[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.47″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat” custom_padding=”0px|0px|13px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
รัฐบาลจีนทำสงครามปลูกป่าหวังแก้วิกฤติอากาศเป็นพิษ แต่ผลการศึกษาล่าสุดกลับพบว่าต้นไม้บังลมทำให้ฝุ่นควันไม่กระจายหายไป
“กำแพงเมืองจีนสีเขียว” โครงการปลูกป่าที่รัฐบาลจีนริเริ่มด้วยความคาดหวังว่าจะสามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋ว PM2.5 ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีมากถึง 350 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร สูงกว่าระดับความปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 14 เท่า
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”0px|0px|27px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536754467_41584_241119C900000578-2874368-image-m-6_1418643273060.jpg” _builder_version=”3.0.63″ align=”center”][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”0px|0px|27px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
จีนทำในสิ่งที่สหประชาชาติเปรียบเปรยว่าเป็นการทำสงครามปลูกป่าครั้งใหญ่ที่สุดในโลก จนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ป่าเทียมในจีนครอบคลุมพื้นที่ถึงกว่า 70,000 ตร.กม. กว้างใหญ่กว่าฝรั่งเศสทั้งประเทศ และปีนี้จีนยังมีแผนจะปลูกเพิ่มอีกทางเหนือของกรุงปักกิ่งประมาณ 84,000 ตร.กม. หรือพอ ๆ กับพื้นที่ประเทศไอร์แลนด์
การศึกษาในช่วงหลายปีมานี้ชี้ว่าต้นไม้อาจช่วยขจัดสารก่อมลพิษทางอากาศทั้งไนตริกออกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมไปถึง PM2.5 เพราะใบไม้เป็นเหมือนฟิลเตอร์ช่วยกรองอากาศได้
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536754464_20582_6ad70456-d037-11e6-96db-a1eec4097f76_1280x720.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”0px|0px|27px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
แต่ผลการศึกษาล่าสุดของศูนย์ศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในจีนร่วมกับศูนย์วิจัยสภาพแวดล้อมของสหรัฐพบผลลัพธ์ในทางตรงกันข้ามว่า ยิ่งมีต้นไม้มากปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นควันอาจยิ่งแย่ลง เพราะกลายเป็นว่าต้นไม้บดบังลมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้ฝุ่นควันพัดกระจายไป พูดง่าย ๆ คือป่าปลูกดักฝุ่นควันไม่ให้ไปลอยไหน บวกกับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 อุณหภูมิที่สูงขึ้นในขั้วโลกเหนือ ทำให้ลมที่พัดเข้ามาในจีนมีกำลังลดลง จึงทำให้สถานการณ์มลพิษในจีนยิ่งเลวร้ายลงโดยเฉพาะในปักกิ่ง เทียนจิน และเหอเป่ย “เราไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงความคิดเห็นกับสื่อเกี่ยวกับผลการศึกษานี้” หนึ่งในคณะนักวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้กล่าวโดยไม่ขอเปิดเผยชื่อ
แม้จะมีเสียงวิจารณ์เรื่องการปลูกป่า แต่ศ. Jiang Kingkun จากคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยชิงหัว มองว่าเรื่องที่ว่ารัฐบาลควรหรือไม่ควรปลูกป่าในที่ที่โดยธรรมชาติไม่มีทางมีป่าได้นั้น เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนผ่านการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ว่ายังไงป่าไม้ก็ไม่ควรถูกโค่นเพียงเพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ
“การทำอาหารก่อให้เกิดสารก่อมลพิษทางอากาศเช่นกัน แต่เราไม่สามารถขอให้ใครเลิกทำอาหารได้ มีหลายวิธีที่จะจัดการปัญหามลพิษทางอากาศได้โดยไม่กลับไปจุดเริ่มต้นที่ไม่มีป่า”
ที่มา Will China’s Great GREEN Wall save the country from dust storms? 100 billion tree project could halt advancing Gobi Desert
More trees, more smog? How Beijing’s huge planting campaign may be trapping pollution
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]