SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมอนามัย แนะ สังเกตอาการที่เป็นสัญญาณเตือนเสี่ยงป่วยด้วยโรคออฟฟิศซินโดรม คือ ปวดหลังเรื้อรัง หรือปวดศีรษะเรื้อรัง และมือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค พร้อมย้ำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน

วัยทำงานมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) ได้ง่ายที่สุด อาการที่เป็นสัญญาณเตือนและพบบ่อย คือ อาการปวดหลังเรื้อรัง จากการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบังลมขยายได้ไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ทำให้ง่วงนอน ศักยภาพในการทำงานไม่เต็มร้อย

อาการปวดศีรษะเรื้อรัง (tension headache) ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความร้อน และการขาดฮอร์โมนบางชนิดเป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

อาการมือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็น นิ้วมือพบมากขึ้น เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเมาส์ในท่าเดิมนาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืด ยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวด ปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้ หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาการจะรุนแรงจนถึงขั้น หมอนรองกระดูกเสื่อมหรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้

น.พ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

น.พ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสมในขณะทำงานด้วยการปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะให้เหมาะสม นั่งสบาย หากใช้คอมพิวเตอร์ กึ่งกลางของจอควรอยู่ในระดับสายตา การพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้ แบบไม่จำกัดพื้นที่

ข้อมูลจาก รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ขณะนั่งทำงาน ควรนั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กระพริบตาบ่อย ๆ พักสายตา จากจอคอมพิวเตอร์ทุก ๆ 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง การปลูกต้นไม้ในร่มจะช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาจากการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลาและครบ 5 หมู่ เปิดหน้าต่างสำนักงานเพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทบ้างอย่างน้อยในตอนเช้าและพักกลางวัน และที่สำคัญจะต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ขอบคุณภาพปกจาก https://unsplash.com/photos/f2ar0ltTvaI

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า