SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมอุทยานฯ พาสื่อมวลชนลงพื้นที่อ่าวมาหยา ติดตามความคืบหน้าการฟื้นฟูระบบนิเวศชายหาดและระบบนิเวศแนวปะการังบริเวณอ่าวมาหยา พบหลังปิดอ่าวและทำการฟื้นฟู ระบบนิเวศและการฟื้นตัวของปะการังเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันพบอันตรายจากครีมกันแดด ตัวทำลายปะการัง “อ่าวมาหยา” ตายสูงถึง 51%

กรณีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประกาศปิดอ่าวมาหยา บนเกาะพีพี จ.กระบี่ ออกไปโดยไม่มีกำหนด เนื่องจากสภาพธรรมชาติในพื้นที่ยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการในพื้นที่บางส่วน ออกมาแสดงความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ขณะที่ชาวบ้านบางส่วนกลับเห็นด้วยให้มีการปิด เพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นฟูนั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 61 นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานฯ พร้อมด้วย ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ, ผศ.ดร.ดรรชนี เอมพันธุ์ นักวิชาการจากคณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์, นายวรพจน์ ล้อมลิ้ม หน.อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี นำคณะสื่อมวลชนกว่า 60 ชีวิต ลงพื้นที่สำรวจสภาพความเสียหายของอ่าวมาหยา ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่

โดยสภาพแนวปะการังภายในอ่าวมาหยา มีสภาพเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง โดยมีบางส่วนที่ทางกรมอุทยานฯ ส่งคณะทำงาน ลงพื้นที่เพาะปลูกปะการังและฟื้นฟูโดยใช้กระบวนการ Coral Popagation Course ซึ่งพบว่า หลังจากปิดให้ฟื้นฟูมานาน 4 เดือน ปะการังที่ได้รับการเพาะบางส่วนเริ่มเติบโตขึ้นมาบ้างแล้ว รวมทั้งยังพบลูกปลาฉลามหูดำ และสัตว์ทะเลขนาดเล็กเข้ามาแหวกว่ายหากินอยู่ในบริเวณอ่าว หลังจากไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ตลอด 4 เดือน

นายจงคล้าย กล่าวว่า การที่กรมอุทยานฯ ประกาศห้ามเข้าอ่าวมาหยา ก็เพราะต้องการให้ธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลได้มีเวลาฟื้นตัว เพราะที่ผ่านมา สภาพปะการังในพื้นที่ถูกทำลายไปมากกว่า 51% เป็นสภาพปะการังตาย แต่ก็เข้าใจในส่วนของการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวต้องการเข้ามาเที่ยวอ่าวมาหยา ซึ่งการสั่งปิดอ่าวชั่วคราวนี้ ไม่ได้ปิดพื้นที่ทั้งหมด 100% ยังให้เรือนำนักท่องเที่ยวเข้ามาลอยลำชมความงามของอ่าวได้ โดยให้เรือจอดอยู่ในแนวทุ่นที่ทางอุทยานฯ กำหนดไว้ ห่างจากชายฝั่งประมาณ 250-300 ม. แต่เราห้ามเพียงไม่ให้เหยียบขึ้นบนฝั่ง และห้ามเรือเข้ามาในโซนที่กำลังฟื้นฟูปะการังเท่านั้น นักท่องเที่ยวก็สามารถเก็บภาพความงามของอ่าวมาหยาได้ ซึ่งตนมองว่านักท่องเที่ยวจะได้ภาพธรรมชาติที่สวยงามกว่าภาพนักท่องเที่ยวยืนแออัดกันเต็มหาด เพราะพื้นที่หาดในอ่าวมาหยามีพื้นที่เพียง 18 ไร่ ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเข้ามาปีละ 1 ล้านคน จึงทำให้เกิดภาพยืนกันแออัดบนชายหาด ส่วนจะเปิดอ่าวได้อีกครั้งเมื่อไหร่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับคณะทำงาน และนักวิชาการที่เราส่งมาประเมินอีกครั้ง ตอนนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะปิดนานแค่ไหน

ด้าน ดร.ทรงธรรม กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาจากการวิจัยของทีมคณะทำงาน พบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้สภาพปะการังในพื้นที่อ่าวมาหยาต้องตายและเสียหาย สาเหตุหลักเกิดจากสารเคมีบางตัวในครีมกันแดด ที่นักท่องเที่ยวใช้กัน ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ส่งผลต่อการแพร่พันธุ์ของปะการัง และทำให้ปะการังตายหรือพิการได้ รวมทั้งเป็นต้นเหตุให้เกิดปะการังฟอกขาว

นอกจากนี้ใบพัดเรือที่เข้ามาในอ่าว จะไปกวนตะกอนทรายขึ้นมาปกคลุมปะการัง ซึ่งตะกอนเหล่านี้จะทับถมบนก้อนปะการังทำให้ตายได้ และยังพบซากแตกหักของปะการังที่เกิดจากการทิ้งสมอเรือจำนวนมาก นอกจากปัญหาสภาพธรรมชาติที่พังแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องห้องสุขา ที่ผ่านมามีไม่เพียงพอจะรองรับนักท่องเที่ยวปริมาณมาก ทำให้เกิดน้ำเสียวันละหลายพันลิตร ซึ่งต้องใช้เวลาในการวางระบบบริหารจัดการเรื่องนี้ด้วย โดยต่อไปทางอุทยานฯ จะให้นักท่องเที่ยวเข้าอ่าวมาหยาทางอ่าวโล๊ะซามะ ซึ่งอยู่ด้านหลังแทน

ขณะที่ ผศ.ดร.ดรรชนี ระบุว่า หากเปรียบอ่าวมาหยา เป็นคนไข้ในตอนนี้ ก็คือผู้ป่วยหนักที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดรักษา จึงจำเป็นต้องให้เวลาในการฟื้นตัว ไม่อยากให้เกิดการกดดันจากภาคการท่องเที่ยว เพราะหากฝืนเปิดไป จะทำให้สภาพธรรมชาติพังพินาศในช่วงอายุของพวกเรา จนไม่สามารถจะฟื้นฟูกลับมาได้อีก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า