SHARE

คัดลอกแล้ว

งานวิจัยของสภากาชาดแห่งสหราชอาณาจักรชี้ว่า คนหลายล้านคนทั่วสหราชอาณาจักรกำลังเผชิญหน้ากับความเหงาและความโดดเดี่ยว ไม่มีเพื่อนที่ไว้ใจ
กลุ่มประชากรกว่า 4,000 คน 1 ใน 5 บอกว่าตัวเองไม่มีเพื่อนสนิทด้วยซ้ำ ส่วน 1 ใน 3 ก็ยอมรับว่าตัวเองรู้สึกเหงาอยู่บ่อยครั้ง ไม่รู้จะหันไปทางไหน โดยผลวิจัยชี้ว่ากลุ่มเสี่ยงคือคนรุ่นใหม่ สวนทางกับความเชื่อที่ว่าอาการนี้มักเป็นอาการของคนแก่เท่านั้น

อย่างไรก็ดี นอกจากคนรุ่นใหม่ทั่วไปแล้ว กลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ก็ยังมีผู้เกษียณอายุ ผู้สูญเสียญาติและคนสนิท พ่อแม่มือใหม่ คนที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคต่างๆที่ทำให้ออกจากบ้านได้ยาก

สำนักข่าวบีบีซี สหราชอาณาจักร เคยตีพิมพ์เรื่องราวของเหยื่อของอาการเหงา 2 รายในอังกฤษ

คนแรกคือ เฮเซล เนอเวลล์ ที่เติบโตมาในเบอร์มิงแฮมและลอนดอน ก่อนย้ายมาอยู่ในนอร์ธัมเบอร์แลนด์ตามสามีตอนอายุ 20 และเปิดเผยว่าในช่วงหนึ่งของชีวิต เธอเกิดปัญหาไม่สามารถเข้าสังคมกับใครได้เลย ในตอนนั้นทั้งรู้สึกโดดเดี่ยวและวิตกกังวล จนต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ตัวคนเดียวแบบไม่มีใครคบให้เป็น

เฮเซลบอกว่า ใครๆก็คิดว่าตนดูเป็นมิตร น่าจะหาเพื่อนง่าย แต่จริงๆแล้วเป็นคนเข้าสังคมยาก เนื่องจากตอนเด็ก ๆ ถูกรังหลายรอบ และแตกต่างจากพี่น้องคนอื่น ๆ จึงไม่เคยเรียนรู้ทักษะการปฏิสัมพันธ์จากไหนเลย

เฮเซลเลือกไม่ปรึกษาเรื่องนี้กับสามีเพราะไม่ช่วยอะไรอยู่ดี เธอไม่กล้าเชื่อใจคน พอไม่ได้ใกล้ชิดกับคนที่อยู่รอบ ๆ ตัวตั้งแต่แรกก็ลืมว่าการเป็นตัวของตัวเองนั้นเป็นอย่างไร และวิตกกังวลตลอดเวลาแต่ก็ไม่เคยไปหาหมอเพราะไม่แน่ใจว่านับเป็นอาการป่วยได้หรือไม่

หลังจากอยู่คนเดียวไม่คบกับใครนอกจากสามีมาตลอด 3 ปี ก็ตัดสินใจลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเองเพราะเริ่มตั้งครรภ์ สุดท้ายเธอก็พบว่า การนั่งรอให้มีเพื่อนเข้ามาในชีวิตไม่ช่วยอะไร เธอเองต่างหากต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะเข้าสังคม หลังจากนั้นก็เริ่มหาคนที่มีความสนใจคล้ายกันผ่านทางมูลนิธิท้องถิ่น และตอนนี้เฮเซลก็เลยกลายมาเป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือคนที่รู้ลึกเปล่าเปลี่ยวเดียวดายให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนรอบตัว และแนะนำคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันให้ขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิต่าง ๆ

ส่วนเหยื่ออีกคนหนึ่ง ลูกกลับทำให้เธอเหงายิ่งกว่าเดิม

เหยื่อคนที่สองคือ ซิโมนา วารานูเต เธอย้ายจากลิทัวเนียไปอยู่อังกฤษตอนอายุ 20 ปี ใน 6 เดือนแรกเธอมีความสุขมากเพราะอังกฤษเป็นประเทศแรกที่เธอมาเที่ยวเป็นครั้งแรก โดนทีแรกคิดว่าจะพักผ่อนอยู่อังกฤษแค่ไม่นาน แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจอยู่ยาว

เธอเปิดเผยว่าชอบที่คนอังกฤษยิ้มตลอดเวลา เดินสวนกันก็ทักทาย เพราะในลิธัวเนียไม่มีสิ่งเหล่านี้ แต่สุดท้ายเมื่อผ่านไปครึ่งปี เธอก็ประสบปัญหาหาเพื่อนคบไม่ได้ ประกอบกับความรู้สึกเหว่ว้าเมื่อไกลบ้าน แม้จะมีเพื่อนร่วมที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรดี แต่เธอบอกว่าก็ไม่ได้สนิดใจจนสามารถพูดทุกอย่างที่อยากพูดได้” และเหตุการณ์กลับแย่ลงหลังจากเซบาสเตียน ลูกชายของเธอเกิด

เมื่อลูกชายเกิดเธอตัดสินใจย้ายไปอยู่อาศัยที่เดียวกับคู่ชีวิต แต่ฝ่ายชายทำงานตั้งแต่เช้าจนค่ำ มีเวลาอยู่ร่วมกันแค่ช่วยสุดสัปดาห์ ตัวเธอ้องอยู่ในบ้านตลอดเวลากับลูก แม้จะมีความสุข แต่ก็อึดอัดที่ต้องอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม กอปรกับอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ไม่มีเพื่อนหรือครอบครัว สุขภาพจิตเธอจึงแย่ลง

สุดท้ายซิโมนาก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ทางออกผ่านการช่วยเหลือของมูลนิธิ ที่ช่วยแนะนำให้เธอรู้จักกับคนอื่น ๆ และออกจากบ้าน ไปสวนสาธารณะ ร้านกาแฟ พิพิทธภัณฑ์ เจ็ดปีหลังจากนั้นเธอก็ยังพยายามเรียนรู้ตัวเอง แต่ก็แนะนำคนที่ประสบปัญหาคล้าย ๆ กันว่าอย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือเหมือนที่ตนเคยกลัว เพราะเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าเราไร้ความสามารถ ใคร ๆ ก็เริ่มต้นใหม่ได้ทั้งนั้น

งานวิจัยนี้ยืนยันว่าปัญหาความเหงาเป็นเรื่องใหญ่ของประชาชนสหราชอาณาจักร สภากาชาดถึงกับต้องมีสายด่วนคนเหงาเพื่อช่วยให้เข้าสังคมได้อย่างทันท่วงที

อ่านานวิจัยเต็ม ๆ ได้ที่ https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&ved=2ahUKEwiG9qnC3PbeAhVFr48KHdUuDDUQFjAAegQIChAC&url=https%3A%2F%2Fwww.redcross.org.uk%2F-%2Fmedia%2Fdocuments%2Fabout-us%2Fresearch-publications%2Fhealth-social-care-and-support%2Fco-op-isolation-loneliness-overview.pdf&usg=AOvVaw1bXmhUCABlbGhVX6rSfbQ7

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า