SHARE

คัดลอกแล้ว

 

วานนี้เวลาบ่ายโมง 2 ชายคนหนึ่งเปิดฉากยิงที่มัสยิดในเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ภายหลังทราบชื่อว่าเป็นนายเบรนตัน ทาร์แรนท์ ชาวออสเตรเลีย

การบุกครั้งนี้ไม่ธรรมดา เนื่องจากเขาผูกกล้องไว้บนศีรษะ ถ่ายทอดสดฉากการสังหารของตนให้คนหลายล้านทั่วโลกได้ชมไปพร้อม ๆ กัน เท่ากับว่าในการบุกครั้งนี้มีอาวุธสองอย่างด้วยกัน คือหนึ่ง อาวุธที่เขาใช้ยิงคน และสอง กล้องที่ถ่ายทอดสดฉากอันสยดสยอง ซึ่งร้ายแรงกว่าอาวุธอย่างแรก เพราะมันส่งผลกระทบมหาศาลต่อชาวโลก

ในการถ่ายทอดสด เขาใช้โซเชียลมีเดียส่งผ่านมุมมองที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังไปยังคนที่ดูอยู่ในที่ปลอดภัยหลังจอ เพราะไม่กี่นาทีภาพฟุตเทจของการสังหารอันชวหดหู่และคำประกาศจุดยืนของเขาก็ได้แพร่ไปทั่วช่องทางต่าง ๆ ของอินเตอร์เน็ต

ก่อนการโจมตี ทาร์แรนต์ มือสังหารได้ขอความสนับสนุนจากกลุ่ม “ขวาจัดยุคใหม่ (alt-right)” ในโลกออนไลน์มาก่อน โดยโพสต์ในเว็บบอร์ดที่ชื่อ “8chan” ว่า “ถึงเวลาหยุดโพสต์ไปเรื่อยแล้วมาพยายามจริงจังเสียที” เพื่อให้ตัวเขาเองมั่นใจว่าการกระทำการครั้งนี้จะเกิดแรงสะเทือนสูงสุด

การโจมตีครั้งนี้ออกแบบมาให้เหมาะกับโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะ

ผู้ใช้เว็บทวิตเตอร์และ Reddit ดูดคลิปวีดีโอยาว 17 นาทีและคำแถลงการณ์ออกมาโพสต์และแชร์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่ทั้งทางการทวิตเตอร์และ Reddit ต่างก็พยายามลบสื่อดังกล่าวออกจากหน้าเว็บให้เร็วที่สุด

ขณะที่ในเว็บอย่าง Youtube มีการอัพโหลดวีดีโอดังกล่าว 10 ครั้งต่อชั่วโมง และค้นหาได้อย่างฉับไว แม้เฟซบุ๊คและยูทูปจะมีปัญหาประดิษฐ์หรือ AI ไว้ตรวจจับเนื้อหาที่เป็นภัยแต่สังคม แต่การตรวจจับยังกล่าวกลับมีช่องว่างทำให้ไม่สามารถหยุดยั้งภาพการโจมตีครั้งนี้ได้ ทำให้เนื้อหาดังกล่าวเผยแพร่อยู่ในยูทูปกว่า 5 ชั่วโมงโดยไม่มีการแจ้งเตือนใดใด

การที่วีดีโอนี้ถูกเผยแพร่ไวรัลไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ก่อนการสังหารจะเกิดขึ้น ผู้โจมตีได้ดึงความสนใจของคนในอินเตอรืเน็ตบางกลุ่มไว้ก่อนแล้ว โดยใช้วิธีก่อนกวนพื้นที่แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านมุขตลกและเมนชั่นไปหาคนดังในโลกออนไลน์ โดยจงใจยั่วยุให้เกิดอารมณ์เพื่อให้ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์และได้รับความสนใจในที่สุด

นายทาร์แรนท์เก่งเรื่องนี้มาก ก่อนที่จะเข้าไปในมัสยิดเขาบอกให้ฟอลโลเวอร์ของตัวเองกดติดตามช่องของ PewDiePie ช่องยูทูปที่โด่งดังและมีฟอลโลวเวอร์กว่า 89 ล้านคน เมื่อเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น แน่นอนว่านายฟีลิกซ์ เจลเบิร์กเจ้าของช่อง PewDiePie ไม่มีส่วนรู้เห็นเรื่องนี้ แต่ก็ต้องออกมาบอกว่าตนเองไม่มีส่วนรู้เห็นกับการที่ฆาตกรให้ฟอลโลว์ช่องของเขาเลย ทำให้คนที่ฟอลโลว์ PewDiePie จากที่ไม่รู้ก็ต้องรู้ว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้น เท่ากับว่าฆาตกรยืมปากคนดังเผยแพร่เหตุการณ์ของเขาให้คนในวงกว้างได้รับรู้สำเร็จ ยุทธการนี้เรียกว่า “Streisand effect – สไตร์แซนด์ เอฟเฟค”

คำประกาศขนาด 73 หน้าของนายทาร์แรนด์ที่โพสต์ลงในบอร์ด 8chan ก่อนยิงก็สื่อให้เห็นว่าเขาเข้าใจวัฒนธรรมอินเตอร์เน็ตและภาพจำของคนในสังคมเป็นอย่างดี เห็นได้จากการที่เขาเล่นตลกว่า “ฟอร์ไนท์ฝึกให้ฉันเป็นนักฆ่า” ซึ่งโยงถึงเกมชื่อดังอย่างแบทเบิล รอยัล ราวกับว่าพยายามยั่วยุให้คนโทษวีดีโอเกมในการกระทำของเขา

