SHARE

คัดลอกแล้ว

การเมืองไทยฝุ่นตลบอีกครั้ง เมื่อ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนมตรี โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ อ้างวรรคทองของนักคิดนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส

 

“ไม่มีความเลวร้ายใด ที่จะยิ่งไปกว่าความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหรือในนามของกระบวนการยุติธรรม”

 

เป็นข้อความในรอบ 2 ปีที่ปรากฏขึ้นหลังผ่านไป 5 วันที่น้องสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หายตัว-ไม่มาฟังคำพิพากษาในคดีรับจำนำข้าว (25 ส.ค.)

นักวิเคราะห์-นักต่อสู้บนถนนการเมืองไทย คาดเดาในทิศทางเดียวกันว่า การหายตัวไปของ ยิ่งลักษณ์ ได้รับความช่วยเหลือจาก ทักษิณ

 

ผลิตวรรคทองโต้ “ทักษิณ” 

ไม่ถึง 24 ชั่วโมง ฝ่ายต้าน-คู่ขัดแย้งกับ “ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ” ผลิตคำ คิดประเด็นขึ้นมาเพื่อตอบโต้ทางการเมือง

 

วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ถูกยกยอเป็น “มือปราบจำนำข้าว” โพสต์ข้อความว่า ทักษิณมาเร็วกว่าที่คาด แต่ก็เป็นลูกไม้เดิมๆ

“คำกล่าวของมงแต็สกีเยออาจจะตามไม่ทันโลกที่เปลี่ยนเร็วมาก นั่นคือ ไม่มีเผด็จการไหนที่จะป่าเถื่อนไปกว่าเผด็จการทุนสามานย์ที่อ้างถึงการเลือกตั้ง ใช้เสียงข้างมาก กระทำการต่างๆ ทั้งทุจริตและตนเองพ้นผิด ไม่แคร์ประชาชน”

 

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งคำถามว่า

“ทำไมทักษิณตั้งคำถามกับกระบวนการยุติธรรมเวลาที่ตัวเองไม่ชนะคดี และเห็นเผด็จการในคราบประชาธิปไตย บางทีก็รุนแรงกว่าเผด็จการที่เปิดตัว”

 

เช่นเดียวกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส. ผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมาอีกคนของ “ทักษิณ” ได้ออกมาเรียงประโยคใหม่ว่า

“ผมเห็นว่า ไม่มีอะไรเลวร้ายกว่ารัฐบาลที่อ้างประชาชนและใช้อำนาจหน้าที่ทำร้ายประเทศชาติและประชาชน”

 

ยกบทละคร “เวนิสวาณิช” ย้อนเกล็ด “มงแต็สกีเยอ”  

แม้ฝ่ายรัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะระบุว่า “ปล่อยเขาไป เขาทวิตเตอร์ จะไปทำอะไรเขา จะเชื่อเขาก็ตามใจ คิดสิคิด”

 

แต่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กลับออกมาแสดงความเห็น ผ่านการปาฐกถาพิเศษ เรื่องทิศทางกระบวนการยุติธรรมไทยต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ โดยตอนหนึ่งอ้างถึงบทประพันธ์ของ “วิลเลียม เชกสเปียร์” กับผลงานเรื่อง “เวนิสวาณิช” ที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์แปลเป็นกลอนบทละครในแบบฉบับของไทย

บททกลอนที่วิษณุหยิบยกมาความว่า “แม้อ้างยุติธรรม จงกำหนดจดจำไว้ด้วยว่า ในกระแสยุติธรรม ยากจะหาความเกษมเปรมใจ”

เขาระบุว่า “การอ้างถึงความยุติธรรมก็ดีแล้ว แต่ช่วยจำไว้ด้วยว่า ในกระแสแห่งความยุติธรรม จะให้เป็นที่พอใจไปเสียหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้หรอก ต้องมีคนได้คนเสียอยู่บ้าง เมื่อตัดสินก็จงยุติ สงบปากสงบคำไว้ อย่าไปทวิตเตอร์กันอีกเลย”

 

ก่อนหน้านี้ “ทักษิณ” เคยอ้างถึง “แมนเดลา”  

ไม่ใช่ครั้งแรกที่ “ทักษิณ” ยกชื่อ “คนดัง” มาอ้างถึง เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง

ย้อนกลับไปในเดือนสิงหาคม 2553 นพดล ปัทมะ อดีตที่ปรึกษากฎหมาย ออกมาสยบข่าวลือ เรื่องนายทักษิณป่วยหนัก และใกล้เสียชีวิต

โดยนำหลักฐาน ภาพถ่ายปัจจุบัน ที่ปรากฏให้เห็นว่าทักษิณยืนจับมือกับ “เนลสัน แมนเดลา” อดีตประธานาธิบดีอาฟริกาใต้ นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ผู้สร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในทวีปอาฟริกา

 

ภาพดังกล่าวปรากฏขึ้นอีกครั้งในเดือนมิถุนายน ปี 2556 ผ่านเฟสบุ๊กของ “ทักษิณ” ในช่วงที่ “แมนเดลา” กำลังมีอาการป่วยหนัก

ทักษิณได้โพสต์ภาพ เขียนข้อความว่า “เป็นภาพที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2553 ในการพบกันครั้งนั้น ท่านถามผมถึงเหตุการณ์บ้านเรา ท่านอยากเห็นความปรองดองในประเทศไทย ก็แลกเปลี่ยนความเห็นกันอยู่พักนึง”

“วันนี้เขียนเพื่อแสดงความเคารพและหัวใจนักสู้ที่มีความเมตตาที่คิดถึงส่วนรวมมากกว่าตัวเอง ก็ได้แต่อยากเห็นประเทศซึ่งเคยเป็นเมืองศิวิไลซ์ แต่วันนี้กลับมีแต่ความแตกแยก กลับมาเป็นประเทศที่น่าอยู่ เป็นที่น่าชื่นชมในสายตาคนอื่น แต่ก็ไม่ง่าย ถ้าเรายังอยู่กันด้วยการปล่อยข่าวลือโกหกทุกเรื่อง เพียงเพื่อหวังทำลายฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้ตัวเองได้มีอำนาจโดยไม่เคารพกติกาของประชาธิปไตย แถมคนรักษากติกาก็ไม่มีใจเป็นธรรม”

 

ปี 2556 การอ้างถึง “แมนเดลา” ของ “ทักษิณ”

ถูกตีความว่า เป็นห้วงเวลาโค้งสุดท้ายของ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์”

จากนั้น 1 ปี เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร “ยิ่งลักษณ์”

ลงจากอำนาจ และถูกตรวจสอบ-ไล่ล่าจากกระบวนการยุติธรรมจนถึงปัจจุบัน

 

ปี 2560 การอ้างถึง “มงแต็สกีเยอ” กับการหายตัว-ไม่มาศาลของ “ยิ่งลักษณ์” ผู้เป็นน้องสาว

แต่ผ่านมา 2 สัปดาห์ ยังไม่มีใครพบตัวอดีตนายกรัฐมนตรี และจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้ คงต้องเกาะติดกันอย่างใกล้ชิด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า