Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จักษุแพทย์ รพ.ธรรมศาสตร์ เผยฝุ่นควันอาจทำให้ดวงตาระคายเคือง-อักเสบได้ แนะนำวิธีรักษาดวงตา ให้ปลอดภัยในวิกฤตฝุ่นควัน ยันไม่อันตรายถึงขั้นตาบอด

วันที่ 22 ม.ค. 62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 08.00 น. ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ จักษุแพทย์หัวหน้าศูนย์ตาธรรมศาสตร์ และประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำประชาชนอยู่อย่างไรให้ปลอดภัยในวิกฤตฝุ่นควันต้องผจญมาหลายวัน หลายคนเริ่มมีอาการผิดปกติในระบบร่างกายหลายระบบ รวมทั้งวิตกว่าจะเป็นอันตรายกับอวัยวะต่างๆ เช่น ดวงตาทำให้แสบตา ระคายเคือง ตาแดง

ภาวะวิกฤตฝุ่นควัน PM2.5 เป็นภาวะที่มีฝุ่นขนาดเล็กในอากาศมากกว่าปกติ โดยทั่วไปฝุ่นขนาดเล็กอาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง แสบตาหรือตาแดงได้ แต่อาการผิดปกติเหล่านี้มักเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงกับดวงตา ยกเว้นในผู้ที่มีความผิดปกติกับดวงตาอยู่แล้ว เช่น ต้อลม ต้อเนื้อ หรือภูมิแพ้ขึ้นตา อาจทำให้มีอาการเคืองตา ตาแดงมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม หากได้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมก็จะทำให้ดวงตาของเราปลอดภัยจากวิกฤตฝุ่นควันนี้ไปได้

รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ จักษุแพทย์หัวหน้าศูนย์ตาธรรมศาสตร์ และประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากที่มีปัญหาฝุ่นละอองทำให้มีผู้ป่วยมาโรงพยาบาลแผนกตามากขึ้น ด้วยเรื่องของอาการแสบตา ตาแดง และเคืองตามากขึ้น เนื่องจากปัญหาตาแห้งหรือแสบตาเป็นปัญหาของคนยุคใหม่อยู่แล้ว ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะต่างๆ รวมถึงการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เยอะๆ เมื่อมีวิกฤตของฝุ่นละออง และหมอกควันเยอะขึ้น ทำให้เกิดการระคายเคืองที่บริเวณดวงตามากขึ้น ทำให้ตาแห้งและทำให้ตาแดง บางคนรุนแรงถึงขั้นตาอักเสบได้

ส่วนปัญหาที่ดวงตาถูกฝุ่นควันมลพิษในขณะนี้ อาจจะเกิดอาการเพียงแค่ชั่วคราว ไม่ได้ทำให้ตาบอดถาวรก็ตาม หากเป็นไปได้ ขอแนะนำการดูแลดวงตาในภาวะวิกฤตฝุ่นควันมีดังนี้

1. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นควันหนาแน่นเท่าที่สามารถทำได้

2. หากมีอาการระคายเคืองตาหรือแสบตา ควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือใช้น้ำตาเทียมหยอดตา

3. ในคนที่มีปัญหาต้อลม ต้อเนื้อ หรือภูมิแพ้บริเวณดวงตาอยู่แล้ว เมื่อต้องเข้าไปในบริเวณที่ที่มีฝุ่นควันมากๆ จะทำให้มีอาการมากขึ้น ควรหาแว่นตาชนิดมีขอบด้านบนและด้านข้างมาใส่ เพราะแว่นตาทั่วไปไม่สามารถป้องกันฝุ่นควันเข้าตาจากด้านข้างได้

4. คนที่ใส่คอนแทคเลนส์ หากต้องอยู่ในที่มีฝุ่นควันเยอะ ควรใช้แว่นตาแทน เพราะการใส่คอนแทคเลนส์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดวงตาได้

5. หากมีอาการผิดปกติทางตารุนแรง เช่น ตาแดงมาก มีขี้ตาสีเขียว หรือเหลือง แสดงว่าดวงตาติดเชื้อ หรือตามัวลงให้ไปพบจักษุแพทย์โดยเร็ว

สำหรับท่านที่ดวงตาถูกฝุ่นควันที่เป็นมลพิษแล้วมีอาการแสบตาเคืองตามาก แนะนำว่าให้ใช้น้ำสะอาดล้างดวงตา อาจเป็นน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว หรือน้ำเกลือ ถ้ามีน้ำตาเทียมสำหรับหยอดตาอยู่แล้ว ก็สามารถใช้น้ำตาเทียมหยอดล้างบริเวณดวงตาได้ จะปลอดภัยกว่าการใช้น้ำยาล้างตาที่เป็นสารเคมี อาจจะเกิดความระคายเคืองกับดวงตามากขึ้นได้ ข้อแนะนำเหล่านี้น่าจะช่วยทำให้ดวงตาของประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเมืองสามารถอยู่กับภาวะวิกฤตฝุ่นควันได้อย่างปลอดภัย เพราะเราอาจยังต้องเผชิญกับปัญหานี้ต่อไปอีกนาน หากยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า