SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้ ว่าที่ จ.ฉะเชิงเทรา มีนายทุนชาวจีนเปิดโรงงานหลอมขยะนำเข้าจากจีน ซึ่งเป็นมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ล่าสุด กรมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจงแล้ว

วันที่ 27 พ.ค. 61 นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงกรณีปัญหาการนำเข้าขยะพิษจากต่างประเทศ ที่รายงานข่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ปัจจุบันขยะอุตสาหกรรมและขยะพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถูกนำเข้ามาไนไทยได้ง่าย สาเหตุเกิดจากช่องว่างทางกฎหมายของไทย การบังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษ รวมทั้งการปลดเงื่อนไขของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้เอื้อต่อการเปิดเสรีทางการค้ากับนายทุนไทยและต่างประเทศ

กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า ปัจจุบันการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกควบคุมการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและอนุสัญญาบาเซล โดยจะอนุญาตให้โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้รีไซเกิลขยะอิเล็กทรอนิกส์นำเข้ามาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเท่านั้น และปริมาณที่นำเข้าต้องสอดคล้องกับกำลังการผลิตของโรงงาน

ประเด็นที่ 2 จากการศึกษาพบว่า เส้นทางการนำเข้าจะเริ่มต้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ผ่านด่านศุลกากร และลำเลียงใส่รถบรรทุกเพื่อส่งต่อให้กับโรงงาน ส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ จ.ระยอง จ.ชลบุรี และ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งกลายเป็นปัญหา และเกิดความเสียหายระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมของไทย

กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า ผู้นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย ที่ดำเนินการตามขั้นตอนของอนุสัญญาบาเซล โดยจะออกใบอนุญาตให้เฉพาะโรงงานที่นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบในโรงงานของตนเองเท่านั้น ไม่สามารถนำไปขายหรือจำหน่ายต่อให้ผู้อื่นหรือโรงงานอื่นได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ลักลอบนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อาจมีการสำแดงข้อมูลอันเป็นเท็จต่อศุลกากร ดังเช่นเมื่อปี 2559 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ตรวจจับและผลักดันขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับไปยังประเทศต้นทาง โดยตรวจพบว่ามีการสำแดงข้อมูลการนำเข้าที่เป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่

ประเด็นที่ 3 ตั้งข้อสังเกตว่า อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายขยะมีพิษข้ามพรมแดนและการกำจัดขยะพิษ ซึ่งไทยเข้าเป็นรัฐภาคีเมื่อ ก.พ. 2541 ทำให้เกิดการล็อบบี้เพื่อยกเว้นการบังคับใช้ หากรัฐบาล 2 ประเทศตกลงกันได้ จะสามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาฯ เข้ามากำจัดในประเทศปลายทางได้ เช่น จีนอนุมัติให้ส่งขยะพิษจากจีนเข้ามาแปรรูปในไทยได้

กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า อนุสัญญาบาเซล เป็นอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตรายที่อนุญาตให้เคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดนเฉพาะในกลุ่มประเทศภาคีสมาชิกเท่านั้น โดยต้องได้รับคำยินยอมเป็นทางการระหว่างหน่วยงานภาครัฐต้นทางและปลายทาง โดยการควบคุมจะเป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศภาคีสมาชิก ปัจจุบันประเทศไทยมีการควบคุมการนำเข้า ส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายอย่างเคร่งครัด

ประเด็นที่ 4 ล่าสุดพบว่ามีการทลายโรงงานขยะพิษที่ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงงานเถื่อน และสำแดงของนำเข้าเป็นเท็จ สะท้อนปัญหาจากกฎระเบียบต่างๆ ที่ย่อหย่อนและมีแนวโน้มว่าอาจมีการทุจริตฯ แบ่งผลประโยชน์ในกลุ่มข้าราชการ นักการเมือง และนักธุรกิจ

กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า โรงงานที่ตรวจพบในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ไม่ใช่โรงงานเถื่อน แต่หากกรณีเป็นโรงงานเถื่อนและสำแดงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ จะมีความผิดฐานตั้งและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีความผิดฐานครอบครองวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประเด็นที่ 5 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ข้อมูลในข้างต้นถูกต้องหรือไม่ และการส่งเสริมมาตรการดังกล่าว ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อะไร จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนไทยหรือไม่อย่างไร

กรมโรงงานอุตสาหกรรมขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวมีบางส่วนที่เข้าใจคลาดเคลื่อน จะเห็นว่าการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-waste หรือซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste from Electrical and Electronic Equipment: WEEE) ที่มีโลหะมีค่าจะมีมูลค่าสูง เมื่อนำมาถอดแยกโดยโรงงานที่มีศักยภาพเพียงพอ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีการควบคุมมลพิษที่ดี จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน จึงนับเป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังจะเห็นได้จาก ประเทศญี่ปุ่น ได้นำโลหะมีค่าที่สกัดได้จากขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ มาผลิตเป็นเหรียญรางวัลที่จะใช้ในกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2020

 

ที่มา: thaigov

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

รง.ฉะเชิงเทรา ลับลอบนำเข้าขยะอันตรายจากจีน มลพิษรุนแรงกว่า 100 ตัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า