Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต

กรมสุขภาพจิต ห่วงประชาชนผู้สนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และสัมพันธภาพต่อผู้อื่นได้ แนะใช้หลัก 5 วิธี ติดตามข่าวสารให้ห่างไกลความเครียด โดยแบ่งเวลาติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างพอดี ทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ เคารพความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายได้ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และการผ่อนคลายความเครียด

เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ข่าวการเลือกตั้งกำลังเป็นที่สนใจของประชาชน หากมีการติดตามข่าวสารมากจนเกินไป อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการทางกายได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอหรือตามแขนขา ชาตามร่างกาย หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้อง ปวดท้อง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้

ส่วนอาการทางจิตใจ ได้แก่ อาการวิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่าน หรือหมกมุ่นมากเกินไป เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก และปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัวโดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลางถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยังยั้งตนเองได้ มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ มีการเอาชนะทางความคิดกับคนที่ เคยมีสัมพันธภาพที่ดีมาก่อน จนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพอย่างรุนแรง

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อไปว่า สำหรับการติดตามข่าวสารบ้านเมืองให้ห่างไกลความเครียดนั้น ให้ใช้หลัก 5 วิธี ที่ควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. แบ่งเวลาติดตามข่าวสารบ้านเมืองอย่างพอดี โดยการติดตามข่าวสารไม่ควรติดตามต่อเนื่องนานเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะจะทำให้เครียดมากขึ้น
  2. ทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ หันเหความสนใจจากข่าวสารไปเรื่องอื่น ละเว้นการรับรู้ข่าวสารการเมืองบ้าง โดยหันไปทำหน้าที่ของตนเอง เรียนหนังสือ การทำงาน และการให้เวลากับครอบครัว
  3. เคารพความคิดเห็นแบบประชาธิปไตยที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ โดยไม่ดูข่าวหรือรับข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียว จะทำให้เกิดอารมณ์รุนแรง ควรเปิดกว้างและรับข้อมูลข่าวสารที่แตกต่าง
  4. การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งการพักผ่อนจะทำให้ความเครียดลดลง
  5. การผ่อนคลายความเครียด เช่น การออกกำลังกาย ฝึกโยคะ การทำสมาธิ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกหายใจคลายเครียด การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็นต้น

ทั้งนี้ หากอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ มีความเครียดรุนแรง สามารถขอรับบริการปรึกษาที่สถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสม

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า