SHARE

คัดลอกแล้ว

กนอ. เผยนักลงทุนจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย พาเหรดจ่อจองพื้นที่นิคมฯยางพารา จ.สงขลา 500 ไร่ ขณะที่แผนการพัฒนาพื้นที่นิคมฯใกล้สมบูรณ์ 100% มั่นใจพร้อมเปิดรับนักลงทุนไทย-เทศ

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายการเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรในกลุ่มอุตสาหกรรมยางพารา ตามยุทธศาสตร์พลังประชารัฐ ที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการผลิต เพื่อยกระดับราคายางพาราภายในประเทศให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน กนอ.ได้เร่งดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยางพารา หรือ รับเบอร์ชิตี้ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา บนพื้นที่รวม 1,248 ไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมคลัสเตอร์ยางพารา และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง โดยปัจจุบันการพัฒนาพื้นที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์100% แล้ว พร้อมรองรับนักลงทุนที่สนใจทั้งในและต่างประเทศเข้าใช้พื้นที่เพื่อประกอบการได้ทันที

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่การพัฒนาพื้นที่นิคมฯยางพารามีความชัดเจน ทั้งทางด้านระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ส่งผลให้มีกลุ่มนักลงทุนจากประเทศมาเลเซีย ไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ตัดสินใจที่จะใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการลงทุน โดยล่าสุดได้แจ้งความประสงค์จองพื้นที่เพื่อประกอบกิจการแล้ว ประมาณ 500 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้และกลุ่มอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมการแพทย์ และ อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

ขณะเดียวกันยังมีพื้นที่ที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจอยู่ระหว่างการตัดสินใจเข้ามาลงทุนอีก จำนวน 179 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพไม่ว่าจะเป็นระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศที่สามารถเชื่อมโยงกับตลาดต่างๆทั้งในกลุ่มสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT – GT)  ประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย รวมทั้งการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆทั่วโลก

นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าว ยังมีความได้เปรียบทางด้านแรงงาน และวัตถุดิบยางพารา โดยกนอ.คาดว่าหากมีการใช้พื้นที่เต็มโครงการทั้งหมด จะมีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น ประมาณ 9,000 ตันต่อปี โดยมีสัดส่วนเป็น น้ำยางข้น ประมาณ 60% หรือ 5,400 ตันต่อปี และยางแผ่นรมควัน ประมาณ 40 % หรือ 3,600 ตันต่อปี ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้แก่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางประมาณ 450 ล้านบาทต่อปี และเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางพาราแล้วจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ถึง 10 เท่า หรือ คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า