SHARE

คัดลอกแล้ว

https://youtube.com/watch?v=2oH4YAf75Rw

 

สืบเนื่องจากข่าว กรรมการปฏิรูปตำรวจ ชงเพิ่มเงินเดือนตำรวจ เพื่อหวังป้องกันการรีดไถ- รับส่วย โดยมีเหตุผลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันนี้ตำรวจได้รับค่าตอบแทนที่ยังไม่เหมาะสม จึงเสนอให้เพิ่มเงินเดือนโดยเฉพาะกับตำรวจสายปราบปราม

โดยตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 กำหนดระดับเงินเดือน

  • ข้าราชการตำรวจชั้นยศต่ำกว่าจ่าสิบตำรวจ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.1 ในอัตรา 4,870-21,480 บาท โดยทั่วไปการเริ่มต้นชีวิตตำรวจชั้นประทวน หลังสำเร็จการฝึกแล้ว ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับยศสิบตำรวจตรี โดยจะถูกส่งไปประจำตามหน่วยต่างๆ ด้วยเงินเดือน ป.1 ขั้น 8.5 หรือ 6,970 บาท
  • ยศ “จ่าสิบตำรวจ” “จ่าสิบตำรวจ (พิเศษ)” ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.2 ในอัตราเริ่มต้นที่ 7,140 บาท สิ้นสุดเพดานเงินเดือนที่ 29,690 บาท
  • ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ได้แก่ ข้าราชการตำรวจยศ “ดาบตำรวจ” ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.3 โดยเริ่มต้นที่ 10,350 บาท ไปสิ้นสุดที่ 38,750 บาท

 

สำหรับตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร ผู้ที่มียศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ได้แก่  ร้อยตํารวจเอก ร้อยตํารวจโท และร้อยตํารวจตรี จะได้รับเงินเดือนในระดับ ส.1 ในอัตราเริ่มต้น 6,470 – 38,750 บาท

  • พันตํารวจตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.2  13,160 – 38,750 บาท
  • พันตํารวจโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.3 16,190 – 54,820 บาท
  • พันตํารวจเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.4 19,860 – 58,390 บาท
  • พันตํารวจเอก อัตราเงินเดือนพันตํารวจเอก (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.5  24,400 – 69,040 บาท

 

จากเงินเดือนต่ำสุดของ ยศต่ำกว่าจ่าสิบตำรวจ ไปจนถึงเงินเดือนสูงสุดของ ยศพันตํารวจเอก อัตราเงินเดือนพันตํารวจเอก (พิเศษ) หากคิดเป็นรายวัน หาร 30 วัน เงินที่จะได้รายวันต่ำสุด คือ 162 บาท ส่วนสูงสุดคือ วันละ 2,301 บาท

แต่ที่เห็นยังไม่ใช่รายได้สุทธิ เพราะยังมีค่าตำแหน่ง ประมาณ 3,000 บาท ขึ้นไป ในสายงานปราบปราม/สืบสวน/จราจร  เงินรางวัลค่าปรับ สูงสุด 10,000 บาทต่อเดือน (เฉพาะสายงานจราจร) เบี้ยเลี้ยง ค่ารางวัลนำจับ อีกด้วย ซึ่งเฉลี่ยแล้ว รายได้ตำรวจชั้นประทวน จะอยู่ที่ 25,000 ต่อเดือน รายได้ตำรวจชั้นสัญญาบัตร อยู่ที่ 46,000 ต่อเดือน

แล้วเงินเท่านี้ ทำงานกันวันละกี่ชั่วโมง โดยทั่วไป ตำรวจ ทำงานคล้ายโรงพยาบาล หรือ ร้านสะดวกซื้อ ที่เปิด 24 ชั่วโมง  มีการแบ่งเวร แบ่งวันหยุด ทำงานกันวันละ 8 – 24 ชั่วโมง หากแบ่งออกเป็น 2 – 3 กะ ก็จะมาทำงานทุกวัน แต่หากลากยาว 24 ชั่วโมง ในวันถัดไปมักจะเป็นวันหยุด สลับมาทำงานแบบวันเว้นวัน แล้วแต่ที่แต่ละโรงพักจะจัดสรรเนื่องจากจำนวน ตำรวจในแต่ละท้องถิ่นมีไม่เท่ากัน แต่ในทุก ๆ วัน จะมีนายตำรวจประจำอยู่แทบทุกสายงาน อาทิ ตำรวจเวรสอบสวน, ออกตรวจพื้นที่, ร้อยเวรประจำการ, ตำรวจชั้นผู้ใหญ่

