SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ตรังยืน ยันไม่พบขยะมีพิษเข้ามากำจัดในพื้นที่ การจัดการขยะเป็นไปตามกฎหมายที่ถูกต้อง ไม่เคยปรากฏลักลอบนำขยะมีพิษเข้ามาจากพื้นที่อื่น แต่อย่างไรจะได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดตามคำสั่งกรมอุตสาหกรรมต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 1 มิ.ย. 61 จากกรณีที่ปรากฏข่าวว่า กำลังเจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติภารกิจทลายโรงงานกำจัดขยะมีของ บริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทย รีไซคลิ้ง จำกัด จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นของนายทุนต่างชาติสัญชาติจีน โดยการรับซื้อขยะอุตสาหกรรมมีพิษ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะไฮเทคจากทั่วโลกนำมากำจัดในพื้นที่

ขณะที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สรุปแผนที่ลักลอบทิ้งของเสียในช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค. 58 โดยพบมี 14 ครั้งใน 11 จังหวัด คือ สมุทรสาคร, ชลบุรี, ระนอง, นครศรีธรรมราช, จันทบุรี, สุโขทัย, ราชบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ปทุมธานี, ขอนแก่น และตรัง โดยส่วนใหญ่เป็นการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในชุมชน ลักลอบเผาขยะอุตสาหกรรมในกองขยะชุมชน และการทิ้งน้ำเสียอันตราย


ล่าสุด นายพงษ์พิพัฒน์ คงหนู หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานอุตสาหกรรม จ.ตรัง รักษาราชการแทนอุตสาหกรรม จ.ตรัง กล่าวว่า วันนี้ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีหนังสือสั่งการไปยัง 11 จังหวัดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง จ.ตรัง ให้จัดทำแผนออกตรวจสอบกำกับดูแลโรงงานที่ขึ้นทะเบียนเป็นโรงงาน รับบำบัด กำจัด และรีไซเคิลกากอุตสาหกรรม ทั้ง 3 ประเภท ลำดับประเภท 101 (โรงงานปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม), 105 (โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และ 106 (การทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้แล้ว หรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ) โดยกำกับให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และรายงานผลให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับทราบ
นายพงษ์พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาไม่เคยพบมีการลักลอบนำขยะมีพิษหรือขยะที่เป็นอันตรายจากพื้นที่อื่นเข้ามากำจัดในพื้นที่ จ.ตรัง โดยทางสำนักงานอุตสาหกรรม จ.ตรัง จะต้องทำรายงานข้อมูลปริมาณกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และการแจ้งขนนำไปบำบัด/กำจัดนอกบริเวณโรงงาน ให้สำนักนายกรัฐมนตรีได้รับทราบเป็นประจำทุกเดือน

ทั้งนี้ กากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใน จ.ตรัง มีทั้งกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย และไม่เป็นอันตราย โดยแหล่งกำเนิดกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ จ.ตรัง ส่วนใหญ่เกิดจากอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา โรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน โรงงานแปรรูปยางพารา ซึ่งเป็นกากของเสียที่ไม่เป็นอันตราย เฉลี่ยต่อเดือนในปี 2560 มีประมาณ 47,000 ตัน ซึ่งมีการนำกากดังกล่าวไปใช้ประโยชน์โดยการจำหน่ายแจกจ่ายเป็นเชื้อเพลิง และสารปรับปรุงคุณภาพดิน และมีการแจ้งการขนกากของเสียที่ไม่เป็นอันตรายออกนอกโรงงานอยู่ที่ประมาณ 12.29 ตัน

ส่วนกากของเสียที่เป็นอันตรายมีแหล่งกำเนิดส่วนมากจากศูนย์บริการรถยนต์ในเขตพื้นที่ จ.ตรัง เช่น น้ำมันเครื่องใช้แล้ว, สารหล่อลื่นใช้แล้ว จากการประเมินเบื้องต้น ณ เดือน ม.ค. 60 มีปริมาณประมาณ 4.45 ตัน สารเหล่านี้จะมีผู้รับซื้อจากจังหวัดใกล้เคียงนำไปรวบรวมและส่งต่อกับสถานที่รับปรับสภาพ เพื่อการนำมาใช้ใหม่ ตั้งอยู่ในบริเวณภาคกลาง ซึ่งเดือน ม.ค. 60 มีการแจ้งการนำกากของเสียที่เป็นอันตรายไปบำบัด/กำจัดนอกบริเวณโรงงาน ประมาณ 2 ตัน

ขยะทางการแพทย์ก็มีการนำไปกำจัดในพื้นที่ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่ถูกต้อง จึงไม่เคยปรากฏพบมีการลักลอบนำขยะมีพิษจากพื้นที่อื่นเข้ามากำจัดในพื้นที่จังหวัดแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตามจะได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดตามคำสั่งกรมอุตสาหกรรมต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า