SHARE

คัดลอกแล้ว

สหภาพยุโรปแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของ ปธน.ทรัมป์ ที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ชี้เป็นการหักหลังชาติพันธมิตร 

วันที่ 10 พ.ค. 61 สื่อต่างประเทศรายงานว่า นายฌอง คล็อด ยุงเกอร์ ประธานสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวโจมตีการตัดสินใจของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ตัดสินใจถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน ซึ่งเป็นการหักหลังให้กับพันธมิตรทั้งหลาย ระบุ สหรัฐฯไม่ต้องการร่วมมือกับชาติอื่นๆ ในประชาคมโลกอีกแล้ว และยุโรปจะต้องกลายเป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจแทนสหรัฐอเมริกา

ฌอง คล็อด ยุงเกอร์

นายทรัมป์ระบุว่า ข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับนี้เป็นข้อตกลงที่แย่ที่สุด ไม่ได้แก้ไขปัญหาโครงการขีปนาวุธของอิหร่าน รวมถึงกิจกรรมนิวเคลียร์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังปี 2568 และยังเอื้อประโยชน์ฝ่ายเดียว หลังจากนี้สหรัฐฯ จะใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจสูงสุดต่ออิหร่านและประเทศที่สนับสนุนอาวุธนิวเคลียร์ให้อิหร่าน

ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน

มีชื่อเต็มว่า Joint Comprehensive Plan of Action: JCPOA เพื่อควบคุมโครงการนิวเคลียร์ระยะยาว ประชาคมโลกจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน แลกกับการที่อิหร่านจะต้องควบคุมโครงการอาวุธนิวเคลียร์ โดยมีการร่วมลงนามร่วมกันระหว่างอิหร่าน จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ เยอรมนี และสภาพยุโรป ไปเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2558

หลายชาติกังวล

หลังจากการถอนตัวข้อตกลงดังกล่าวของสหรัฐฯ สร้างความเป็นกังวลให้กับนานาชาติ นายบารัก โอบามา อดีต ปธน.สหรัฐฯ ผู้ผลักดันให้เกิดข้อตกลงนี้กล่าวว่า เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง นายวลาดิเมียร์ ปูติน กล่าวว่า รู้สึกกังวลเป็นอย่างมากกับสถานการณ์ที่รุนแรงเช่นนี้ แต่ได้รับเสียงชื่นชมจากพันธมิตรสำคัญในตะวันออกกลางคืออิสราเอลและซาอุดีอาระเบีย ซึ่งต่างเป็นศัตรูกับอิหร่านทั้ง 2 ประเทศ

มีการประท้วงกลางห้องประชุมรัฐสภา อิหร่าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้แสดงความไม่พอใจ ด้วยการนำกระดาษรูปธงชาติสหรัฐฯ มาจุดไฟเผากลางห้องประชุม สมาชิกคนอื่นๆ พากันตะโกนคำว่า Death to America หรือ อเมริกาจงพินาศ ในช่วงที่มีการจุดไฟกระดาษที่เสมือนเป็นตัวแทนของชาติมหาอำนาจประเทศนี้

โฆษกรัฐสภาอิหร่าน แสดงความเห็นว่า ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านจะยังคงมั่นคงต่อไป ส่วนการตัดสินของ นายทรัมป์ จะทำให้สหรัฐฯ ถูกโดดเดี่ยว

ขณะที่ นายฮัสซัน รูฮานี ปธน.อิหร่าน กล่าวยืนยันว่า อิหร่านจะคงอยู่ในข้อตกลงนิวเคลียร์กับชาติมหาอำนาจต่อไป แม้สหรัฐอเมริกาได้ประกาศถอนตัวแล้ว

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า