Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก newsone.gr

 ประเด็นคือ – กิจกรรมอบรมให้ความรู้มุ่งสู่ Ending AIDS พบ ปี 2561 คาดว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ยังมีชีวิตอยู่สะสม จำนวน 77,034 คน

วันที่ 24 ม.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดโครงการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานด้านเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กิจกรรม: อบรมให้ความรู้มุ่งสู่ Ending AIDS เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานด้านเอดส์ในกลุ่มประชากรหลักที่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ยุติปัญหาเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2560 – 2573 และเพิ่มองค์ความรู้ด้านเอดส์ให้บุคลากรกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานด้านเอดส์ จำนวน 70 คน ประกอบด้วย เจ้าพนักงานสาธารณสุข และนักวิชาการสุขาภิบาล จาก 50 เขต ครูแกนนำด้านเอดส์จาก 6 โรงเรียน และพยาบาลจาก 6 ศูนย์บริการสาธารณสุขภาพ

ทั้งนี้ จากการคาดประมาณสถานการณ์การแพร่ระบาดของ HIV/AIDS ปี 2561 ในพื้นที่กรุงเทพฯ คาดว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่สะสม จำนวน 77,034 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ จำนวน 2,086 คน ในจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี จำนวน 1,151 คน (คิดเป็นร้อยละ 55.2) และมีผู้เสียชีวิตภายในปี 2561 จำนวน 3,022 คน

ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (NAP Program) ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า มีผู้ที่ทราบสถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวี และมีชีวิตอยู่ จำนวน 67,087 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับยาต้านไวรัสและมีชีวิตอยู่ จำนวน 37,627 คน และมีผลตรวจพบว่า มีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดน้อยกว่า 1,000 copies/ml จำนวน 28,700 คน

ผลการเฝ้าระวังความชุกการติดเชื้อเอชไอวี ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2560 พบว่า กลุ่มพนักงานบริการทางเพศหญิงในสถานที่สาธารณะ (FSW – Nonvenue) ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 2.8 พนักงานบริการทางเพศหญิงในสถานบริการ (FSW – Venue) ร้อยละ 0.6 กลุ่มชายที่มาตรวจรักษากามโรค (MSTD) ร้อยละ 5.8 และกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด (PWID) ร้อยละ 11.0 ในขณะที่การติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ (ANC) ตัวแทนของกลุ่มประชากรทั่วไปมีความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 0.7

นางวันทนีย์ กล่าวว่า นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งสำนักงานเขต สำนักการศึกษา สำนักอนามัย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน

จากการติดตามสถานการณ์ปัญหาเอดส์ รวมถึงบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลง พบว่า กลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ HIV ได้แก่ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มพนักงานบริการ กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด และกลุ่มเด็กและเยาวชน

นอกจากนี้ ด้านการแก้ไขปัญหาเอดส์พบว่า ผู้ติดเชื้อเอดส์เข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สถานพยาบาลหลายแห่งที่มีอยู่ต้องรับภาระการให้บริการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ที่จะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องอาศัยการผนึกกำลัง และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อีกทั้งจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับนโยบายและการจัดการแผนงาน สถานการณ์ ปัญหา รวมถึงวิวัฒนาการความก้าวหน้าด้านการพัฒนาด้าน HIV ในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับการมุ่งสู่การยุติปัญหาเอดส์ (Ending AIDS) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการทำงานและเกิดการบูรณาการงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานด้านเอดส์ และช่วยหนุนเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งด้านทรัพยากร องค์ความรู้ ผลักดันเชิงนโยบาย ส่งผลให้ประชาชนของกรุงเทพมหานครได้รับประโยชน์สูงสุด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า