SHARE

คัดลอกแล้ว

เครือข่ายเภสัชฯ ได้ข้อสรุป ร่าง พ.ร.บ.ยาใหม่ ให้กายจ่ายยาคงเดิมคือ ให้เภสัช แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ จ่ายยาได้เท่านั้น

สรุปผลการหารือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกลุ่มวิชาชีพเภสัชกรเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ ได้ข้อสรุปเรื่องการจ่ายยาของวิชาชีพอื่นๆ นั้น ให้ใช้รูปแบบเดิมคือ อิงตาม พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 นอกจากเภสัชกรแล้ว ให้ 3 วิชาชีพจ่ายยาได้คือ แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ ส่วนวิชาชีพอื่นๆ ไม่ต้องมีพ่วงท้าย

ส่วนปัญหาการแบ่งประเภทกลุ่มยายังไม่ได้ข้อสรุป โดยกลุ่มเภสัชกรเสนอให้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
1. ยาควบคุมพิเศษ
2. ยาอันตราย
3. ยาสามัญประจำบ้าน

ทั้งนี้ร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ยังคงเดินหน้าในส่วนที่ไม่มีปัญหา เนื่องจากทางกลุ่มเภสัชกรไม่ได้คัดค้านการแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ยา ทั้งฉบับ คัดค้านบางประเด็นที่ต้องปรับแก้เท่านั้น

สภาเภสัชกรรม ศูนย์ประสานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ได้บทสรุปผู้บริหารในประเด็นหลักของการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. … ทั้งหมด 7 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1 การจัดประเภทยา ตามนิยามในมาตรา 4 แก้ไขการแบ่งประเภทยาเป็น “ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา” “ยาควบคุม” และ “ยาสามัญประจำ บ้าน” เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล โดยยึดหลักการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา จากการที่ยาทุกชนิดมีทั้งคุณและโทษ การใช้ยาตามหลักสากลส่วนใหญ่จึงแบ่งยาเป็น 3 กลุ่มคือ 1) ยาที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งต้องแยกผู้สั่งยากับผู้จ่ายยาชัดเจน (prescription only) 2) ยาที่ผู้บริโภคสามารถใช้ได้เอง (non-prescription) และ 3) ยาที่อยู่ระหว่างแบบที่ 1 และ 2 ซึ่งให้สิทธิเภสัชกรแนะนำ การใช้ยาเพื่อรักษาอาการของโรคเบื้องต้น หากเป็นโรคร้ายแรงต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา (pharmacist only)

ประเด็นที่ 2  ซึ่งเป็นประเด็นที่อยู่ในความขัดแย้งอย่างรุนแรงในขณะนี้คือ การให้ข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ไม่ต้องขออนุญาตผลิต ขาย หรือ นำ เข้ายาแผนปัจจุบัน ยาแผนไทย ยาแผนทางเลือกตามมาตรา 24 ยาสำ หรับสัตว์ ตามมาตรา 60 และเภสัชเคมีภัณฑ์ เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เภสัชชีววัตถุ และเภสัชสมุนไพรตามมาตรา 87 การที่ไม่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพทุกวิชาชีพนำยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับแล้วมาผสมใหม่ แม้จะผสมตามหลักวิชา แต่ยกเว้นให้ผสมได้เฉพาะกรณีการให้ยาในขณะดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะรายของตน เนื่องจากการนำยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับแล้วมาผสมใหม่ถือว่าเข้าข่ายการผลิต เกิดเป็น “ยาสูตรตำ รับใหม่” ที่ตามหลักสากลต้องผ่านการตรวจสอบทั้งด้านประสิทธิผล ความปลอดภัยและคุณภาพอย่างเข้มงวดการผสมยา แบ่งบรรจุยา และผลิตยา ควรเป็นไปตามหลักวิชาเภสัชกรรม ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ทำ ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและปลอดภัย และผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวต้องมีองค์ความรู้และผ่านการฝึกปฏิบัติจนเข้าใจคุณสมบัติของตัวยาสำคัญ และสารอื่นที่ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับ รวมทั้งต้องมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและลำ ดับการผสมยา ความคงตัวของยา การเกิดอันตรกิริยาของส่วนประกอบต่างๆ ในตำรับ การระบุให้วิชาชีพใดก็ได้สามารถทำ หน้าที่ผสมยา แบ่งบรรจุยา และผลิตยาจึงส่งผลต่อความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ยา

