SHARE

คัดลอกแล้ว

Image by David Cardinez from Pixabay

กรมการแพทย์ เผยผลการศึกษา ผู้ป่วยเสพติดกัญชาที่เข้ารับบริการรักษาจากสถานบำบัดรักษายาเสพติดของรัฐ 6 แห่ง ทั่วประเทศ พบเป็นโรคจิตเวชสูงถึงร้อยละ 72.3

วันที่ 3 พ.ค. 62 เพจเฟซบุ๊กกรมการแพทย์ ได้เผยแพร่ข้อความว่า นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ประเทศไทยจัดกัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

โดยเป็นพืชที่มีสารเคมีเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่า 750 ชนิด สาระสำคัญที่พบมากคือ THC และ CBD ซึ่ง THC เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและมีฤทธิ์เสพติด พบมากที่ช่อดอก

จากการศึกษาพบว่าในทางการแพทย์ยอมรับว่า THC เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการอยากยา ถอนยา และเสพติด มีรายงานพบว่าผู้เสพติดกัญชาเมื่อหยุดใช้จะเกิดอาการถอนยา เช่น อาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย

ทั้งนี้ยังมีการศึกษาถึงความเสี่ยงของการเสพกัญชากับโรคจิตเภท ซึ่งมีผลทำให้อาการทางจิต และการพยากรณ์โรคแย่ลง โดยเฉพาะคนที่มีกรรมพันธุ์ที่จะเป็นโรคจิต หรือเคยมีอาการทางจิตมาก่อน เมื่อใช้กัญชาจะทำให้เกิดอาการทางจิตได้มากขึ้น

จากข้อมูลผลการศึกษา พบว่า การใช้กัญชามีประโยชน์ในทางการแพทย์ในการรักษาโรค / ภาวะของโรค อาทิ โรคลมชักที่รักษายาก อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคปวดประสาทที่ดื้อต่อยารักษา เป็นต้น

ดังนั้น การนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์จึงต้องพิจารณาทั้งในด้านความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งการนำกัญชามาใช้กับผู้ป่วย ควรได้ประโยชน์ หากมีความเสี่ยง ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติ บรมราชชนนี กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิดการใช้กัญชาทางการแพทย์มีแนวโน้มที่จะเกิดประโยชน์ทางการแพทย์ แต่กัญชายังเป็นยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อผู้เสพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ได้ทำการศึกษาการเกิดโรคทางจิตเวชในผู้ป่วยที่ใช้กัญชาเป็นยาเสพติดหลัก ที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษายาเสพติดของรัฐ 6 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ สบยช. โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี จำนวน 1,170 ราย

โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง 7 ปี (ปีงบประมาณ 2553-2559 ) พบว่า ผู้ป่วยเสพติดกัญชาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 22 ปี โสด ไม่ประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ใช้กัญชาแห้งด้วยวิธีการสูบ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยเสพติดกัญชามีการเกิดโรคจิตเวชสูงถึงร้อยละ 72.3 รองลงมาคือ โรคจิต อารมณ์แปรปรวน และวิตกกังวล ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามแนวคิดการใช้กัญชาทางการแพทย์ หรือใช้เพื่อเป็นยา ควรเป็นไปตามหลักฐานยืนยันทางวิชาการที่ชัดเจน มีคุณภาพและเชื่อถือได้ โทษและผลกระทบของการใช้ในทางที่ผิด ควรมีระบบและแนวทางการกำหนดมาตรการควบคุมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและประโยชน์ของผู้ป่วยและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1417344855074945&id=643148052494633

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า