SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจง ไทย – สหรัฐฯ มีความสัมพันธ์หลายมิติ หลังไทย เป็น 1 ใน 128 ชาติ โหวตค้านกรณีสถานะ “เยรูซาเล็ม”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถึงกรณีไทย เป็น 1 ใน 128 เสียงที่โหวต คัดค้านการรับรองสถานะ เยรูซาเล็ม เป็นเมืองหลวงอิสราเอลของสหรัฐฯว่า ในภาพรวมไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ไทย – สหรัฐฯ เพราะการสนับสนุนข้อมติของไทย เป็นไปตามท่าทีที่ยึดถือมาโดยตลอด ในกรอบพัฒนาการที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในยูเอ็น ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีหลายมิติ

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ระบุด้วยว่า ไทยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2546 เนื่องจากระดับการพัฒนาของไทย ส่วนความร่วมมือที่มีระหว่างกันในขณะนี้ จะเป็นในกรอบโครงการความร่วมมือระดับภูมิภาค

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ มีการลงโหวตเสียงชาติสมาชิก 193 ประเทศ เกี่ยวกับมติ “เรียกร้องให้สหรัฐฯ เพิกถอนการรับรองสถานะนครเยรูซาเล็ม เป็นเมืองหลวงของอิสราเอล” โดยผลปรากฎว่า มีชาติสมาชิกจำนวน 128 ประเทศ สนับสนุนมติดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อหาว่า “การตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับสถานะของนครเยรูซาเล็มไม่มีผลบังคับใช้และเป็นโมฆะ ” โดยไทยเป็น 1 ใน 128 เสียงนี้ ขณะที่ มีชาติสมาชิก งดออกเสียง 35 ประเทศ และ ไม่เห็นชอบกับมติ 9 ประเทศ

อย่างไรก็ตาม นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ขู่จะตัดความช่วยเหลือด้านการเงิน กับ ชาติที่ออกเสียงสนับสนุนมติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเอาไว้

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 128 ชาติเมิน ทรัมป์ขู่ตัดเงิน ! โหวตค้านถอนสถานะ ‘เยรูซาเล็ม’

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า