SHARE

คัดลอกแล้ว

หากกล่าวถึง “เวียดนาม” เรานึกถึงอะไรเป็นสิ่งแรก? ภาพที่แวบขึ้นมาในหัวอาจจะเป็นหมวกรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมอันเป็นเอกลักษณ์ที่เรียกกันว่า น๊อนลา (Nón lá) หรือเมืองสวยๆ อย่าง ซาปา และ ฮานอย ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในช่วงนี้

แต่นอกจากด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแล้ว เวียดนามยังเป็นเหมือนเพื่อนบ้านและถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียนเช่นเดียวกับไทย ซึ่งมีเรื่องราวและแง่มุมน่าสนใจทางประวัติศาสตร์อีกมากมายที่เราอาจไม่รู้ โดยเฉพาะด้านความสัมพันธ์กับประเทศจีนแผ่นดินใหญ่

จีน คือมหาอำนาจทางเศรษฐกิจแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่กว้างใหญ่ด้วยพื้นที่และกว้างขวางด้วยจำนวนประชากรที่มากเป็นอันดับ 1 ของโลก พรมแดนของประเทศจีนติดกับ 15 ประเทศ หนึ่งในนั้นคือ เวียดนาม ซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่าถึง 29 เท่า ด้วยประชากรราว 94 ล้านคน

ไม่เพียงแต่เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีเขตแดนติดกัน เวียดนามและยังจีนมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน เพราะชาวเวียดนามเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีนเป็นเวลานานถึงสองพันปี และนั่นทำให้เวียดนามได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งทางวัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม รวมถึงการปกครองการเมืองระบอบคอมมิวนิสต์ ที่ทำให้ทั้งสองประเทศมีระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาดเหมือนกัน

 

แม้ว่าทั้งสองประเทศจะเป็นเหมือนพี่น้องกัน ทว่าความสัมพันธ์กลับไม่ราบรื่นเท่าที่ควร โดยประเด็นที่เป็นปัญหา 2 เรื่องสำคัญคือ กระแสชาตินิยมต่อต้านจีนของชาวเวียดนาม อันเป็นผลมาจากความขมขื่นในอดีตที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจหลายพันปี รวมถึงความขัดแย้งกับจีนในทะเลจีนใต้ ที่เป็นประเด็นร้อนอยู่เนืองๆ นำมาสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ ที่รัฐบาลเวียดนามต้องตัดสินใจเข้าปราบปรามผู้ชุมนุม

ด้วยเหตุนี้ หนทางการเอาตัวรอดของเวียดนามจึงเป็นการเล่นเกมส์การเมืองโดยพยายามดึงมหาอำนาจหลายประเทศเข้ามาสู่เกมส์นี้เพื่อให้ถ่วงดุลกับจีน ในสมัยของนายกรัฐมนตรี เหงียน เติน สุง (Nguyen Tan Dung) เขาหันไปมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐอเมริกาเพื่อคานอำนาจกับจีน นอกจากนี้ยังได้หันไปกระชับความสัมพันธ์กับมหาอำนาจอื่น เช่น  ญี่ปุ่นและอินเดียด้วย

นอกจากนี้ การเมืองภายในก็สร้างผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างใหญ่หลวง โดยการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามครั้งที่ 12 ในปี 2016 ที่มีขึ้นเพื่อเลือกผู้นำใหม่และกำหนดแนวทางการดำเนินนโยบายในอีก 5 ปีข้างหน้า มีการแบ่งออกเป็น  2 ฝ่ายอย่างชัดเจน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองเวียดนาม คือระหว่างฝ่ายเลขาธิการพรรค เหงียน ฝู จ็อง (Nguyen Phu Trongผู้นำกลุ่มอนุรักษ์นิยม (conservativeที่มีนโยบายใกล้ชิดกับจีน และนายกรัฐมนตรี เหงียน เติน สุง (Nguyen Tan Dungผู้นำกลุ่มปฏิรูป (reformer) ที่มีนโยบายเอนเอียงไปทางสหรัฐ และผลจากการลงคะแนนเสียงก็ตกเป็นของ เหงียน ฝู จ็อง ทำให้มีการคาดการณ์ว่านโยบายต่างประเทศของเวียดนามจะหันมาใกล้ชิดกับจีนมากยิ่งขึ้นและเหินห่างออกจากสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองก็ยังมีความพยายามในการเป็นมิตรต่อกันอยู่ เนื่องจากการทำให้ประเทศเพื่อนบ้านขนาดใหญ่อย่างจีนกลายเป็นศัตรูคงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก อีกทั้งจีนก็เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในเวียดนามเช่นกันทำให้มีปริมาณการค้าระหว่างกันมากพอสมควร เลขาธิการพรรค เหงียน ฝู จ็อง แห่งเวียดนามจึงมีการเดินทางเยือนจีนอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มกราคม 2017 ซึ่งถือเป็นการเยือนในเชิงสัญลักษณ์เพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์เวียดนาม-จีน นับแต่ที่ความสัมพันธ์ของสองประเทศตกต่ำลงจากเหตุการณ์ขุดเจาะน้ำมัน HYSY-981 แน่นอนว่านัยยะของการเยือนในครั้งนี้ย่อมไม่ได้หมายถึงการยอมรับอำนาจของจีนในทะเลจีนใต้

สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างได้ชัดก็คือบรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนาม-จีนนั้นมีท่าทีผ่อนคลายและเป็นมิตรมากขึ้น นอกจากนี้ เหงียน ฝู จ็อง ก็ไม่ได้ทำให้จุดยืนของเวียดนามต่อเรื่องทะเลจีนใต้เปลี่ยนไปหรือมีท่าทีอ่อนลง แต่ได้มีความพยายามจัดการกับวิกฤติและการสร้างความมั่นใจระหว่างกัน เช่น การแลกเปลี่ยนกองกำลังรักษาชายฝั่ง ระหว่างกัน (coast guard exchanges) ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ของทั้งสอง

กล่าวโดยสรุป การรักษาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่มีขนาดใหญ่กว่าตนมากก็ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเวียดนาม เพราะแม้จะมีความเกลียดชังจากคนในประเทศและความขัดกันของผลประโยชน์ในทะเลจีนใต้ ทว่าเวียดนามก็ยังคงต้องพึ่งพิงจีนในด้านเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและต้องคอยดูแลพื้นที่ชายแดนทางตอนเหนือที่ติดกับจีนด้วย เวียดนามจึงไม่อาจสะบั้นความสัมพันธ์ของตนกับจีนลงได้ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่อาจอ้าแขนรับจีนได้อย่างเต็มใจ ความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งเกลียดระหว่างเวียดนามและจีนจึงเกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยประการฉะนี้

บทความโดย รุ่งสิทธิ ธัญญสิทธิ์ อารยา เเซ่ลุ่ย และกัญญา ภูภักดิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า