SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชี้แจงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. …. มาจากการพิจารณายกร่างโดยคณะกรรมการไตรภาคี และเปิดรับฟังความคิดเห็นวิเคราะห์อย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงทุกฝ่าย เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจแก่นายจ้าง ลูกจ้าง

นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงประเด็นที่มีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีความเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 โดยชี้แจงว่า การยกร่างกฎหมายดังกล่าวทำโดยคณะกรรมการไตรภาคี ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และผู้แทนฝ่ายภาครัฐ และได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจากหน่วยงานภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาชนทั่วไป จำนวน 297 คน รวมทั้งได้เปิดรับฟังผ่านทางเว็บไชต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (www.labour.go.th) ในช่วงระหว่างวันที่ 24 เมษายน ถึง 26 พฤษภาคม 2560 มีผู้สนใจเข้าชมเพื่อศึกษาร่างกฎหมาย จำนวน 235 คน โดยความเห็นที่ผ่านทั้งสองช่องทางส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการเนื่องจากเป็นการขยายการคุ้มครองลูกจ้างมากขึ้น แม้ว่าจะมีบางส่วนที่เห็นว่าอาจเพิ่มภาระให้นายจ้าง ซึ่งก็ได้นำผลการรับฟังมาวิเคราะห์ผลกระทบและจัดทำคำชี้แจงเหตุผลและเปิดเผยให้ประชาชนทราบทางเว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมาโดยตลอด นอกจากนี้ ในการพิจารณาร่างของสภานิติบัญญัติก็ได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาด้วย

ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิของผู้ทำงานที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานโดยคำนึงถึงผู้ที่ทำงานกับนายจ้างมาเป็นเวลายาวนาน 20 ปีขึ้นไปให้ได้ค่าชดเชย ที่เหมาะสมและเป็นหลักประกันในกรณีที่ต้องออกจากงานในขณะที่เป็นผู้สูงวัย รวมทั้งเพิ่มสิทธิให้ลูกจ้างลากิจได้ปีละ 3 วันโดยได้รับค่าจ้าง และคุ้มครองดูแลสิทธิของแรงงานสตรีให้ได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกับแรงงานชายหากทำงานที่มีค่าเท่าเทียมกัน ตลอดจนดูแลแรงงานสตรีที่มีครรภ์ โดยเพิ่มจำนวนวันลาคลอดเพื่อให้ครอบคลุมช่วงการตรวจครรภ์ด้วย

นายวิวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับบทบัญญัติบางประการ อาทิ การเพิ่มสิทธิค่าชดเชย 400 วัน ให้ลูกจ้างที่อายุงาน 20 ปีขึ้นไป และถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด อาจจะเป็นการเพิ่มภาระให้นายจ้างบ้างแต่เป็นหลักการที่ให้ความสำคัญกับการดูแลลูกจ้างที่ทำงานมายาวนาน มีอายุมาก หากถูกเลิกจ้างหรือเกษียณอายุตามข้อบังคับของนายจ้างให้สามารถดำรงชีพได้ภายหลังจากออกจากงานไปแล้วและอาจหางานใหม่ได้ยาก อย่างไรก็ตามหลังจากที่พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาและก่อนที่กฎหมายฉบับแก้ไขนี้จะมีผลลบังคับใช้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะได้เร่งสร้างความเข้าใจแก่นายจ้างและลูกจ้างทั่วประเทศทั้งในส่วนของหลักการและเหตุผลของกฎหมาย และแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้มีการปรับปรุงเพื่อให้นายจ้าง ลูกจ้างสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องภายใต้ความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า