SHARE

คัดลอกแล้ว

แหล่งเอราวัณ (ภาพจาก กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ)

ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เผย มีความพยายามของคนบางกลุ่มหวังล้มการประมูล 2 แหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เปิดทางจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ  ด้านประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุ หากการประมูลล่าช้าจนทำให้การผลิตก๊าซฯจากทั้งสองแหล่งใหญ่ขาดความต่อเนื่องนั้น จะทำให้ประเทศเสียประโยชน์เป็นมูลค่าประมาณ 4.5 แสนล้านบาทต่อปี 

นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เปิดเผยกับทีมข่าวเวิร์คพอยท์  ถึงกรณีการเปิดประมูล 2 แหล่งปิโตรเลียมใหญ่ในอ่าวไทย คือ “แหล่งเอราวัณ” และ “แหล่งบงกช” ที่จะหมดสัมปทานในระยะ 4–5 ปี ข้างหน้า (ปี 2565–2566) ซึ่งมีการจับตาบริษัทผู้เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ จนมีการตั้งข้อสังเกตจากบางฝ่าย ตั้งแต่ยังไม่ทันประกาศรายชื่อบริษัทผู้ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น ว่าอาจส่อไปในทางที่จะสามารถฮั้วการประมูลกันได้นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ระบุว่า กระแสข่าวในแวดวงพลังงาน มีความพยายามของกลุ่มคนที่ต่อต้านการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ต้งการปลุกกระแสสังคมในช่วงน้ำมันแพง ให้ล้มการประมูลครั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้ง “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” หรือ NOC แล้วส่งคนของกลุ่มตนเองเข้าไปบริหาร ทั้งๆที่ระบบนี้เป็นระบบที่ง่ายต่อการทุจริตคอรัปชั่น

นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน (ภาพจาก FB.Manoon Siriwan)

สำหรับรายชื่อ 5 บริษัท ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น เพื่อเข้าร่วมการประมูลยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 (เอราวัณ) และ G2/61 (บงกช) นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานมองว่า หากมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนด เช่น ผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 (แหล่งเอราวัณ) จะต้องมีกิจการที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s Equity) อย่างน้อย 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2559 – 2560

และผู้ที่จะมีสิทธิร่วมประมูลสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G2/61 (แหล่งบงกช) จะต้องมีกิจการ ที่มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder’s Equity) อย่างน้อย 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ระหว่างปี 2559 – 2560

และยังจะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินงานการผลิตปิโตรเลียมในทะเล (Offshore Gas Field Operate) อย่างน้อย 1 แหล่ง ที่มีอัตราการขายก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ระหว่างปี 2559 – 2560  ก็ไม่ถือว่ามีสิ่งใดผิดปกติ ทุกบริษัทที่ผ่านคุณสมบัติสามารถเข้าแข่งขันได้

เช่น บริษัท OMV Aktiengesellschaft บริษัทร่วมทุนระหว่างออสเตรเลีย และจีน  ก็เคยมีประสบการณ์ทำงานขุดเจาะกลางทะเลมาก่อน

ส่วนการจับตา บริษัท MP G2 (Thailand) Limited (ประมูลแหล่งเอราวัณ) และบริษัท MP L21 (Thailand) Limited (ประมูลแหล่งบงกช) ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าจะเป็นบริษัทนอมินี ให้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่างมูบาดาลาจากอาหรับ โดยทั้ง 2 บริษัทแยกแหล่งการประมูลกันชัดเจน ซึ่งไม่ได้เป็นข้อห้ามแต่อย่างใด 

แต่ในทางกลับกัน หากทั้ง 3 บริษัทนี้ไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น จะน่าแปลกมากว่า ว่าอาจสามารถฮั้วการประมูลได้ เพราะจะเหลือ 2 บริษัท คือ บริษัทเชฟรอนประเทศไทยเจ้าของสัมปทานแหล่งก๊าซเอราวัณเดิม และบริษัท ปตท.สผ.เจ้าของแหล่งก๊าซบงกช

ส่วนกรณีมีความพยายามนำประเด็นกองทุนหุ้น International Petroleum Investment Corporation (IPIC) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของมูบาดาลา กรณีการร่วมลงทุนกับกองทุน 1MDB ของอดีตผู้นำมาเลเซียนั้น ยังหาความเชื่อมโยงกับการประมูลแหล่งปิโตรเลียมทั้ง 2 แห่งครั้งนี้ไม่ได้ ว่าจะเชื่อมโยงกันได้อย่างไร

ซึ่งที่ผ่านมาบริษัท Mubadala Investment Company PJSC หรือ มูบาลาดา ก็ได้พยายามเข้ามายื่นประมูลปิโตรเลียมแหล่งต่างๆ ในอ่าวไทย ซึ่งถือว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ยังตั้งข้อสังเกตถึงบริษัทที่ยื่นประมูลเพียง 5 บริษัทนั้น เป็นตัวเลขที่น้อย ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ที่สะท้อนให้เห็นว่า แหล่งปิโตรเลียมทั้ง 2 แห่งนี้ไม่มีความน่าสนใจในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมนัก

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจในการประมูลครั้งนี้คือ แหล่งเอราวัณ ซึ่งมีบริษัทเชฟรอน ประเทศไทย เป็นเจ้าของสัมปทานเดิม เพราะมีโอกาสในการแข่งขันสูงจากบริษัทต่างชาติ มากกว่าแหล่งบงกช  เพราะมีบริษัท ปตท.สผ.เป็นเจ้าของสัมปทาน เพราะปตท.สผ. มีรัฐถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่ และมีคนไทยทำงานอยู่ถึง 99%

