SHARE

คัดลอกแล้ว

คกก.ควบคุมยาเสพติดให้โทษไฟเขียวกฎหมายนริโทษผู้ครอบครองกัญชา เตรียมชงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคาดประกาศใช้ได้สัปดาห์หน้า พร้อมประชุมทางไกลชี้แจงแนวทางปฏิบัติการรับแจ้งครอบครองให้ สสจ. ทั่วประเทศรับทราบ

วันที่ 23 ก.พ.2562 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เลขานุการคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ได้เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษโดยมีผู้แทนจากกรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมอนามัย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อัยการสูงสุด กรมศุลกากร เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการ ป.ป.ส. กระทรวงกลาโหม และผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการชุดใหม่ที่เพิ่มอีก 8 ท่าน ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างประกาศนิรโทษผู้ครอบครองกัญชาทั้ง 3 ฉบับ โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ได้มีการประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา

ประกาศ 3 ฉบับจะครอบคลุมบุคคล 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้มีคุณสมบัติตามกฎหมายใหม่ 2.ผู้ป่วยที่มีใบรับรองจากแพทย์ว่ามีอาการเจ็บป่วยจะอนุญาตให้ใช้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการรักษาโรคเท่านั้น และ 3.บุคคลอื่นๆ ทั้ง 3 กลุ่มนี้จะต้องมาแจ้งการครอบครองภายใน 90 วัน หลังจากที่ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มีผลใช้บังคับ คือจะต้องมาแจ้งการครอบครองภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2562 โดยคณะกรรมการจะส่งร่างฯ ทั้ง 3 ฉบับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม และคาดว่าน่าจะลงราชกิจจานุเบกษาได้ภายในสัปดาห์หน้า

ในส่วนของการปรับแก้เพิ่มเติมคือ เพิ่มบทบัญญัติให้ผู้สนใจนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ เช่น ในการศึกษาวิจัย ดังนั้นนอกจากจะมีการตั้งคณะกรรมการทำลายกัญชาแล้ว ให้ อย.หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เสนอคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษพิจารณาให้ความเห็นชอบในการใช้ประโยชน์ด้วย นอกจากนี้ในส่วนของผู้ป่วยก็มีการแก้ไข เดิมให้ผู้ป่วยแจ้งการครอบครองเฉพาะตำรับกัญชาสำเร็จรูปได้เท่านั้น แต่มีการแก้ไขให้แจ้งการครอบครองรวมกัญชาในลักษณะอื่นที่มีการใช้ในการรักษาโรคเพราะยังมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้

ทั้งนี้ ผู้ป่วยดังกล่าวต้องมีใบรับรองแสดงการเจ็บป่วยจากแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทยหรือแผนไทยประยุกต์ รวมถึงกลุ่มหมอพื้นบ้านที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้การรับรอง

เลขาธิการฯ กล่าวถึงการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจร่างประกาศนิรโทษและการแจ้งครอบครองกัญชาตามประกาศโดยกรุงเทพฯ แจ้งที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ OSSC) สำหรับส่วนภูมิภาคแจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งแนวทางปฏิบัติของจังหวัด คือ 1. รับแจ้ง 2. เก็บรักษา 3. ทำลายหรือใช้ประโยชน์ และ 4.รายงาน พร้อมจะต้องมีการตั้งหน่วยที่รับแจ้งและคณะกรรมการเก็บรักษาฯด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า