SHARE

คัดลอกแล้ว


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม. ออกแถลงการณ์ เรื่อง ความห่วงใยต่อวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศในภาคเหนือ ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิในการมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ร้องรัฐบาลยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ

วันที่ 3 เม.ย. 62 หลังพื้นที่หลายแห่งในจังหวัดภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์มลพิษทางอากาศยังไม่บรรเทาเบาลง กลับเข้าสู่สภาวะวิกฤตที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้น

ซึ่งสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้เริ่มส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในพื้นที่ และก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนในระดับที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น กสม. จึงมีความห่วงใยต่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครซึ่งพยายามเข้าดำเนินการควบคุมไฟป่าที่เกิดจากการเผาป่าและพื้นที่เกษตรกรรมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหา เพื่อให้สิทธิในการมีสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย และสิทธิของบุคคลที่จะมีสุขภาพที่ดีตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม

จึงมีข้อเสนอให้รัฐบาล หน่วยงานของรัฐและองค์กรในภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น ดังนี้

1. รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน เช่น การสนับสนุนหน้ากากอนามัยป้องกันมลพิษทางอากาศ และการอพยพประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงออกจากพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบาง เช่น เด็ก สตรี คนพิการ และผู้สูงอายุ สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันภัยให้แก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครซึ่งร่วมแก้ไขปัญหาไฟป่าอย่างเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มความเข้มงวดในการใช้บังคับกฎหมายแก่ผู้ที่เผาป่าและพื้นที่เกษตรกรรมโดยมิชอบอย่างจริงจัง

2. รัฐบาลควรยกระดับวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาระดับชาติ และเร่งประกาศวาระแห่งชาติด้านการแก้ปัญหามลภาวะฝุ่นละอองตามที่ได้ดำริอยู่แล้ว โดยกำหนดแผนการบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น แผนการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม และการเกษตร แผนการเตือนภัยและการป้องกัน แผนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และแผนการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนโดยเฉพาะเรื่องการเผาทำลายพื้นที่ป่า โดยบูรณาการการทำงานและองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลาง และกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

3. รัฐบาลควรแสวงหาความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาป่าในประเทศของตนที่ส่งผลต่อปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทยตามกรอบข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution – AATHP)

4. รัฐบาล หน่วยงานของรัฐ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงในการป้องกันตนเองจากมลพิษที่เกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ

5. ประชาชนควรให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการติดตาม เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ กสม. จะติดตามวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิในการมีสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนจะได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนต่อไป

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า