SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ขนส่งฯกำชับหลังเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดจากคนขับ ซึ่งอ้างว่ามีโรคประจำตัวยังคงมีให้เห็น เเละเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่หลายคนอยากจะให้ยกระดับมาตรฐานการทำใบขับขี่ ไม่ใช่เเค่คนที่มีสภาวะโรคลมชัก โรคบ้าหมู ที่ต้องเข้มงวด ซึ่งคนที่สูงอายุก็อาจต้องมีการทบทวนหรือตรวจโรคซ้ำด้วย

วันที่ 8 ธ.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการขนส่งทางบก อยู่ระหว่างการศึกษา เเละเป็นไปได้ว่าคนที่สูงอายุขึ้น อาจจะต้องมีการทดสอบปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกายเเละตรวจโรคเพิ่มด้วย เป็นส่วนหนึ่งของการรื้อระบบการทำใบขับขี่ใหม่ ในภาพรวมก็นำเทคโนโลยี มาปรับใช้มากขึ้น เข้มงวดเรื่องโรคประจำตัว เเละผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ต้องทดสอบเเละอัพเดทความเเข็งเเรงของร่างกายด้วย ซึ่งผู้ที่มีอายุบางคนยอมรับว่าเมื่อเเก่ตัวลงร่างกายจะตอบสนองช้า ซึ่งก็พร้อมเเละเห็นด้วยที่จะต้องทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

แม้จะมีใบขับขี่ตลอดชีพ แต่นางกาญจนา ขาวอุปถัมภ์ อายุ 68 ปี เป็นคนหนึ่ง ที่เห็นด้วยว่า หากอายุมากขึ้นควรจะต้องทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายใหม่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ที่อาจจะเกิดจากการใช้รถใช้ถนน

ขณะที่บางส่วน เห็นด้วยกับการทดสอบร่างกายซ้ำ ซึ่งก็มีบางคนที่ยอมรับว่าอายุมากขึ้นมีผลต่อการขับขี่รถ โดยเฉพาะสายตา ที่เป็นอุปสรรคในการมองเห็น เขาจึงเลือกจะขับขี่ ในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น

กรมการขนส่งทางบก อยู่ระหว่างร่วมมือกับ แพทยสภา ปรับปรุงกฎกระทรวงเพื่อกำหนดแบบในใบรับรองเเพท ย์ที่จะนำมาทำใบขับขี่ หรือต่อใบขับขี่ใหม่โดยจะกำหนด โรคลมชัก เเละ ลมบ้าหมู ลงไปด้วย รวมทั้งศึกษาแนวทางการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายของผู้ที่มีอายุมากขึ้นโดยจะศึกษาหลักเกณฑ์ของต่างประเทศและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับไทย เเต่ยืนยัน ยังคงสิทธิ์ ของผู้ที่มีใบขับขี่ตลอดชีพไว้เช่นเดิม

ในภาพรวมของการทำใบขับขี่ กรมการขนส่งทางบก ได้นำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับการสอบใบขับขี่ แทนการตัดสินด้วยทัศนคติ ทั้งการสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบความเเม่นยำ ของการสอบขับด้วยเซนเซอร์ เพื่อลดความผิดพลาด เเละเพิ่มประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน มีใบขับขี่ทั่วประเทศกว่า 31 ล้านใบ แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 4.ล้าน7เเสนใบ ส่วนภูมิภาค 25.ล้าน 4 หมื่นใบ ในจำนวนนี้เป็นตลอดชีพ 12 ล้านใบ มีส่วนบุคคล 6.1 ล้านใบ จักรยานยนต์ 5.9 ล้านใบ และรถยนต์ สามล้อ 4,621 ใบ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า