ขณะที่แหล่งข่าวอีกฝั่งระบุว่า มูบาดาลา พร้อมจะสู้ในการประมูลครั้งนี้ เพราะต้องการใช้การประมูลครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นในการเข้ามาสร้างฐานธุรกิจ ปิโตรเคมี ในอาเซียน โดยหวังจะใช้พื้นที่โครงการ EEC ของไทยเป็นฐานที่มั่นสำคัญ แม้จะทราบว่า แหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่อ่าวไทย เป็นแหล่งเล็กเมื่อเทียบกับตะวันออกกลาง แต่เพื่อการสร้างจุดstart ในอาเซียน จึงมีความตั้งใจอย่างสูงในการแข่งขัน

ขอบคุณภาพจาก FB.น้องปอสาม

 

  • เรียกร้องรัฐเดินหน้าประมูลบงกช-เอราวัณ ให้ได้ตามแผน เพื่อเรียกศรัทธานักลงทุน

นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวในเวทีเสวนา “บงกช เอราวัณ ล่าช้าตัดโอกาส ลดศักยภาพเศรษฐกิจไทย” เมื่อวันที่ 30 เม.ย.61ที่ผ่านมาว่า โดยส่วนตัวยังไม่มั่นใจว่าภาครัฐ สามารถเปิดประมูลสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งบงกชและเอราวัณได้เสร็จตามกำหนดเป้าหมายในเดือนก.พ. 2562 เนื่องจากจะมีขบวนการคัดค้านต่อต้าน เป็นวงจรเหมือนอดีตที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ก็เคยประกาศว่าจะดำเนินการประมูลให้เสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2559 แต่การดำเนินการก็ล่าช้ามากว่า 2 ปี ทำให้ภาครัฐขาดความน่าเชื่อถือ

ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องเรียกศรัทธาให้กลับมาโดยเร็ว และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันทำให้การประมูลครั้งนี้ผ่านพ้นไปให้ได้ เพราะถือว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงทางพลังงานและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

โดยในกรณีเลวร้ายที่สุด หากการผลิตก๊าซฯจากแหล่งบงกชและเอราวัณ ไม่สามารถผลิตได้ต่อเนื่อง โดยก๊าซฯหายไปจากทั้งสองแหล่งดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ธุรกิจทั้งระบบ อาทิ การผลิตไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิง ธุรกิจปิโตรเคมี เม็ดพลาสติก จนถึงผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) และแรงงานในระบบ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 4.5 แสนล้านบาทต่อปี

และที่สำคัญจะทำให้โรงไฟฟ้าจะขาดก๊าซฯ มาผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ปัจจุบันแหล่งเอราวัณผลิตก๊าซฯอยู่ 1,240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแหล่งบงกชผลิตอยู่ 870 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน รวม 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 50% ของการผลิตก๊าซฯทั้งประเทศ) ซึ่งจะกระทบการผลิตไฟฟ้าประมาณ 10 โรง ขนาดโรงละ 1,200 เมกะวัตต์

ดังนั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ นโยบายผลักดันระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)จะประสบปัญหาไม่มีไฟฟ้าใช้ นอกจากนี้ EEC ยังใช้ธุรกิจปิโตรเลียม ปิโตรเคมีและดิจิทัลเป็นฐานการเติบโตของ EEC ด้วย ซึ่งหากไม่มีวัตถุดิบจากก๊าซฯและไม่มีไฟฟ้าใช้ โครงการEEC ตามนโยบายของรัฐบาลก็จะกลายเป็นโครงการที่เป็นเพียงความฝันเท่านั้น

 “โดยความเห็นส่วนตัว  อยากจะให้ผู้ประกอบการรายเดิมเป็นผู้ชนะการประมูล โดยเฉพาะแหล่งที่มี ปตท.สผ.เข้าร่วมประมูล เพราะปตท.สผ. นั้นมีหุ้นของรัฐถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่ และมีคนไทยทำงานอยู่ถึง 99% นายบวร กล่าว

.ด้าน ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้ประกอบการในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้รับผลกระทบจากความล่าช้า ของการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งบงกชและเอราวัณตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

อีกทั้งยังประสบปัญหากับราคาน้ำมันดิบที่ลดลงจาก 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เหลือเพียง 50 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล  ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องชะลอการลงทุน และมีการปลดคนงานออก  ซึ่งในส่วนของมหาวิทยาลัย ที่ผลิตวิศวกรด้านปิโตรเลียมออกสู่ตลาดแรงงาน ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยต้องปรับลดจำนวนนักศึกษาในภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียมลงจากปีละ20 คน เหลือปีละ 10 คน ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเลียมต้นน้ำและทำให้ไทยเสียศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดอาเซียนไป

ผศ.ดร.ฐิติศักดิ์ กล่าวว่า ในความเห็นทางวิชาการมองว่า “ระบบสัมปทานปิโตรเลียมไทยแลนด์ทรี” มีความเหมาะสมกับศักยภาพปิโตรเลียมของอ่าวไทยแล้ว และเห็นว่า การคัดค้านในช่วงที่ผ่านมาที่ให้เปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบ แบ่งปันผลผลิต เพราะรัฐมีจุดอ่อนในเรื่องของข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยสู่สาธารณะ ที่ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งคล้อยตามกลุ่มที่คัดค้าน ที่เสนอให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตซึ่งมีจุดเด่นข้อเดียวคือ รัฐเป็นเจ้าของ และไม่เห็นถึงข้อดีของระบบสัมปทานเดิม  ทั้งๆที่ทำให้รัฐได้ประโยชน์เป็นสัดส่วนสูงถึง 70%  ในขณะที่ระบบแบ่งปันผลผลิตแบบไทยๆ รัฐได้ประโยชน์ลดลงเหลือ 60%

อ้างอิงจาก ศูนย์ข่าวพลังงาน

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า