SHARE

คัดลอกแล้ว

 

คุกคามทางเพศ หรือ ล่วงละเมิดทางเพศ เป็นคำที่ไม่ว่าใครได้ยินก็คงเข้าใจได้ไม่ยากจริงหรือ?

แท้จริงแล้วสำนึกเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อาจไม่ใช่สำนึกที่สามัญนักสำหรับสังคมของเรา นั่นก็เพราะเราจะเห็นเหยื่อผู้ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดมักจะตกเป็นผู้ที่ถูกสังคมตั้งคำถามอยู่เสมอ แทนที่จะเป็นฝ่ายผู้กระทำ และการที่หาหลักฐานมาพิสูจน์ได้ยากส่งผลให้ผู้กระทำลอยนวลอยู่ร่ำไป หรือต่อให้มีทั้งหลักฐานและพยานชัดเจนเป็นที่ประจักษ์ กระบวนการไต่สวนตรวจสอบก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องเหยื่อแต่อย่างใด ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าสังคมไทย “ยังไม่เข้าใจ” เกี่ยวกับการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศมากเพียงพอ เป็นผลให้กฎหมายหรือมาตรการใด ๆ ที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นได้แค่เสือในกระดาษ

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ขอพาทุกท่านมารับฟังเรื่องนี้ผ่านมุมมองและประสบการณ์ของวิทยากรจากงานเสวนา การคุกคามทางเพศไม่ใช่เรื่องส่วนตัว: รัฐกับการคุ้มครองผู้เสีียหายและอำนวยความยุติธรรม” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา

 

นิยาม “การข่มขืน” และ “การคุกคามทางเพศ” ตามกฎหมาย(ใหม่)

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีการแก้กฎหมายอาญามาตราเกี่ยวกับความผิดทางเพศตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึงนิยามของ การข่มขืน/กระทำชำเรา ให้เป็น “การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำ กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือช่องปากของผู้อื่น” ซึ่งทำให้มีความหมายและการคุ้มครองเหยื่อผู้ถูกทำร้ายที่กว้างขึ้น อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางนักในสังคมไทย

 

นอกจากนี้ การคุกคามทางเพศ/ลวนลามทางเพศ (Sexual Harassment) ก็ได้ถูกบัญญัติความหมายให้ชัดเจนขึ้นเช่นกัน อ้างอิงจาก กฎก.พ.ว่าด้วยการกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ. 2553 รวมถึงมาตรการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งได้กำหนดเส้นแบ่งของ การกระทำด้วยความเสน่หาต่อกัน กับ การคุกคาม ไว้ที่ “ผู้ถูกกระทำยินยอมหรือไม่” ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมทางกฎหมายที่สำคัญ อันมีที่มาที่ไปดังที่ สมร ศรีสิริ จากกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพม. ได้กล่าว

 

กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่คำนึงถึงหรือให้ความสำคัญกับการตัดสินใจของผู้ถูกกระทำ ในการตัดสินว่าผิดหรือถูก ใช่หรือไม่ใช่ ทั้งนี้เนื่องจากเราเห็นปัญหามาตั้งแต่ปี 2549 แล้วเราก็ทำงานวิจัยกันมา ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในที่ทำงานโดยเฉพาะในส่วนราชการ โดยใช้แนวคิดที่เราคำนึงถึงอยู่นั่นคือแนวคิดด้านความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นตัวงานมันจึงออกมาโดยให้ผู้ถูกกระทำเป็นศูนย์กลางของปัญหา ดังนั้นตัวมาตรการหรือตัวกฎหมายทั้งหลายที่ออกมาจะมีผู้ถูกกระทำเป็นศูนย์กลาง อันนี้เป็นที่มา”

 

แต่กฎหมายเป็นได้แค่เสือกระดาษ และ ระบบไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีระเบียบ

ปัจจัยที่ 1 เห็นชัดว่ามันมีระบบอุปถัมภ์เข้ามาเกี่ยวข้อง กรณีพนักงานที่โดนข้าราชการ C6 ล่วงละเมิด เป็นเหตุการณ์เกิดยาวนานกว่า 3 ปี เชื่อว่ามีการพูดเรื่องพวกนี้ในกระทรวงสาธารณสุข แต่ถามว่าทำไมไม่มีการแก้ปัญหา คือ คนในราชการเขาจะไม่แตะกัน ยิ่งคนที่รับใช้นาย ก็จะมีอาณาบริเวณ มีออร่าของตัวเอง ซึ่งคนแวดล้อมก็รู้ดีว่าอย่าไปยุ่งกับเขา ทนได้ก็ทนไป

ปัจจัยที่ 2 ประเทศเรามีความรู้สึกต่ออำนาจเกินจำเป็น เราศิโรราบและยอมจำนนต่ออำนาจง่ายเกินไป ข้าราชการที่ C6 ถือว่าไม่สูงมาก แต่เขาก็สามารถที่จะทำให้ทุกคนสยบยอมได้ แสดงว่าอำนาจนิยมในประเทศไทยไม่ธรรมดา และอำนาจในการต่อรองของผู้เสียหายก็น้อยมาก

