SHARE

คัดลอกแล้ว

ชาวปทุมธานีหวั่นผวารอบ 2 ถูกเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา

ย้อนกลับไปปี 2557 ชาวบ้าน 4 ชุมชนริมทางรถไฟตั้งแต่สถานีหลักหกถึงสถานีรังสิต ในเขตเทศบาลนครรังสิต ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี รวมตัวยื่นข้อเสนอกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เนื่องจากการสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต จะมีการกั้นแนวรั้วปิดทางเข้าออกชุมชน ทำให้วิถีชีวิตของชุมชนระหว่างวัด บ้าน โรงเรียน เปลี่ยนไป

ทั้งทางเข้าออกชุมชนฝั่งตะวันออก ประกอบด้วยชุมชนเดชาพัฒนา 87, ชุมชนเดชาพัฒนา, ชุมชนสุขเกษม และชุมชนสินสมุทร ใช้เส้นทางริมทางรถไฟเข้าออกทางเดียว

เสียงร้องดังก้องผ่าน นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2554 เป็นตัวแทนบอกเล่าความเดือดร้อนของชาวบ้าน จนนำมาสู่ข้อตกลง 4 ข้อในปี 2559 คือ เว้นถนนให้เข้าออกชุมชนกว้าง 4 เมตร, ทำทางข้ามทางรถไฟหน้าชุมชนและโรงเรียน, ทำท่อระบายน้ำชุมชนเดชาพัฒนา 87 ให้กว้างขึ้น กันปัญหาน้ำท่วมขัง และเอื้ออำนวยทางสัญจรให้คนในชุมชนสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้

แต่เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2561 ทั้ง 4 ชุมชนต้องหวั่นผวาอีกครั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ส่งหนังสือเชิญประชุมเรื่องการเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา โดยเจ้าหน้าที่รัฐแจ้งชาวบ้านว่าจะขอเวนคืนที่ดินลึกจากแนวรั้วของ รฟท. เข้าไปในชุมชนอีก 10 เมตร เพื่อวางตอม่อโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีบ้านประชาชนตั้งอยู่หลายหลังคาเรือน

นายภิรมย์ เพียรเก็บ ประธานชุมชนเดชาพัฒนา 87 เล่าว่า หากเวนคืนที่ดินจริง มีชาวบ้านในชุมชนตนเองกว่า 10 หลังคาเรือนจะไม่มีที่อยู่อาศัย และมีชาวบ้านอีกกว่า 70 หลังคาเรือนที่อยู่ท้ายซอยกังวลว่าจะไม่มีทางเข้าออก พื้นที่ชุมชนจะถูกปิดตายไม่สามารถสัญจรได้

ภิรมย์ เพียรเก็บ ประธานชุมชนเดชาพัฒนา 87

โดยปัจจุบันมีเพียงถนนที่ทาง รฟท. จัดเว้นไว้ให้ 4 เมตร เชื่อมไปยังสะพานเอกทักษิณทางเดียวที่ใช้สัญจรไปยังฝั่งตะวันตก เพื่อกิจวัตรประจำวัน เช่น ทำงาน ไปโรงเรียน และอนามัย หากเวนคืนที่ดินเพิ่มอาจทำให้ปิดทางใต้สะพานเอกทักษิณไปด้วย

ทั้งนี้ จะมีเวทีประชาพิจารณ์ในวันที่ 18 ก.ย. นี้ โดยชาวบ้านจะนำข้อกังวลเหล่านี้ไปถามหาคำตอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันดังกล่าว

น.ส.รุจิรา เย็นสุข อายุ 62 ปี หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบ บ้านและโฉนดอยู่ในรัศมีเวนคืนที่ดิน 9.2 ตารางวา ช่วงประตูบ้านจะถูกกั้นเป็นกำแพงปิดทางเข้าออกบ้านตัวเอง ซึ่งเธอมีความกังวลว่าหากเวนคืนที่ดินอีกครั้งจะไม่มีทางเข้าออก

รุจิรา เย็นสุข ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ

แน่นอนว่าชาวบ้านที่มีโฉนดจะได้รับค่าเวนคืนและรื้อถอน แต่ในชุมชนยังมีชาวบ้านที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินให้อยู่อาศัย อย่างเช่นกรณีสองพี่น้องคู่นี้ น.ส.คำมี ระยับศรี และ น.ส.ลัดดา มาระแสง ซึ่งพวกเขาไม่มีเอกสารสิทธิ์ ทำให้รู้สึกร้อนใจว่าหากที่ดินถูกเวนคืน พวกเขาจะไปอยู่ที่ใดได้บ้าง และการรื้อถอนไปหาที่อยู่ใหม่ต้องมีเงินไว้สำหรับค่าใช้จ่ายหลายแสนบาท ที่ตอนนี้พวกเขาไม่พร้อม

คำมี ระยับศรี และ ลัดดา มาระแสง

ในวันที่ 18 ก.ย. 2561 ที่สำนักงานเทศบาลนครรังสิตจะเปิดเวทีประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนกรณีเรื่องการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา ชาวบ้านคาดหวังว่าจะได้รับการรับฟังและหาแนวทางออกร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า