SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาพอากาศหน้าร้อนในหลายประเทศทั่วโลกปีนี้ อุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ กระทบชีวิตประจำวัน และผลผลิตทางการเกษตร ขณะที่ญี่ปุ่น หลังจากเจอกับอุทกภัยครั้งรุนแรง เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ก็ยังต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 100 คน

สำนักข่าวเอ็นเอชเค รายงานว่า ปีนี้ ญี่ปุ่น เผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดเป็นประวัติการณ์ โดยสถิติสูงสุด คือเมื่อวันที่ 23 ก.ค.อุณหภูมิไปแตะที่ 41.1 องศาเซสเซียส ถือเป็นอากาศร้อนสูงสุดของปีนี้ โดยในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกว่า 50,000 คน เป็น 2 เท่าของปีที่แล้ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดด ของเดือนที่แล้วอยู่ที่ 119 คน ในจำนวนนี้มีผู้ที่อายุมากถึง 84 ปี และโดยส่วนใหญ่แล้ว คือ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ

ทั้งนี้ อุณหภูมิในประเทศญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้น หลังจากเกิดฝนตกหนัก และมีน้ำท่วมครั้งใหญ่ ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา โดยที่จังหวัดกิฟุ เขตภัยพิบัติมีอุณหภูมิล่าสุดที่ประมาณ 40.2 องศาเซสเซียส ขณะที่โตเกียว อุณหภูมิอยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส

ภาพจาก @WON_Weather

ที่ ประเทศเกาหลีใต้ มีรายงานผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนแล้วอย่างน้อย 29 คน อุณหภูมิในกรุงโซล พุ่งสูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียสนับเป็นอากาศที่ร้อนจัดในรอบกว่า 100 ปี ขณะที่จังหวัดคังวอน ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโซลไปประมาณ 63 กิโลเมตร มีอุณหภูมิ สูงถึง 41 องศาเซลเซียส ชาวเกาหลีใต้ จึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีเครื่องปรับอากาศ แทนการเดินซื้อของตลาดสด เช่นเดียวกับที่ ประเทศจีน

ฟากทวีปยุโรป ก็ได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนที่มาจากทวีปแอฟริกา โดยที่เมืองเบจา ตอนใต้ของประเทศโปรตุเกส มีอุณหภูมิขึ้นถึง 47 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับที่เมืองอีโวรา ของประเทศสเปน อุณหภูมิขยับเข้าใกล้ 44 องศาเซสเซียสแล้ว นอกจากนี้ทั้งโปรตุเกส และสเปนต้องเจอกับ “ฝุ่น” จากทะเลทรายซาฮารา

สำนักอุตุนิยมวิทยาอังกฤษคาดการณ์ว่า วันที่ร้อนที่สุดของยุโรปปีนี้ คือวันที่ 4 ส.ค. โดยพื้นที่คาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรป จะมีอุณหภูมิสูงกว่า 48 องศาเซสเซียส ทำลายสถิติที่เคยเกิดขึ้นใน กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อปี 2520

ผู้คนในยุโรปออกมาคลายความร้อน

ขณะที่ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี สมาคมชาวนา คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวสาลีในปีนี้ จะได้ที่ประมาณ 36 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตที่ได้จากปีที่แล้ว ประมาณร้อยละ 20 เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นส่งผลต่อการเติบโตของพืช โดยอุณหภูมิในเยอรมนี เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาสูงที่สุดในรอบ 137 ปี ขณะที่เดือน มิ.ย. และก.ค.ที่ผ่านมายังแห้งแล้งกว่าปกติด้วย

สำนักข่าววีโอเอ เปิดเผยผลการวิจัยโดย Urban Climate Change Research Network ที่มีสำนักงานในนิวยอร์ก ได้ศึกษาข้อมูลจากเมืองต่างๆ มากกว่า 2,500 แห่งเเละพยากรณ์ว่าจะเกิดภัยเเล้งบ่อยขึ้น หากปริมาณแก๊สเรือนกระจกยังเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับปัจจุบัน

การศึกษาพบว่า ปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างที่เกิดในเมืองเคปทาวน์จะพบบ่อยขึ้นกับเมืองใหญ่ 500 แห่งทั่วโลก กระทบต่อคน 650 ล้านคนตั้งเเต่เซา เปาโลไปถึงกรุงเตหะราน ซึ่งจะมีน้ำใช้น้อยลงภายในปี 2050

ขอบคุณภาพ @CBSEveningNews 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า