Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คุณภาพอากาศ 25 ม.ค. ในเขตกทม.และปริมณฑลไม่ดี พบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพิ่มขึ้นและเกินมาตรฐานถึง 37 จุด กรมควบคุมมลพิษ ปรับเกณฑ์สถานการณ์ใหม่เป็น 4 ระดับ หากเลวร้ายถึงขั้นสุดท้ายจะเสนอนายกฯ สั่งการ

กรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ประจำวันที่ 25 มกราคม 2562 ในช่วง 15.00 น. ว่า “จากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่ในช่วงบ่ายในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล อากาศนิ่ง ลมพัดอ่อน ไม่มีฝนตก ประกอบกับมีการจราจรหนาแน่น ส่งผลให้สถานการณ์ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในวันนี้ 25 มกราคม 2562 เวลา 15.00 น. ปริมาณฝุ่นละอองPM 2.5 เพิ่มขึ้น โดยบริเวณ พื้นที่ริมถนน มีค่าเกินมาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) 22 สถานี พื้นที่ทั่วไป มีค่าเกินมาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) อยู่ 15 สถานี รวมเป็น 37 จุด คาดการณ์ในวันพรุ่งนี้ (26 ม.ค. 62) จากการพยากรณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ‘ลมพัดแรงขึ้น’ ส่งผลทำให้ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 มีโอกาสเจือจางลงได้บ้าง

ทั้งนี้เมื่อช่วงเช้า กรมควบคุมมลพิษ รายงานว่า  “จากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่อากาศในช่วงเช้า พื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล มีหมอกในตอนเช้า อากาศลอยตัวได้ดี แต่ลมพัดอ่อน ส่งผลทำให้สถานการณ์ PM 2.5 พื้นที่กทม.และปริมณฑลในวันนี้ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานโดยเฉลี่ยประมาณ 7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม. ) 24 พื้นที่

แบ่งเป็นพื้นที่ริมถนน เกินค่ามาตรฐาน 16 สถานี, พื้นที่ทั่วไป เกินค่ามาตรฐาน 8 สถานี โดยคาดการณ์ ในช่วงบ่ายของวันนี้ อากาศยังลอยตัวได้ดี มีลมพัดแรงขึ้น ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองมีโอกาสเจือจางลงได้

24 จุดฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่

  1. ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน
  2. ริมทางคู่ขนานถนนพระราม 2 อ.เมืองสมุทรสาคร
  3. ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน (ริมถนน)
  4. ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี
  5. ริมถนนดินแดง เขตดินแดง
  6. ริมถนนตรีมิตร วงเวียนโอเดียน เขตสัมพันธวงศ์
  7. ริมถนนลาดพร้าว ซ.ลาดพร้าว 95 เขตวังทองหลาง
  8. ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน (ภายในสำนักงานเขตปทุมวัน)
  9. ริมถนนพระราม 3 เจริญกรุง เขตบางคอแหลม
  10. ริมถนนพระราม 3 เขตยานนาวา
  11. ริมถนนนวมินทร์ แยกบางกะปิ
  12. ริมถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ เขตธนบุรี
  13. ริมถนนซอยนิคมบ้านพักรถไฟธนบุรี 5 เขตบางกอกน้อย
  14. ริมถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ
  15. ริมถนนพหลโยธิน เขตบางเขน
  16. ริมถนนพระราม 2 เขตบางขุนเทียน
  17. ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
  18. ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
  19. ต.ตลาด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
  20. ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
  21. ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ
  22. แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง
  23. ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม
  24. แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร

 

ทั้งนี้ มติคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา ได้ปรับระดับความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 และแนวทางปฏิบัติใหม่ โดยหากค่าฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าระหว่าง 50-75 มคก./ลบ.ม. (ระดับที่ 2) ไม่ลดลง นิ่งนาน และคาดการณ์แล้วว่า จะสูงขึ้นอีกต้องยกมาเป็นระดับที่ 3 (ฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าเกินมาตรฐานระหว่าง 75-100 มคก./ลบ.ม. ) โดยให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการปริมณฑลทั้ง 5 จังหวัด ในการที่จะใช้ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข และ พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือกฎหมายอื่น ๆ เพื่อแก้ไข ควบคุมพื้นที่ หรือควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษซึ่งก่อให้เกิดเหตุรำคาญต่อประชาชน

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ ฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าเกิน 100 มคก./ลบ.ม. ต่อเนื่องยาวนาน จะมีการประชุมเป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ “ในการพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหา PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็ก” เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา “ในการสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่ง”

ติดตามข้อมูลออนไลน์  กรมควบคุมมลพิษ  กรุงเทพมหานคร  แอพพลิเคชั่น Air4Thai

สำหรับสถานการณ์คุณภาพอากาศที่ไม่ค่อยดีนักของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐานมาตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 20 ธ.ค. 2561 บางวันที่มีฝนตกลงมาชะล้างก็ทำให้คุณภาพอากาศกลับมาดีขึ้นบ้าง แต่จนถึงขณะนี้สถานการณ์คุณภาพอากาศในช่วงหน้าหนาว ที่อากาศปิด ลมนิ่งเช่นนี้ยังคงต้องติดตามเป็นรายวัน

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ขณะอยู่กลางแจ้ง หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ดังต่อไปนี้ โรคทางเดินหายใจ, โรคเยื่อบุตาอักเสบ, โรคผิวหนัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง

  1. พักผ่อนอยู่ในบ้าน
  2. เตรียมยาให้พร้อม
  3. ใช้หน้ากากกันฝุ่น
  4. รีบพบแพทย์ หากมีอาการ

สำหรับประชาชนทั่วไป ควรลดระยะเวลาออกกำลังกาย หรือทำงานหนักกลางแจ้ง หมั่นสังเกตอาการหากเกิดอาการแสบคอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด รีบพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ

 

ที่มา FB : กรมควบคุมมลพิษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า