SHARE

คัดลอกแล้ว

มนุษย์ไฟฟ้ายะลา ยื่นหนังสือคัดค้านแปรรูป กฟภ.3 จชต. เป็น บ.อาร์พีเอส ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่าน ศอ.บต. ระบุ มีแต่ผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้า กว่า 5 แสนครัวเรือนในพื้นที่

จากกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ออกหนังสือเลขที่ กฟผ.910000/45142 ลงวันที่ 8 พ.ค. 61 ที่มีข้อความโดยสรุปว่า จะมีการบริหารกิจการด้านพลังงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแนวโน้มว่าจะมีการแปรรูปการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นบริษัท RPS ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่และพนักงานของการไฟฟ้าในพื้นที่ เกิดความไม่สบายใจ รวมทั้งทางสหภาพแรงงาน กฟภ.ภาคใต้ เขต 3 ได้เรียกประชุมด่วน เพื่อกำหนดท่าทีในเรื่องดังกล่าว ตามข่าวที่ได้เสนอไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าล่าสุดวันนี้ 16 ก.ค. 61 เวลา 10.00 น. ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นายสมชาย อักษรภักดิ์ ประธานสหภาพแรงงาน กฟภ.ภาคใต้ เขต 3 พร้อมด้วยพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยะลา จำนวนกว่า 100 คน เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านการแปรรูป ให้แก่นายกิตติ สุระคำแหง รองเลขาธิการ ศอ.บต. เพื่อนำเสนอข้อเรียกร้องถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ระงับการแปรรูปการไฟฟ้า เป็นบริษัท RPS โดยข้อเรียกร้องแสดงให้เห็นถึงปัญหา และผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟในพื้นที่ในอนาคต

นายสมชาย อักษรภักดิ์ เปิดเผยว่า ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินการยื่นหนังสือผ่านศูนย์ดำรงธรรมในแต่ละจังหวัด พร้อมกันทั้ง 74 จังหวัด รวมทั้งในกรุงเทพมหานคร ไปยังท่านนายกรัฐมนตรี เพื่อขอคัดค้าน โดยแนบรายชื่อพนักงานการไฟฟ้าทั้ง 74 จังหวัด ที่คัดค้านการแปรรูป ซึ่งสิ่งที่คัดค้านคือ ไม่ต้องการให้มีการจัดตั้งบริษัท RPS ขึ้นมา

ประเด็นการโอนผู้ใช้ไฟฟ้าประมาณ 5 แสนรายไปอยู่กับบริษัท RPS ที่ดูแลพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งพนักงานทุกคนไม่เห็นด้วย หลังจากนี้ก็จะมีภาคประชาชนเข้ามาร่วมต่อต้านแน่นอน ซึ่งหากผู้ใช้ไฟทั้ง 5 แสนกว่าครัวเรือน ย้ายไปอยู่ใน RPS ที่คาดว่าจะจดทะเบียนตั้งขึ้นมาภายในปลายปีนี้ ถ้ารัฐบาลโอนหุ้นไปให้ RPS โดยมีเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนถือหุ้นใหญ่ เมื่อได้รับโอนหุ้นก็ต้องหวังผลกำไร ในขณะที่ที่ผ่านมา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบปัญหาขาดทุน และรัฐบาลในวันนั้นก็ไม่มีสิทธิไปยุ่งในส่วนของบริษัท เนื่องจากโอนให้ไปแล้ว เรื่องการใช้ไฟฟรี 50 หน่วย ไฟสาธารณะ ส่วนลดค่าไฟให้กับหน่วยกำลังทหาร ตำรวจ ในพื้นที่ การขยายเขตการใช้ไฟฟ้า เมื่อต้องไปอยู่กับเอกชน เรื่องเหล่านี้ก็จะมีต่อหรือไม่ เมื่อบริษัทขาดทุน จะดำเนินการอย่างไร

ส่วนการจะสร้างโรงไฟฟ้าอีก 120 เมกกะวัตต์ มีการศึกษาผลกระทบแล้วหรือไม่ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือที่ จ.ร้อยเอ็ด มีโรงไฟฟ้าใกล้กัน 3 แห่ง ชาวบ้านต้องแบกรับมลพิษ นักเรียนต้องใส่หน้ากากกันฝุ่นไปโรงเรียน นี่คือปัญหา ซึ่งควรจะนำปัญหาเหล่านี้มาศึกษา ทุกวันนี้ในพื้นที่ ไม้ที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าชีวมวลก็มีไม่เพียงพอ และถ้าต้องขึ้นโรงไฟฟ้าอีก 120 เมกกะวัตต์ จะเอาไม้มาจากไหน

ที่ผ่านมาไปซื้อไม้มาจาก จ.กระบี่ ราคาไม้จากตันละ 800 ก็ขึ้นมาเป็นพันกว่าบาท ในอนาคตถ้ามีการแย่งวัตถุดิบ ต้นทุนก็จะสูงขึ้น ถามว่าบริษัทจะทำอย่างไร ก็หนีไม่พ้นต้องขึ้นค่าไฟแน่นอน และเมื่อขึ้นค่าไฟ ชาวบ้านก็ไม่มีสิทธิ์เลือก เพราะบริษัทผูกขาดเรื่องไฟฟ้า

ประธานสหภาพแรงงาน กฟภ.ภาคใต้ เขต 3 ยังกล่าวอีกว่า สิ่งที่พนักงาน กฟภ.ในพื้นที่อยากเห็นก็คือ การออกมาชี้แจงให้เข้าใจ ไม่ใช่ปล่อยเรื้อรัง อยากรู้ว่ารัฐบาลจะเดินต่อในเรื่องบริษัท RPS อย่างไร ไม่อยากให้ปิดหูปิดตาประชาชน ถ้าดูจากแผนแล้วพบว่าเดือนมิถุนายนจะลงนามเอ็มโอยู เดือนกันยายน เข้า ครม. และจัดตั้ง RPS ในเดือนธันวาคม ปีนี้ มองว่าเร่งรีบไปหรือไม่ อยากให้ออกมาชี้แจงเพื่อความสบายใจ ซึ่งหากยังไม่ได้มีการตอบรับข้อเรียกร้องของทางสหภาพแรงงานฯ ก็จะมีมาตรการกดดันต่อไป แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะเดินหน้าเรียกร้องในลักษณะใด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า