบบก้าวกระโดดเหมือนการซื้อขายเสื้อผ้ารูปแบบอื่นๆ สะท้อนให้เห็นเทรนด์ที่มันเปลี่ยนไปได้ค่อนข้างชัดเจน

กระแสรักษ์โลกก็ยังเป็นเป้าหมายสำคัญของธุรกิจเสื้อผ้าเองด้วย ปัจจุบันหลายๆ แบรนด์มีความพยายามที่จะทำแคมเปญต่างๆ ออกมา ร่วมกับองค์กรการกุศล มีขายสินค้ามือสองออนไลน์ และการใช้วัสดุรีไซเคิลนำมาผลิตเสื้อผ้าใหม่ เช่น แบรนด์ Marks & Spencer, H&M และ Nike

เทรนด์แฟชั่นแห่งอนาคตมุ่งเน้นไปที่เรื่องความยั่งยืนกันมากขึ้น Fast Fashion ไม่ใช่คำตอบของความยั่งยืน แต่การบริโภคแบบใช้ซ้ำ รวมไปถึงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม น่าจะเป็น “จุดกึ่งกลาง” ของการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมท่ามกลางสังคมบริโภคได้เป็นอย่างดี

แฟชั่นหมุนเวียนจึงเป็นทางออกของผู้บริโภคที่น่าสนใจ อีกทั้งการปรับความคิด ทัศนคติต่อการซื้อเสื้อผ้าก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้บริโภคควรย้อนกลับมาทบทวนตัวเองว่าจุดไหนถึงจะพอดี สามารถตอบสนองความต้องการได้และลดผลกระทบในการทำลายสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน

 

ที่มาของข้อมูล  :

https://issuu.com/fashionrevolution/docs/final___fashion_sustainability_report_2021

https://www.thredup.com/resale/#size-and-impact

https://www.harpersbazaar.com/uk/fashion/fashion-news/a36810362/secondhand-clothing-boom/

https://www.bbc.com/future/article/20200310-sustainable-fashion-how-to-buy-clothes-good-for-the-climate

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า