SHARE

คัดลอกแล้ว

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสครั้งที่ผ่านมา หรือการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีออสเตรียคนล่าสุดที่พึ่งผ่านมา เราจะได้ยินคำว่า “ซ้าย” “ขวา” หรือ “ตรงกลาง” ทางการเมืองอยู่บ่อยๆ 

 

เคยสงสัยมั้ยว่าความเห็นทางการเมืองและเศรษฐกิจของคุณอยู่ในกลุ่มใด? หลายๆคนอาจจะมองว่า “ซ้ายจัด” คือ คอมมิวนิสต์ หรือ “ขวาจัด” คือ เผด็จการแต่จริงๆ แล้วคำว่าขวาหรือซ้ายมีซับซ้อนมากกว่านั้น

 

ซ้ายขวา

คำว่า “ขวา” หรือ “ซ้าย” ในมุมมองของการเมืองและเศรษฐกิจนั้นปรากฏครั้งแรกในยุคปฏิวัติฝรั่งเศสปี พ.ศ 2332 เป็นการแบ่งที่นั่งของบุคคลในสมัชชาแห่งชาติ (Assemblée Nationale) ฝ่ายที่สนับสนุนเจ้าและขุนนางนั่งฝั่งขวาและฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติหรือกลุ่มพ่อค้าและเศรษฐีใหม่นั่งฝั่งซ้ายของประธานที่ประชุม

 

ชาวไร่ชาวนาสมัยนั้นไม่ได้มีส่วนร่วมในการประชุมสมัชชาและลงคะแนนเสียง ปัจจุบันการใช้คำว่าขวาหรือซ้ายได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สถานที่ และการพัฒนาทัศนคติของนโยบายการเมือง สังคม และ เศรษฐกิจ แต่ก็ยังคงเป็นคำที่ได้รับความนิยมและมักจะถูกนำไปใช้อย่างไม่ตรงกับความหมายดั่งเดิมมากนัก เนื่องจากพื้นฐานของคำว่าขวาซ้ายนั้นเกิดจากสังคมที่มีความแตกต่างทางความคิดและความเหลื่อมล้ำสูง

 

เมื่อโลกพัฒนาและเกิดประชากรชนชั้นกลางและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความแตกต่างระหว่างขวาซ้ายจึงซับซ้อนมากขึ้น แต่คำศัพท์ที่ใช้จัดลำดับความเห็นต่างนี้ก็ยังคงใช้อยู่อย่างแพร่หลาย

 

ความเป็นขวาหรือซ้ายนั้นขึ้นอยู่กับทัศนคติในแง่การมองสองปัจจัยคือ

1. บทบาทของรัฐและอำนาจของรัฐในการควบคุมสิทธิส่วนบุคคล กล่าวคือรัฐจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมความประพฤษติหรือมุมมองของประชากรมากเพียงใด

 

2. นโยบายทางเศรษฐกิจและการควบคุมการใช้ทรัพยากรโดยรัฐ ในแง่นี้รัฐสามารถเลือกได้ว่าจะปล่อยให้ทุกอย่างมีเอกชนเป็นเจ้าของและปล่อยให้เป็นไปตามกระแสของตลาดหรือจะจำกัดอำนาจของเอกชนในการบริหารและเป็นเจ้าของปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ

 

left

 

กลุ่มซ้าย โดยรวมแล้วจะให้ความสำคัญกับบทบาทของรัฐในการกระจายตัวผลประโยชน์ทางทรัพยากรและเศรษฐกิจ เช่นนโยบายเก็บภาษีสูงเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ กลุ่มซ้ายมักจะไม่นิยมสนับสนุนให้เอกชนถือสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินหรือทรัพยากรทางเศรษฐกิจเพราะมองว่าควรเป็นหน้าที่ของรัฐ นอกจากนี้รัฐยังมีหน้าที่ในการบริหารและจัดการสังคมให้ลดความแตกต่างและเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นและการประพฤษติตนที่อาจจะเป็นเอกเทศหรือแตกแยกไปจากสิ่งที่รัฐมองว่าจะนำมาซึ่งความสงบและความเป็นระเบียบ ทรัพยากร

 