ปัจจัยที่ 3 วิธีคิดของสังคมไทย เรามีวิธีคิด มีความเชื่อที่ประหลาด คือการคิดว่าผู้เสียหายในกรณีทางเพศเป็นคนไม่ดี จนมันลากให้สังคมไทยเข้ารกเข้าพง ดังนั้น ทำให้ผู้เสียหายทุกคนไม่ออกมา เพราะรู้ว่าออกมาแล้วเปลืองตัว ออกมาแล้วถูกตั้งคำถาม ทนได้ก็ทนไป แทนที่เราจะตั้งคำถามกับผู้กระทำ เรากลับมาตั้งคำถามกับผู้เสียหาย

ปัจจัยที่ 4 เมื่อมีกรณีทางเพศเกิดขึ้นในที่ทำงาน ขั้นตอนการไต่สวน ขั้นตอนการหาความจริงมันยาวมาก พอยาวแล้วมันก็มีปัญหากับผู้เสียหาย กับคนที่ลุกขึ้นมาทวงสิทธิ์ เส้นทางอันยาวเหยียดนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องข้าราชการที่เป็นผู้กระทำความผิด อย่างที่เรารู้ว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้ามันคือความอยุติธรรม

 

เหล่านี้คือ 4 ปัจจัยที่ ทิชา ณ นคร หรือ “ป้ามล” ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำให้กฎหมายหรือมาตรการที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นได้แค่เสือกระดาษ และตอกย้ำเรื่องนี้ด้วยประสบการณ์ตรงของ ธารารัตน์ ปัญญา นักศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหยื่อของการถูกล่วงละเมิดผู้แสดงความกล้าหาญด้วยการลุกขึ้นมาเปิดหน้าท้าสู้กับสังคมไทย

 

 

ความพยายามเมื่อระบบยังหวังพึ่งไม่ได้

คือนับตั้งแต่เดือนมีนาคมจนกระทั่งมีกระดาษแผ่นนั้นออกมา เป็นคำสั่งลงโทษทางวินัย รวมระยะเวลา 4 เดือนด้วยกัน ทำให้เราเห็นปัญหาของกระบวนการสอบสวนเหมือนกันว่ามันจำเป็นจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานขนาดนี้เลยหรือ อย่างตัวดิฉันเองที่เข้าไปดำเนินการก็เริ่มจากศูนย์ คือเราไม่รู้เลยว่าจะต้องเข้าไปคุยกับใคร เริ่มจากตรงไหน ติดต่อฝ่ายไหนได้บ้าง

 

นอกจากปัญหาในเรื่องกระบวนการมันก็ยังมีปัญหาในเรื่องทัศนคติของหลาย ๆ คน พอเราโพสลงไปก็มีการมากล่าวโทษเราว่า ณ ขณะนั้นเราแต่งตัวยังไง เราเมา ทำไมถึงพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงอะไรขนาดนั้น พอเราโพสออกไปทำให้เราพบว่า ยังมีคนที่คิดแบบนี้อยู่เยอะเหมือนกัน อีกอย่างมันก็สะท้อนถึงสังคมชายเป็นใหญ่ด้วย เหมือนกับว่าผู้ชายเขามีอารมณ์ทางเพศอยู่แล้ว กลายเป็นว่าผู้หญิงจะต้องระมัดระวังตัวเอง แทนที่จะมาพูดกันว่าควรจะยับยั้งชั่งใจ หรือ ไม่ควรจะล่วงเกินสิทธิเสรีภาพในเนื้อตัวร่างกาย”

 

สิ่งที่อาจจะสำคัญที่สุดในยามที่หวังพึ่งใครไม่ได้ก็เห็นจะเป็นทัศนคติของเหยื่อที่มีต่อตนเองหลังจากผ่านเหตุการณ์อันเลวร้าย ซึ่งวิธีคิดของ ธารารัตน์ น่าจะช่วยสร้างพลังใจให้กับผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์คล้ายกันได้มากทีเดียว

 

ที่เสียหายนอกจากจะเสียหายทางด้านร่างกายแล้ว ก็ยังมีความเสียหายทางด้านจิตใจ บางเคสที่หนักหน่อยก็มีการโทษตัวเอง รู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองลดลงหลังจากที่โดนข่มขืน คือเราคิดว่าเรื่องการข่มขืนมันเป็นสิ่งที่แย่ มันเป็นเรื่องที่ไม่ปกติในสังคมไทยก็จริง แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมาคุณก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ คุณไม่ใช่คนผิด คุณไม่จำเป็นจะต้องรู้สึกผิด อีกอย่างคือคุณมีคุณค่าในตัวเองอยู่แล้ว การออกมาพูดหรือการออกมาเผชิญหน้าเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดมันไม่ได้ทำให้คุณค่าในตัวคุณลดลงเลย”

 

ในวันที่กฎหมายยังเป็นได้แค่เสือกระดาษ ปัญหาการคุกคามทางเพศและการล่วงละเมิดทางเพศอาจจะยังแก้ไม่ได้ในเร็ววัน แต่การที่ผู้เสียหายกล้าออกมาพูดและเอาผิดกับผู้กระทำก็นับว่าเป็นการเปิดพื้นที่เล็กๆ ในสังคมให้เกิดการถกเถียงขึ้นมา รวมทั้งเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้เสียหายรายอื่นกล้าที่จะลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ์ตัวเองด้วย

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า