ตามความเห็นของนายมานิจ สุขสมจิตร ประธานอนุกรรมการด้านการสื่อสารกับสังคมในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ)  มีการอ้างถึงความเสี่ยงที่ตำรวจมีมากกว่าข้าราชการทั่วไป 13-22 เท่า จึงต้องให้ ค่าตอบแทนมากกว่า จึงเสนอให้เพิ่มเงินเดือนโดยเฉพาะกับตำรวจสายปราบปราม  โดยใน ชั้นประทวน ให้เพิ่มเงินอีก 4,300-5,000 บาท โดยเป็นค่า เงินเดือนแรกบรรจุ  9,330 บาท  เงินค่าครองชีพชั่วคราว 2,000 บาท เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง 4,300 – 5,000 บาท รวมรายได้เดือนละ 15,630 – 16,330 บาท

และในชั้นสัญญาบัตร 18,500-21,500 บาท เงินเดือนแรกบรรจุ 15,290 บาท

เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง 18,500 – 21,500 บาท  รวมรายได้เดือนละ 33,790 – 36,790 บาท

ทำให้ผู้ที่จบจากโรงเรียนนายสิบจะได้เงินเดือนเริ่มต้นระหว่าง 15,630-16,330 บาท และผู้ที่จบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะได้เงินเดือนเริ่มต้นที่ 33,790-36,790 บาท

นอกจากนี้ยังจะมีการเพิ่ม ค่าทำสำนวน (เงินค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญา) ให้มากขึ้นกว่าเดิมอีก 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะอัตราเดิมเป็นอัตราเก่าที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2534 และให้ทบทวนอัตราค่าตอบแทนทั้งหมดทุก ๆ 5 ปี

โดยจะถูกจ่ายตามกรณีดังต่อไปนี้

  1. การสอบสวนคดีอาญาประเภทที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิดไม่เกินคดีละ 500 บาท
  2. ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี เสนอให้จ่ายไม่เกินคดีละ 1,000 บาท (ขณะนี้จ่ายไม่เกินคดีละ 500 บาท)
  3. ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุก 3-10 ปีเสนอให้จ่ายไม่เกินคดีละ 2,000บาท (ขณะนี้จ่ายไม่เกินคดีละ 1,000 บาท)
  4. ความผิดที่มีอัตราโทษจำคุก 10 ปี ขึ้นไป เสนอให้จ่ายไม่กินคดีละ 3,000 บาท (ขณะนี้จ่ายไม่เกินคดีละ 1,500 บาท)

เหตุผลในการเสนอขอปรับอัตราค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญาดังกล่าวก็เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

การเสนอขึ้นเงินเดือนตำรวจ พยายามผลักดันมาหลายยุคหลายสมัย แต่ก็ไม่เคยสำเร็จ โดยแทบทุกครั้ง ก็มีเหตุผลที่ว่า จะช่วยลดการรีดไถของตำรวจ เข้ามาพ่วงด้วย

นายยู เจียรยืนยงพงศ์ ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เคยให้ความเห็นไว้ตั้งแต่ปี 2556 ว่า จากแนวคิดการปรับขึ้นเงินเดือนตำรวจจราจร ตามค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้น ส่วนตัวเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะกับตำรวจชั้นผู้น้อย ส่วนแนวคิดเรื่องที่เป็นการลดปัญหาส่วยนั้น คงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากการเรียกเก็บส่วยไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินเดือน แต่ขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชาการมากกว่า

เช่นเดียวกับนายณัชพล สุพัฒนะ (มาร์ค พิทบูล) ประธานชมรมมิตรภาพพิทบูล เคยให้ความคิดเห็นไว้ว่า ตนก็เห็นด้วยกับการเพิ่มสวัสดิการให้กับตำรวจชั้นผู้น้อย เพราะส่วนมากอยู่อย่างลำบาก แต่เมื่อพูดถึงเรื่องการขึ้นเงินเดือนจะแก้ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น มันขึ้นอยู่กับการปลูกจิตสำนึก เพราะตำรวจยังหลงลืมบทบาทหน้าที่ตัวเองว่าคืออะไร

การเพิ่มสวัสดิการให้ตำรวจนั้น ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ทั้งนี่ก็ไม่สามารถมีอะไรมารับประกันได้ว่า เมื่อขึ้นเงินเดือนแล้ว การรับส่วย หรือ รีดไถ จะหมดไป จึงยังทำให้เกิดข้อขัดแย้ง และการไม่เห็นด้วยจากประชาชน ซึ่งอาจจะทำให้ข้อเสนอดังกล่าว ไม่สามารถเป็นจริงได้อีกครั้ง เหมือนกับที่ผ่านมา

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า