ประเด็นที่ 3 ก็เป็นอีกประเด็นที่อยู่ในความขัดแย้งระหว่างวิชาชีพเภสัชศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ โดยในกฎหมายใหม่ระบุให้ผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญจัดการและควบคุมการประกอบการด้านยา มาตรา 26 และ 89 และ/หรือชีววัตถุ  โดยทางกลุ่มเภสัชกรได้ให้เหตุผลว่า ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยาและ/หรือชีววัตถุ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาและ/หรือชีววัตถุ โดยผู้เชี่ยวชาญต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีองค์ความรู้และทักษะที่เกิดจากการเรียนการสอนในหลักสูตรที่มีความเฉพาะด้าน และยังต้องมีการดำเนินการตามมาตรฐานซึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขทั้งด้านการปฏิบัติงาน สถานที่ และอุปกรณ์

ประเด็นที่ 4 กฎหมายใหม่ไม่มีการทบทวนทะเบียนตำ รับยา และต่ออายุ ทางด้านสภาเกสัชกรรมมีความเห็นว่า ควรเพิ่มการทบทวนทะเบียนตำ รับยาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยเป็นการทบทวน ตรวจสอบ และบริหารจัดการให้มีเฉพาะสูตรตำรับยาที่มีความเหมาะสมเพื่อใช้สำหรับผู้ป่วย รวมทั้งเป็นการขจัดยาที่ไม่เหมาะสมออกจากระบบยาของประเทศ จึงควรกำหนดให้ต่ออายุทะเบียนยาทุก 5 ปี

ประเด็นที่ 5 ใน พ.ร.บ.ยาใหม่ เปิดให้มีการโฆษณายาทุกประเภทและโฆษณาการรักษาโรคร้ายแรงได้ มาตรา 143 ซึ่งเรื่องดังกล่าว สภาเภสัชกรรมมีความเห็นว่า ปัญหาการโฆษณายาเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อการบริโภคยาฟุ่มเฟือยและบริโภคยาอย่างเหมาะสม จึงแก้ไขโดยเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามโฆษณาในเรื่องยาควบคุมพิเศษและยาอันตราย และการโฆษณาโรคร้ายแรงตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งถูกตัดออกไปในร่างฯ ฉบับ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะอาจทำให้ปัญหาการบริโภคยาอย่างไม่เหมาะสมทวีความรุนแรงมากขึ้น และผู้บริโภคจะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมการควบคุมการโฆษณาวัตถุอื่นใด เช่น อาหาร ที่หลอกลวงให้เข้าใจเป็นยา ส่งผลให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายและยังไม่ได้รับผลดีจากการบริโภค

ประเด็นที่ 6 พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ไม่มีข้อห้ามการขายยาชุด มาตรา 119 ยาชุดประกอบไปด้วยยาในกลุ่มเดียวกันหลายชนิด มักเป็นยาซ้ำซ้อน และผสมสเตอรอยด์ มีปัญหาการแพร่ระบาดในปัจจุบัน จึงเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามขายยาชุดที่ได้ระบุในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 เพื่อเป็นเครื่องมือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา

ประเด็นที่ 7 ไม่มีความรับผิดทางแพ่งสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับการยกเว้น มาตรา 159 และไม่มีโทษทางปกครองหลักการคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ยา และการประกันความปลอดภัยของผู้ใช้ยากำหนดให้ผู้ที่กระทำ ให้เกิดความเสียหายต้องรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ดังนั้น เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดที่ได้รับการยกเว้นผลิต ขาย หรือนำเข้า หรือรับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา ได้กระทำความเสียหายแก่ผู้บริโภค จึงต้องมีความรับผิดทางแพ่งด้วยเช่นเดียวกับผู้ผลิต ขาย หรือนำ เข้า หรือผู้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา นอกจากนี้ได้เพิ่มโทษทางปกครอง ซึ่งในปัจจุบันมีการนำ โทษทางปกครองมาบังคับใช้ในกฎหมายหลายฉบับอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้กระทำ ผิด ได้ถูกดำ เนินการโดยใช้มาตรการทางสังคมและมาตรการทางปกครอง

https://workpointnews.com/2018/09/04/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E-%E0%B8%A3-%E0%B8%9A-%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า