SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมควบคุมโรคยืนยันไม่มีไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ในไทย แนะประชาชนใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” พร้อมเผยสถิติช่วง 3 เดือนแรกของปี 2562 พบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้ว 15 คน

จากกรณีที่มีรายงานข่าวว่ามีเด็กหญิงเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ล่าสุด นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันว่า ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ นอกเหนือจาก 4 สายพันธุ์ที่เคยพบมาแล้ว ส่วนในกรณีเด็กหญิงเสียชีวิตนั้นจากการตรวจสอบในเบื้องต้น พบว่าเป็นผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ดังกล่าวจริง โดยได้ทำการสอบสวนและควบคุมโรคแล้ว พบว่าผู้เสียชีวิตมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง และมีภาวะอ้วนร่วมด้วย แต่ไม่ได้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่

ในแถบประเทศอาเซียนนี้พบโรคไข้เลือดออกได้ 4 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีความรุนแรงไม่แตกต่างกันมาก ส่วนอาการป่วยขึ้นอยู่กับว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกอาการมักไม่รุนแรง อาจมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่อาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อติดเชื้อครั้งที่สองด้วยสายพันธุ์ที่ต่างไป ซึ่งจะทำให้มีภาวะเลือดออกและช็อกได้

ภาพจาก สสส.

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกถือเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศแถบอาเซียนสำหรับในประเทศไทย ปี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 เมษายน 2562 พบผู้ป่วยสะสมรวม 13,677 ราย เสียชีวิต 15 ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 15-24 ปี รองลงมาคืออายุ 10–14 ปี และ 7-9 ปี ตามลำดับ ซึ่งเป็นกลุ่มในวัยเรียนและวัยรุ่น และแม้ว่าในช่วงนี้จะเป็นช่วงหน้าร้อนก็ตาม แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว อาจทำให้ในบางพื้นที่เกิดฝนตกได้ ทำให้มีน้ำขังตามภาชนะต่างๆ รวมถึงภาชนะที่ใช้เก็บกักน้ำในบ้าน ก็เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย สาเหตุของโรคไข้เลือดออกเช่นกัน

กรมควบคุมโรค ขอแนะนำประชาชน ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ควรร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเน้นใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1.เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง ขัดล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์
2.เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
3.เก็บน้ำ ภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่

ภาพจาก สสจ.สุรินทร์

ทั้งนี้จะสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ 1.โรคไข้เลือดออก 2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3.ไข้ปวดข้อยุงลาย ที่สำคัญประชาชนควรเตรียมความพร้อมใน 3 เรื่องสำคัญ คือ
1.การป้องกันการถูกยุงกัด โดยทายากันยุง นอนในมุ้ง กำจัดยุงตัวเต็มวัยด้วยสเปรย์ ไม้ช็อตไฟฟ้า กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในภาชนะน้ำใส นิ่ง
2.การเฝ้าระวังอาการของโรค คือไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร หน้าแดง ผิวหนังเป็นจุดเลือด อาเจียน ปวดท้อง
3.การไปพบแพทย์เร็วเมื่อป่วยและมีไข้สูง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรค และเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงไข้ลดหากเกิดอาการช็อกจากไข้เลือดออก ต้องรีบกลับไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หากช้าอาจทำให้เสียชีวิตได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า