แม้เขาจะเผยตัวว่าเป็นชาวออสเตรเลีย แต่ก็ได้อ้างอิงถึงรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาและยุโรปทั่วแถงการณ์ของตนโดยหวังจะได้ผู้เห็นด้วยเพิ่มขึ้น และชี้ว่าแคนแดซ โอเวนซ์ นักอนุรักษ์นิยมชาวอเมริกาที่โดดเด่นเรื่องการต่อต้านประชาธิปไตยเป็นผู้ส่งอิทธิพลทางความคิดให้ตนมากที่สุด โดยการที่ดึงโอเวนส์เข้ามาเกี่ยวเอง ก็ทำให้เขาได้รับความสนใจจากผู้ติดตามของนักพูดคนดังทางทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กเกือบ 2 ล้านคน

ทำอย่างไร ไม่ให้เกิดซ้ำ?

ที่จริงแล้วก็มีสัญญาณเตือนก่อนที่เหตุการณ์จริงจะเกิดขึ้นถึงสามวัน แต่เว็บไซต์โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ก็พลาด
ก่อนหน้าการกราดยิง 3 วัน นายทาร์แรนท์ถ่ายรูปปืนและเกราะที่ตนเตรียมไว้และแชร์ผ่านทวิตเตอร์ โดยเรื่องนี้เป็นความตั้งใจของเขาจะให้คนแชร์ภาพดังกล่าวไปอย่างโด่งดังหลังเหตุการณ์เกิดขึ้น

นอกจากนี้นายทาร์แรนท์ยังโพสต์โฆษณาไลฟ์สตรีขมของตัวเองในเว็บบอร์ด 8chan ซึ่งมีคนเข้าชมกว่า 14.1 ล้านคนต่อเดือนด้วย

ด้านเฟซบุ๊คกล่าวว่าบริษัทฯได้นการถ่ายทอดสดที่เป็นต้นฉบับลงอย่างรวดเร็ว “ตำรวจแจ้งเตือนเรามาหลังการถ่ายทอดสดดังกล่าวเริ่มขึ้น และเราก็ได้ลบทั้งบัญชีเฟซบุ๊คและอินสตาแกรมของผู้ยิง ตลอดจนวีดีโอนั้น นอกจากนี้เราก็ได้ลบคำชมและคำกล่าวสนับสนุน และกำลังลบเรื่อย ๆ ” โดยมีอา การ์ลิคก์ ตัวแทนบริษัทเฟซบุ๊คในนิวซีแลนด์ก็ได้กล่าวว่า “บริษัทฯจะร่วมมือกับตำรวจนิวซีแลนด์เพื่อช่วยเหลือการทำคดีต่อไป” ทั้งนี้เฟซบุ๊คมีทีมในการจัดการเนื้อหาที่รุนแรง โดยมีผู้ตรวจเนื้อหากว่า 7,500 คนเพื่อคัดกรองเนื้อหาการข่มขืน การทรมาณ ตลอดจนความรุนแรงต่าง ๆ แต่หลายภาคส่วนก็วิจารณ์ว่ายังไม่จริงจังพอ

เป็นที่ถกเถียงกันว่า หรืองานนี้จะใหญ่เกินกว่าที่มนุษย์จะรับมือได้ เพราะปัจจุบันเฟซบุ๊กและยูทูปเองก็มีระบบคัดกรองเนื้อหาต่าง ๆ แทบทุกวิถีทาง นอกจากจะใช้คนแล้วก็มีระบบจดจำภาพอัตโนมัติเพื่อให้ภาพถูกลบอัตโนมติทันทีที่มีความพยายามจะเผยแพร่ภาพที่ถูกลบมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่การลบภาพหรือวีดีโอแบบเรียลไทม์ก็ยังต้องเกิดขึ้นหลังมีการแจ้งเตือนอยู่ดี ซึ่งเรื่องนี้ก็จะยากขึ้นไปอีกในกรณีที่เป็นไลฟ์ เครื่องยนต์ต่าง ๆ จะไม่สามารถตรวจจับได้เลย กว่าจะลบได้ก็ไม่ทันเวลาเสียแล้ว

นอกจากนี้แม้ลบไปก็ยังมีการพูดถึงอยู่เรื่อย ๆ หลายคนจึงบอกว่าการแก้ปัญหาเพียงการลบวีดีโอต้นทางนั้นยังไม่ใช่วิธีการแสดงความรับผิดชอบที่ดีพอ มีอยู่ครั้งหนึ่งแดเมียน คอลลิน นักการเมืองอังกฤษให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เทเลกราฟว่า “การลบวีดีโอนั้นไม่เพียงพอ แต่เราควรเข้าไปตรวจสอบบริษัทโซเชียลมีเดียและให้พวกเขาหาวิธีป้องกันไม่ให้คนใช้เว็บไซต์ของตนในทิศทางที่ทำลายสังคม” โดยเสนอว่าเฟซบุ๊ค ยูทูปหรือทวิตเตอร์ก็ดีควรมีมาตรการก้าวให้ทันยุทธศาสตร์ของอาชญากร เพื่อสร้างกลไลป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า