SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก Pixabay

ในชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน ย่อมมีกิจกรรมและการทำงานที่แตกต่างกันไป

หลายท่านดำเนินชีวิตแบบรูทีนเป็นไปตามนาฬิกาชีวิตที่เหมาะสม คือตื่นเช้าไปทำงาน เลิกงานตอนเย็น และอาจมีนัดทานข้าวหรือแฮงก์เอาต์กับกลุ่มเพื่อน บ้างออกกำลังกายสักหน่อยก่อนกลับบ้าน และนอนในช่วงก่อนเข้าวันใหม่

แต่อีกหลายๆ ท่านก็มีรูปแบบชีวิตที่ฝืนธรรมชาติ อย่างการทำงานดึกนอนเช้า รวมทั้งการทำงานภายใต้ความกดดันจนเกิดความเครียด แม้กระทั่งการบริโภคอาหารตามใจปากโดยไม่ใส่ใจสุขภาพ จนนำมาซึ่งปัญหาการขับถ่ายไม่เป็นเวลา ที่ดูแล้วอาจจะเป็นปัญหาเล็กๆ ที่เกิดขึ้นในห้องส้วม แต่แท้จริงมันไม่ใช่เรื่องขี้ๆ เลยนะ

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงสอบถามไปยังคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งก็ได้ฝากคำแนะนำดีๆ สำหรับการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม ไม่ต้องทนทุกข์กับปัญหาท้องผูกจนต้องออกแรงสุดกำลังอีกต่อไป

ร.ท.นพ.ชญานนท์ ใจเอื้อ แพทย์ประจำโรงพยาบาลกองบิน 21 จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ผลเสียจากการไม่ขับถ่ายนั้น ส่งผลให้ลำไส้ยิ่งดูดซึมน้ำในอุจจาระมากขึ้น ทำให้อุจจาระมีความแข็งมาก อาจไปขูดกับผนังลำไส้จนมีเลือดออกได้

อุจจาระที่แข็งจะทำให้เรายิ่งขับถ่ายยากขึ้นจนต้องออกแรงเบ่ง ซึ่งจะส่งผลให้เส้นเลือดบริเวณทวารหนักโป่งพอง และเกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารนั่นเอง

นอกจากนี้ คุณหมอยังเปิดเผยว่า มีความเชื่อว่าถ้าอุจจาระอยู่ในท้องนานๆ สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้อีกด้วย แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดขนาดนั้น

ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการขับถ่ายไม่เป็นเวลา จนนำมาซึ่งการขับถ่ายยาก คุณหมอกล่าวว่าเป็นเพราะไม่ได้ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาตั้งแต่แรก รวมถึงการดื่มน้ำน้อยและทานอาหารประเภทไฟเบอร์ เช่น ผัก ผลไม้ ต่ำจนเกินไป หรือไม่ทานเลย

ภาพจาก Pixabay

ส่วนการป้องกันปัญหาการขับถ่ายไม่เป็นเวลาก็คือ การฝึกตัวเองให้ขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน ดื่มน้ำสะอาดและทานผักผลไม้มากๆ ยกตัวอย่างตัวคุณหมอเอง ทำงานไม่เป็นเวลา ซึ่งก็เสี่ยงกับปัญหานี้โดยตรง แต่ก็พยายามเข้าห้องน้ำ ขับถ่ายในช่วง 7 โมงเช้าของทุกวัน

“ส่วนตัวหากไม่ขับถ่ายตามเวลา แต่เมื่อปวดท้องขึ้นมาก็ต้องถ่ายอยู่ดี แต่ลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน เพราะบางรายก็ไม่ถ่ายเลยหากผิดช่วงเวลาไปแล้ว ดังนั้น แนะนำว่าควรขับถ่ายให้เป็นเวลา ของอย่างนี้ต้องฝึกให้ชิน แล้วจะดีสำหรับตัวเอง”

คุณหมอเสริมว่า ปัญหาการขับถ่ายยากเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย โดยขึ้นอยู่กับอุปนิสัยของแต่ละคน แต่การขับถ่ายยากในผู้สูงอายุ อาจเกิดขึ้นได้จากโรคที่ทำให้ขับถ่ายลำบาก

 

 

(ภาพปกจากเว็บไซต์ โรงพยาบาลสมิติเวช)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า