SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมชลประทาน ย้ำทุกโครงการชลประทาน เตรียมพร้อมรับมือลุ่มน้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฤดูน้ำหลาก หลังเกิด ฝนตกหนักหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ แม่น้ำสายหลักต่างๆ มีปริมาณน้ำมากและไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง พร้อมเร่งติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีน รวม 81 เครื่อง ช่วยระบายน้ำออกสู่ทะเล

วันนี้ (31 ส.ค.61) ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ฝนที่ตกชุกและตกหนักในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ส่งผลให้แม่น้ำสายหลักไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ จ.นครสวรรค์อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ในช่วงเดือนกันยายนนี้ ยังคงมีฝนตกในพื้นที่เดิมตามฤดูกาลปกติ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก โดยในช่วงปลายเดือนกันยายน ประเทศไทยอาจจะได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน ที่ทำให้มีฝนตกบริเวณตอนบนของประเทศได้

โดยสถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (31 ส.ค. 61) มีปริมาณน้ำรวมกัน 16,214 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 65 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้ 9,518 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 52 ของปริมาณน้ำใช้การได้ทั้งหมด สามารถรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 8,650 ล้าน ลบ.ม. วางแผนการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลัก ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม เขื่อนภูมิพล ระบายน้ำวันละ 5-8 ล้าน ลบ.ม.เขื่อนสิริกิติ์ ระบายน้ำวันละ 30 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ระบายน้ำวันละ 1.30 ล้าน ลบ.ม. ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังคงระบายน้ำในอัตราวันละ 35 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำที่ระบายยังคงไหลอยู่ในลำน้ำต่ำกว่าตลิ่ง พื้นที่ด้านท้ายเขื่อนไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน

สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน (31 ส.ค. 61) ที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ มีน้ำไหลผ่าน 1,134 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำยังต่ำกว่าตลิ่ง 5.06 เมตร แนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนเขื่อนเจ้าพระยามีน้ำให้ไหลผ่าน 780 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จะควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในเกณฑ์ไม่เกิน 800 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ถึงบริเวณ ต.บ้านกระทุ่ม ต.หัวเวียง อ.เสนา และ ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร และไม่ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งแต่อย่างใด

ในส่วนของแม่น้ำท่าจีน ระดับน้ำมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ได้เร่งติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีนบริเวณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 12 เครื่อง, และบริเวณ อ.บางเลน 16 เครื่อง อ.นครชัยศรี 31 เครื่อง และ อ.สามพราน จ.นครปฐม 22 เครื่อง รวมทั้งสิ้น 81 เครื่อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำออกสู่ทะเลได้รวดเร็วขึ้น

พร้อมกันนี้ ได้ให้ทุกโครงการชลประทาน บูรณาการทำงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยทหาร และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนและผู้ประกอบกิจการ บริเวณริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ให้รับทราบข้อมูลสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสภาพฝน-น้ำท่าที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหรือได้รับน้อยที่สุด

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลสถานการณ์น้ำได้ทางสายด่วนกรมชลประทาน หมายเลข 1460 หรือติดตามได้ทาง http://wmsc.rid.go.th/ และ www.rid.go.th

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า