SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ประเด็นคือ – “โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า” ที่มีคนดังป่วยในขณะนี้ ทำให้กระแสเรื่องการใช้วัคซีนขึ้นมา และล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกมาชี้แจง ยืนยันว่า ได้ยกเลิกใช้วัคซีนไวรัสโรต้า ที่ทำให้เกิดลำไส้กลืนกันไปแล้ว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงกรณีเพจ Infectious ง่ายนิดเดียว และเพจ Drama-addict ระบุถึงการให้วัคซีนไวรัสโรต้า ซึ่งเชื่อว่า วัคซีนจะส่งผลกระทบต่อการกลืนกันของลำไส้ และได้ยกเลิกวัคซีน เนื่องจากเป็นอันตรายต่อคนไข้ แต่ภาคเอกชนนำเข้ามาใช้เองโดยไม่ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขนั้น

ข้อเท็จจริงคือ ปัจจุบันวัคซีนไวรัสโรต้า ที่ใช้ในไทย เป็นวัคซีนสำหรับเด็กเล็ก มี 2 ยี่ห้อ คือ วัคซีน RotaTeq ผลิตโดยบริษัทในสหรัฐฯ เป็นวัคซีนที่ผลิตจากการรวมตัวกันของเชื่อไวรัสจากมนุษย์กับวัว และวัคซีน Rotarix ผลิตโดยบริษัทในเบลเยียม ซึ่งผลิตจากไวรัสโรต้าสายพันธุ์จากมนุษย์ที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์แล้ว

“สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ตรวจสอบคุณภาพวัคซีน ทั้ง 2 ยี่ห้อ ในห้องปฏิบัติการ ยืนยันได้ว่า ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน ไม่พบสิ่งผิดปกติ จึงมั่นใจได้ว่า วัคซีนที่ใช้ในไทยมีคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ยังไม่มีการใช้ในผู้ใหญ่”

ส่วนกรณีข่าวการใช้วัคซีนโรต้า แล้วทำให้ “เกิดภาวะลำไส้กลืนกัน” นั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า วัคซีนดังกล่าว เป็นวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโรต้า ชนิด Rhesus-human reassortant tetravalent vaccine (RotashieldTM) มีการจำหน่ายและใช้ในอดีต ระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2542 แต่ต่อมาพบว่า วัคซีนชนิดนี้สัมพันธ์กับการเกิดภาวะลำไส้กลืนกัน (intussusception) จึงได้หยุดจำหน่ายไป ไม่มีใช้ในประเทศ หากมีการนำเข้ามาใช้ในประเทศ จะต้องมีการรับรองรุ่นการผลิต โดยสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก่อนจำหน่ายทุกครั้ง จึงมั่นใจได้ว่า ไม่มีวัคซีนชนิดนี้จำหน่ายในประเทศไทยอย่างแน่นอน

ขอบคุณจากใจสำหรับความห่วงใยและทุกคำอวยพรนะคะ วันนี้รู้สึกดีขึ้น อาการถ่ายเพิ่งหยุดหลังจากให้น้ำเกลือชดเชยมา3 วัน จากนี้คุณหมอให้พักฟื้น จนฟื้นตัวทุกอย่างปลอดภัยจะกลับไปทำงานตามปกติค่ะ(ขอโทษกองถ่ายทีมงานเพื่อนร่วมงาน.. ลางานดีกว่าไปแพร่เชื้อเนอะถ้ายังไม่หาย)?…โรคเดี๋ยวนี้พัฒนาไปจากเมื่อก่อน ใครจะคิดว่าเชื้อโรต้าที่มักเป็นในเด็กเล็ก วันนี้ผู้ใหญ่จะมาฮิตเป็น…รู้สึกเห็นใจคุณหมอและพยาบาลที่ปฏิบัติการรักษาคนไข้โรคนี้จำนวนมากช่วงนี้ สู้ๆค่ะ เป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยคนอื่นๆด้วยนะคะ หายช้าเร็วตามสภาพร่างกาย # ขอบคุณทีมแพทย์พยาบาล แม่บ้าน รปภ. รพ.สมิติเวชที่ดูแลค่ะ? # ระวังความสะอาด # ล้างมือสบู่2 รอบ #งดกินอาหารที่สุกๆดิบๆ ที่ใช้มือสัมผัสอาหาร #ระวังอาการถ่ายไม่หยุดขาดน้ำอาจช็อคเสียชีวิตได้ # เตือนไว้ไม่ประมาท #ไม่มียาหยุดการถ่ายจากเชื้อนี้ได้

A post shared by nusbapunnakanta (@nusbapunnakanta) on

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนดังที่ป่วยโรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า คือ นุสบา ปุณณกันต์ ที่ออกมาเตือนว่า เป็นโรคที่ไม่มียารักษาเชื้อ จนเกิดกระแสการตื่นตัวในแวดวงสุขภาพ เนื่อง โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า ส่วนมากจะพบในเด็ก และมีการใช้วัคซีนป้องกัน รวมทั้งรายล่าสุด ตลกชื่อดัง หม่ำ จกม๊ก ที่ภรรยานำภาพมาลงไว้ในอินสตราแกรมว่า หม่ำต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการท้องร่วง แต่ยังไม่ชัดเจนว่า เกิดจากไวรัสโรต้าด้วยหรือไม่ แต่ก็ทำให้หลายคนเป็นห่วง และกังวลกับโรคนี้พอสมควร

 

ที่มา Thaigov

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า