SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ชี้ สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ตามมาตรา 128 พ.ร.ป. ส.ส. ไม่ขัดหรือแย้ง รัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ทำให้ กกต. สามารถเดินหน้าในการใช้สูตรที่เตรียมไว้คำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ได้

วันที่ 8 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาคำร้องกรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 หรือไม่

ตุลาการซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนได้ทำความเห็นส่วนตนเป็นหนังสือ พร้อมทั้งแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุม และที่ประชุมได้ปรึกษาหารือร่วมกันแล้วลงมติ ปรากฏผลการลงมติว่า ศาลโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 91 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 เป็นบทบัญญัติที่มีหลักการเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ และคิดอัตราส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพื่อให้ได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 83 วรรคหนึ่ง (2)

แม้บทบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 มีการบัญญัติรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 แต่ก็เป็นเพียงการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ และ วิธีการคำนวณ คิดอัตราส่วนเพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้ครบจำนวนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยกำหนดวิธีการคิดคำนวณในกรณีที่ไม่สามารถจัดสรรให้ครบ 150 คน ดังปรากฎรายละเอียดตามมาตรา 128 วรรหนึ่ง (2) (3) (4) (5) (6) และ (7) ซึ่งเป็นไปตามหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรคหนึ่ง และ วรรคสามแล้ว

จึงวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 จึงไม่มีมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ศาลไม่ได้ชี้ว่าใช้สูตรไหน แต่บอกว่า มาตรา 128 พ.ร.ป.ส.ส. ไม่ขัด รัฐธรรมนูญ มาตรา 91 และ กกต. ต้องคำนวณบัญชีให้ได้ 150 คน

  • เกร็ดที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

หนึ่งในหลักการสำคัญ คือ ห้ามละเมิดอำนาจศาล โดยมาตรา 38 ของ พ.ร.ป. วรรคท้ายระบุว่า “การวิจารณ์คําสั่งหรือคําวินิจฉัยคดีที่กระทําโดยสุจริตและมิได้ใช้ถ้อยคําหรือมีความหมายหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ไม่มีความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล”

โดยมาตรา 39 กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืนมาตรา 38 โดยมีตั้งแต่ ตักเตือน, ไล่ออกจากบริเวณศาล และลงโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งหากเป็นกรณีหลังสุด ต้องมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ (คือ 6 จาก 9 คน)

อ้างอิง :  วิจารณ์คำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญหยาบคาย โทษถึงจำคุก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า