[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.47″ custom_padding=”6px|0px|15px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat” custom_padding=”12px|0px|0px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
จีนตั้งเป้าภายใน 2 ปีนี้ อินเทอร์เน็ตในชนบทจะเร็วเท่าเมืองใหญ่เพื่อลดช่องว่างการศึกษา
ปัญหาการศึกษาในชนบทของจีนไม่ต่างจากหลายประเทศและอาจหนักหนากว่าด้วยซ้ำ นั่นคือการหาครูที่สมัครใจไปทำหน้าที่แม่พิมพ์ของชาติในพื้นที่ยากจนที่ห่างไกลไม่ได้ แม้รัฐบาลจะพยายามเพิ่มแรงจูงใจด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น เพิ่มเงินเดือนและสวัสดิการ แต่ที่ผ่านมาครูในชนบทนอกจากจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วกลับยิ่งลดลง เมื่อปี 2553 ตัวเลขครูชนบทอยู่ที่ประมาณ 4.7 ล้านคน 2 ปีต่อมาลดลงเป็น 3.3 ล้านคน ทางออกที่เป็นไปได้เพื่อให้เด็กในชนบทมีโอกาสได้เรียนเหมือนเด็กในเมืองคือการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ที่ผ่านมามีแต่เด็กในเมืองที่กวดวิชาด้วยวิธีนี้
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px”][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/04/1523446576_69226_001.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”30px|0px|54px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”12px|0px|17px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
ครูมัธยมต้นคนหนึ่งที่เมืองซินเจีย มณฑลซานตง เธอตัดสินใจเป็นอาสาสมัครสอนทางออนไลน์ เพราะนักเรียนในชนบทใช้หนังสือเรียนแบบเดิมที่ใช้มาหลายสิบปี ครูที่สอนอยู่ส่วนใหญ่ค่อนข้างมีอายุ บางวิชาอย่างเช่นภาษาอังกฤษก็ไม่มีเพราะไม่มีคนสอน ชั้นเรียนออนไลน์จึงเป็นเหมือนประตูให้เด็ก ๆ ได้เห็นว่าตอนนี้โลกไปถึงไหนแล้ว อยากให้เด็ก ๆ ได้ความรู้ใหม่ ๆ จะได้เข้าสังคมได้ง่ายขึ้นหลังเรียนจบ
ชั้นเรียนออนไลน์นี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ จนถึงปี 2559 มีโรงเรียนประถมและมัธยมต้นเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแล้วประมาณ 87% และเพื่อให้ครอบคลุมทั้งประเทศจึงทำข้อตกลงกับ China Unicom ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในการขยายบริการเคเบิล 100 Mbps ซึ่งเร็วพอ ๆ กับความเร็วสูงสุดที่ใช้กันในภาคธุรกิจ โดยตั้งเป้าทำให้ได้ภายในปี 2563
Xiong Bingqi รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการศึกษาศตวรรษที่ 21 ในกรุงปักกิ่งมองว่าห้องเรียนออนไลน์อาจแก้ปัญหาขาดแคลนครูในชนบทได้ในระดับหนึ่งก็จริงแต่ถึงยังไงการมีครูอยู่ในห้องเรียนจริง ๆ ก็ยังเป็นเรื่องจำเป็น “ทางการควรทุ่มเทให้กับการศึกษาในชนบทมากกว่านี้ อย่างน้อยควรเพิ่มเงินเดือนให้ครูในชนบทสองเท่า ถ้าทำได้ จะมีคนอยากไปเป็นครูในชนบทมากขึ้น”
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]