SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมชลประทาน เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง ที่คาดการณ์ว่า ปี 2562 จะแล้งและร้อนมากที่สุดในรอบ 10 ปี 

จากสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดการณ์ว่า ปี 2562 จะแล้งและร้อนยาวนานที่สุดในรอบ 10 ปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมรับมือ โดยวันที่ 4 มี.ค. นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน สั่งการให้โครงการชลประทานจังหวัด จัดทำข้อมูลสำรวจและวางแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำต้นทุน ที่กรมชลประทานรับผิดชอบ รวมถึงแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตชลประทาน โดยประเมินน้ำเพียงพอหรือไม่ และพื้นใดที่อ่อนไหวหรือเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำ

(ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน)

ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน ให้ทำงานร่วมกับพัฒนาที่ดินและเกษตรจังหวัด สำรวจแหล่งน้ำ บ่อบาดาล ถ้าประเมินว่าไม่เพียงพอให้พิจารณาว่าจะขุดชักน้ำ สูบน้ำมาใช้ได้หรือไม่ พร้อมสรุปสถานการณ์น้ำ รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

โดยเฉพาะกรมชลประทาน จัดเตรียมและกระจายเครื่องจักร เครื่องมือ เข้าไปประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งให้ทั่วถึง พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งเน้นย้ำประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันประหยัดน้ำ การปรับเปลี่ยนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย การรายงานสถานการณ์น้ำให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยการสื่อสารผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำชุมชน เพื่อให้ข่าวสารเรื่องน้ำเผยแพร่ไปยังประชาชนอย่างทั่วถึงและสั่งสำรวจพื้นที่หรือสำรวจหาตาน้ำที่ยังมีน้ำไหลออกมาพอสมควร เพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการสร้างฝายเก็บกักน้ำไว้ใช้

กรมชลประทาน ได้วางแผนการใช้น้ำฤดูแล้งตั้งแต่ 1 พ.ย. 2561 โดยทั้งประเทศมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันในขณะนั้น ประมาณ 39,570 ล้านลูกบาศก์เมตร(ล้าน ลบ.ม.) (เป็นปริมาณน้ำจากในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และแหล่งน้ำอื่นๆ ทั้งประเทศ) ได้วางแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 61/62 รวมกันประมาณ 23,100 ล้าน ลบ.ม.

สถานการณ์น้ำปัจจุบัน(4 มี.ค. 62) มีปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือประมาณ 27,492 ล้าน ลบ.ม. มีการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งไปแล้วประมาณ 15,639 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของแผนฯ ทั้งประเทศ เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ การเกษตร(พืชใช้น้ำน้อย) และอุตสาหกรรม ในเขตชลประทาน

สำหรับในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 6,183 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 77 ของแผนฯ (แผนฤดูแล้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาปี 61/62 วางไว้ 8,000 ล้าน ลบ.ม. เริ่มตั้งแต่ 1 พ.ย. 61 – เม.ย. 62) คงเหลือปริมาณน้ำที่ใช้การได้ตามแผนฯประมาณ 1,817 ล้าน ลบ.ม.

ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 61/62 ทั้งประเทศมีการเพาะปลูกไปแล้วประมาณ 8.59 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 82 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วประมาณ 0.87 ล้านไร่ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกข้าวนาปรังไปแล้วประมาณ 5.85 ล้านไร่ เกินแผนไปแล้วร้อยละ 10 (แผนวางไว้ 5.30 ล้านไร่) เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วประมาณ 0.52 ล้านไร่ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขอให้เกษตรกรงดทำนาปรัง(นารอบที่ 3)ต่อเนื่อง เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในอนาคตอย่างเพียงพอ เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ฤดูแล้งปีนี้มีท่าทีว่าจะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่และระยะเวลายาวนานมากขึ้น จึงขอให้ทุกคนช่วยกันรณรงค์เรื่องการประหยัดน้ำด้วย

 

ที่มา FBเรารักชลประทาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงใน 5 ภูมิภาค หลังคาดการณ์แล้งยาวนานกว่าทุกปี

กว่า 30 ปีแล้ว “ดวงอาทิตย์” ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ต้นเหตุทำโลกร้อนขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า