SHARE

คัดลอกแล้ว

ในยุคที่ดิจิทัลเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐทั่วโลกต่างมุ่งสู่การเป็น “รัฐบาลดิจิทัล” (Digital Government) และ “ภาครัฐระบบเปิด” (Open Government) ด้วยเป้าหมายหลักเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และนำพาประเทศสู่อนาคตที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ จึงให้ความสำคัญกับการพลิกโฉมราชการไทยสู่ “รัฐบาลที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้” (Trusted Government) ผ่านกลยุทธ์ Digital and Open Government

ภาครัฐระบบเปิด (Open Government): แนวโน้มโลกและภาพรวมประเทศไทย

ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสู่การเป็นภาครัฐระบบเปิด โดยอ้างอิงจากดัชนีความโปร่งใส Open Government Index (OGI) ของ The World Justice Project (WJP) พบว่า ในปี 2023 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 77 จาก 142 ประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐไทยในการเปิดเผยข้อมูลและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

ผลของการเป็นภาครัฐระบบเปิดจะทำให้ความต้องการของประชาชนได้รับการตอบสนองอย่างแท้จริง ซึ่งเกิดจากการที่ภาครัฐเปิดเวทีให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบบริการสาธารณะ และการพัฒนางานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภาครัฐต่อสาธารณะในรูปแบบดิจิทัลให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายที่จะนำไปสู่การสร้างความโปร่งใสในราชการ ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้พัฒนารูปแบบระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem: OG & MP) ที่มี 8 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ การสนับสนุนนโยบายและกฎหมายที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ต่างประเทศ การกระตุ้น จูงใจ ให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลและพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน การส่งเสริมองค์ความรู้ การสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเข้าถึงข้อมูลและการมีส่วนร่วมได้อย่างเสรี รวมถึงการสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมในการเปิดเผยข้อมูล และเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วม โดยให้มีการร่วมติดตามประเมินผลจากภาคีเครือข่าย

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีกฎหมายและนโยบายที่สนับสนุนการให้ภาครัฐเปิดข้อมูล ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ บนแพลตฟอร์มกลางในการเผยแพร่ข้อมูลเปิดภาครัฐ ภายใต้ชื่อ “ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ” หรือ Open Government Data of Thailand บนเว็บไซต์ data.go.th ที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พัฒนาขึ้น ปัจจุบันมีชุดข้อมูลเปิดแล้วกว่า 12,000 ชุดข้อมูล

อะไรคือข้อมูลเปิดภาครัฐ?

ข้อมูลเปิดภาครัฐ หมายถึง ข้อมูลที่หน่วยงานภาครัฐรวบรวมขึ้นมาเปิดเผยต่อสาธารณะในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย นำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่จำกัดวัตถุประสงค์ ซึ่งข้อมูลเปิดนี้จะมีส่วนช่วย

      • ส่งเสริมความโปร่งใส: ข้อมูลเปิดภาครัฐช่วยให้ประชาชนตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ และสร้างความเชื่อมั่น
      • กระตุ้นการมีส่วนร่วม: ประชาชนสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ พัฒนาต่อยอด และร่วมคิดร่วมแก้ปัญหา
      • ขับเคลื่อนการพัฒนา: ข้อมูลเปิดภาครัฐเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน พัฒนา และบริหารจัดการประเทศ

ตัวอย่างการใช้ข้อมูลเปิดภาครัฐกับแผนงานปราบฝุ่น PM2.5: บูรณาการข้อมูล สู่ท้องฟ้าใสไร้พิษภัย

มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลและบูรณาการฐานข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหา เพราะจะทำให้เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การวิเคราะห์และตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและถูกต้อง สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เปิดเผยข้อมูลและเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้มีการพัฒนา “ต้นแบบแพลตฟอร์มกลางในการแก้ไขปัญหา PM 2.5” ขึ้นมาเป็นเครื่องมือต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ เปรียบเสมือน Virtual War Room เชื่อมโยงฐานข้อมูล เช่น ค่าฝุ่น PM2.5 พื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก สถานการณ์การเผาของประเทศเพื่อนบ้าน จุดความร้อน สภาพอากาศทิศทางลม สถานที่เสี่ยงในพื้นที่ เช่น พื้นที่ภาคการเกษตร พื้นที่ภาคอุตสาหกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ป่าสงวน สถานที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า ข้อมูลจากภาคเอกชน ได้แก่ พื้นที่ปลูกอ้อยที่ใช้แรงงานตัดและรถตัด ฯลฯ

ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ทุกภาคส่วนสามารถ:

      • ติดตาม เฝ้าระวัง และป้องกันเหตุ ไฟป่า แหล่งกำเนิด PM2.5
      • ตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และตรงจุด
      • มีส่วนร่วม เสนอแนะ และร่วมแก้ไขปัญหา PM2.5 อย่างยั่งยืน
      • แจ้งเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ช่วยลดการเผาในพื้นที่

เพื่อขับเคลื่อนการเป็นภาครัฐระบบเปิดให้มากขึ้น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีการเปิดพื้นที่ให้ภาคเอกชนและภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสม สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน บูรณาการการทำงานข้ามหน่วยงานและข้ามพื้นที่ ปลดล็อกประเด็นปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดที่สำคัญ และสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ร่วมกับภาคเอกชน โดยการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในการเฝ้าระวัง ดูแลรักษาป่าไม้ไม่ให้เกิดไฟไหม้ ปรับเปลี่ยนอาชีพและแนวทางการผลิต สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปลูกป่า จัดทำแนวกันไฟ และลาดตระเวน เป็นต้น

นอกจากการพัฒนาข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสแล้ว ความร่วมมือของทุกภาคส่วน  จะเป็นพลังสำคัญในการช่วยกันดูแลและหาทางออกของปัญหาต่าง ๆ ในสังคมตามบทบาท ได้แก่

ภาคประชาชน:

      • เฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากอันตรายของฝุ่นละออง
      • มีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา
      • แจ้งเหตุการณ์เผาไหม้ มลพิษทางอากาศอื่น ๆ

หน่วยงานภาครัฐ:

      • วิเคราะห์สถานการณ์ วางแผนแก้ไขปัญหา
      • บูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วน
      • ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
      • สื่อสารข้อมูล สร้างการรับรู้แก่ประชาชน

ภาคเอกชน:

      • พัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี แก้ไขปัญหา PM2.5
      • พัฒนาธุรกิจ บริการ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
      • มีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการต่าง ๆ

ทุกพลังความร่วมมือ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ชนะมลพิษทางอากาศ คืนท้องฟ้าใสไร้พิษภัยให้กับคนไทยแต่ยังทำให้เกิดการพัฒนาอนาคตประเทศที่ตอบโจทย์ความต้องการของทุกคนได้

รับชมแนวคิดเกี่ยวกับ Open Government ได้ที่ https://youtu.be/NRqqoKc0Rys

#OPDC #Opengovthailand #OpengovernmentandMeaningfulParticipation #OGandMP

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า