SHARE

คัดลอกแล้ว

อดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจง กรณีไทยเปิดให้นำเข้าปลาหมึกจากเมียนมา ตามพันธกรณี AFTA หลังผู้ประกอบการประมง จ.สมุทรสงคราม เรียกร้องให้ใช้มาตรการห้ามนำเข้าปลาหมึกจากต่างประเทศเป็นการชั่วคราว

วันที่ 26 ตุลาคม 2561 นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงประเด็นผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมึกจากประเทศเมียนมา โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปิดนำเข้าเสรีจากเมียนมา สรุปได้ ดังนี้

ไทยเปิดให้นำเข้าปลาหมึกจากเมียนมา ตามพันธกรณี AFTA ซึ่งหากจะใช้มาตรการห้ามนำเข้าชั่วคราวมาแก้ไขปัญหาราคาปลาหมึกตกต่ำ ย่อมทำไม่ได้ เพราะไม่สอดคล้องกับข้อตกลง AFTA และ WTO ที่จะเลือกปฏิบัติกับประเทศใดประเทศหนึ่ง

มาตรการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ควรจะพิจารณาใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย (SPS) อย่างเคร่งครัด และมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำ

ที่ผ่านมากรมฯ ได้ประสานความร่วมมือกับกรมประมงอย่างใกล้ชิด และได้รับแจ้งว่าปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และการที่ราคาสัตว์น้ำ (ปลาหมึก) ตกต่ำ ก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาตามกลไกของตลาดในบางช่วงเวลาเท่านั้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการประมง จ.สมุทรสงคราม เรียกร้องให้ใช้มาตรการห้ามนำเข้าปลาหมึกจากต่างประเทศเป็นการชั่วคราวว่า การใช้มาตรการห้ามนำเข้าไม่สามารถทำได้ เพราะปลาหมึกไม่ได้เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 และการห้ามนำเข้ายังเป็นการผิดข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) และเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เนื่องจากไทยไม่สามารถใช้มาตรการโดยเลือกปฏิบัติกับประเทศใดประเทศหนึ่งได้

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาปลาหมึกนำเข้าจนกระทบต่อราคาภายในประเทศในระยะสั้นและทำได้เลย ควรจะใช้พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย (SPS) และมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำ ซึ่งสามารถใช้ดูแลคุณภาพสินค้าที่นำเข้าได้ อย่างไรก็ตาม จากการประสานไปยังกรมประมง ได้รับข้อมูลว่า ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปลาหมึกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และการที่ราคาปลาหมึกตกต่ำ ก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาตามกลไกของตลาดในบางช่วงเวลาเท่านั้น

สำหรับสถิติการนำเข้าปลาหมึกในช่วง 9 เดือนของปี 2561 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยนำเข้าปลาหมึกกระดองและปลาหมึกกล้วยมีชีวิตจากทั่วโลก 5,499 กก. ลดลง 91.02% มูลค่า 4.9 แสนบาท ลดลง 83.93% และนำเข้าจากเมียนมา 4,800 กก. ลดลง 86.57% มูลค่า 2.9 แสนบาท ลดลง 86.19% ส่วนปลาหมึกกระดองและปลากล้วยสดหรือแช่เย็นนำเข้าจากทั่วโลก 13 ล้านกก. เพิ่มขึ้น 7.05% มูลค่า 397.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.20% นำเข้าจากเมียนมา 12.55 ล้านกก. เพิ่มขึ้น 8.50% มูลค่า 374.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.25% และปลาหมึกยักษ์หรือปลาหมึกสายนำเข้าจากทั่วโลก 1.94 ล้านกก. เพิ่ม 83.70% มูลค่า 61 ล้านบาท เพิ่ม 80.92% นำเข้าจากเมียนมา 1.39 ล้านกก. เพิ่ม 47.46% มูลค่า 34.91 ล้านบาท เพิ่ม 41.28%

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า