Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“มองเผิน ๆ เป็นการลงทุน แต่ภายใต้การลงทุน จีนยังหวังที่จะปักหมุดภูมิรัฐศาสตร์และขยายอิทธิพลการเมืองด้วย”

หลายปีมานี้ จีน “กว้านซื้อ” ท่าเรือในประเทศต่าง ๆ โดยอ้างว่าเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางค้าขายระหว่างเอเชีย แอฟริกา ยุโรป รวมถึงพื้นที่ห่างไกลตามยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative “ดูเหมือนเป้าหมายพื้นฐานของจีนคือต้องการลดการพึ่งพาต่างชาติไปพร้อมกับขยายอิทธิพลของตัวเองไปทั่วโลก” Frans-Paul Van der Putten ผู้เชี่ยวชาญจีนประจำสถาบันเนเธอร์แลนด์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กล่าว

ในยุโรปนั้น จีนเริ่มจากการเข้าเทคโอเวอร์ท่าเรือ Piraeus ในกรีซเมื่อปี 2551 ช่วงที่กรีซประสบภาวะใกล้ล้มละลาย ตามมาด้วยท่าเรือในหลายประเทศรวมทั้ง Zeebrugge ท่าเรือใหญ่ที่สุดอันดับสองของเบลเยียม นอกจากนี้จีนยังถือหุ้น 3 ท่าเรือใหญที่สุดในยุโรปทั้ง Euromax ในเนเธอร์แลนด์, Amtwerp ในเบลเยียม และ Hamburg ในเยอรมนี พูดง่าย ๆ ว่า 1 ใน 10 ของขีดความสามารถด้านท่าเรือทั้งหมดของยุโรปอยู่ในมือจีน ทำให้เกิดข้อกังขามากขึ้นโดยเฉพาะในสหภาพยุโรปว่า จีนมีวาระซ่อนเร้นภายใต้ฉากหน้าที่สวยหรูเรื่องเศรษฐกิจ

“มองเผิน ๆ เป็นการลงทุน แต่ภายใต้การลงทุน จีนยังหวังที่จะปักหมุดภูมิรัฐศาสตร์และขยายอิทธิพลการเมืองด้วย” Neil Davidson นักวิเคราะห์อาวุโสจากบริษัทที่ปรึกษาทางทะเล Drewry ในอังกฤษกล่าว สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วและสนับสนุนมุมมองนี้คือ จีนทำให้กรีซโหวตสนับสนุนจีนไม่ให้ถูกสหภาพยุโรปประณามทั้งประเด็นสิทธิมนุษยชนและความเคลื่อนไหวในทะเลจีนใต้ได้

“บูรณาการกองทัพเพื่อการใช้ประโยชน์ทางพลเรือน” คือแนวทางที่สี จิ้นผิงผลักดันตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีจีนเมื่อปี 2556 ซึ่งหมายถึงการทำให้อุตสาหกรรมทางทหารกับอุตสาหกรรมพลเรือนเอื้อประโยชน์กันและกัน โดยมีสหรัฐฯ เป็นต้นแบบ!

นักวิเคราะห์มองว่าสิ่งที่ชาติในยุโรปทำได้คือต้องพยายามไม่ให้จีนได้ถือครองที่ดิน “จริงอยู่ที่ตอนนี้จีนถือครองสินทรัพย์ในส่วนของท่าเรือ แต่ตราบใดที่ที่ดินไม่ได้เป็นของจีน ประเทศในยุโรปก็ยังวางใจได้” Neil Davidson นักวิเคราะห์จากอังกฤษกล่าว

ล่าสุด Jean-Claude Juncker ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ออกมาเตือนให้ชาติสมาชิกระวังการเข้าซื้อสินทรัพย์จากต่างชาติ แม้ไม่ได้ระบุชัดเจนแต่หมายถึงจีนอย่างไม่ต้องสงสัยและตอนนี้ทางคณะกรรมาธิการก็กำลังหาวิธีสกรีนการลงทุนจากต่างชาติโดยเฉพาะในด้านที่อ่อนไหว

 

ที่มา Why Is China Buying Up Europe’s Ports?
Why China buying up ports is worrying Europe

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า