ฝั่งซ้ายจะมองว่าปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างชนชั้น โดยทัศนคติของบุคคลในกลุ่มซ้ายนั้นจะมีตั้งแต่ ซ้ายกลางเช่นพวกสังคม-ประชาธิปไตย (Social Democracy)  นักเรียกร้องสิทธิแรงงาน ไปจนถึงซ้ายจัดอย่างลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ในปัจจุบัน

left

 

มีรัฐบาลน้อยมากบนโลกที่ในทางปฏิบัติดำเนินนโยบายฝ่ายซ้ายจริงๆแม้แต่ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียอย่างประเทศสวีเดนหรือนอร์เวยก็ดำเนินมุมมองซ้ายในกรอบของการใช้อำนาจและบริหารเศรษฐกิจแบบ “ขวา” ตัวอย่างของกลุ่มซ้ายซึ่งเน้นอำนาจรัฐในการควบคุมสุดโต่งนั้นประกอบด้วย เขมรแดง ลัทธิสตาลิน ฯลฯ ในสภาวะสุดโต่งรัฐจะไม่มีผู้ใดครอบครองผลผลิตหรือทรัพย์สินใดๆได้ และมีการออกแบบกฏเกณฑ์การปฏิบัติในสังคมที่เป็นไปอย่างแคร่งครัดและมีบทลงโทษที่มักจะเน้นการใช้อำนาจความรุนแรงเชิงทหารเพื่อรักษาอำนาจของรัฐเอาไว้ ปรากฏการทางฝั่งซ้ายอีกแบบคือประชานิยมแบบซ้ายที่พบเห็นได้ในประเทศแถบลาตินอเมริกา คือลักษณะพรรคการเมืองที่ต่อต้านระบบทุนนิยมโดยเฉพาะเน้นการโจมตีสหรัฐอเมริกาแต่จะสับสนุนเสรีภาพด้านแรงงาน กลุ่มนี้มักต่อต้านโลกาภิวัฒน์

 

ในขณะที่ซ้ายแบบไม่เอาอำนาจรัฐนั้นจะต่อต้านความคิดด้านการใช้ความรุนแรงและสร้างกำลังทางทหารของซ้ายคอมมิวนิสต์ แต่เชื่อว่าทรัพยากรนั้นควรเป็นกรรมสิทธิของคนส่วนมากและสามารถบริหาร ผ่านความร่วมมือของแต่ละบุคคล กลุ่มนี้เชื่อว่ารัฐและทหารไม่ใช่สิ่งจำเป็น ธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการแสวงหาความก้าวหน้า และการแบ่งปันโอกาสอย่างเท่าเทียมจะทำให้เกิดการพัฒนาได้ กลุ่มนี้ต่อต้านแนวความคิดทหารและชาตินิยม มีตัวอย่างเช่น อิสระนิยมซ้าย (Left-libertarians) โดยนักวิชาการส่วนใหญ่มักจะอยู่ในกลุ่มนี้ ในลักษณะสุดโต่งกลุ่มนี้จะกลายเป็น คอมมิวนิสต์อนาธิปไตย (Anarcho-capitalism) ซึ่งเป็นลักษณะการปกครองและการบริหารที่อยู่ในเชิงทฤษฏีเท่านั้น

 

right

 

ฝั่งขวา คือกลุ่มที่เชื่อในกลไกของตลาดและไม่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการบริหารเศรษฐกิจมากมายนัก โดยจะแบ่งเป็นฝ่ายที่ต้องการให้รัฐบาลยังคงควบคุมความประพฤษติและปัจจัยต่างๆของสังคม (ขวาบน) กับ กลุ่มที่ไม่ต้องการให้รัฐเข้ามามีบทบาทใดๆเลยทั้งในแง่สังคมและเศรษฐกิจ (ขวาล่าง)

 

กลุ่มขวามักมีความเชื่อในแนวทางอนุรักษ์นิยม ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและความคิดในเชิงผลประโยชน์ของชาติหรือกลุ่มของตน รัฐบาลส่วนมากทั่วโลกจะอยู่ในกลุ่มขวากลางและต่อให้ซ้ายการบริหารก็จะออกมาในแนวทาง “ซ้ายของขวา” แม้แต่พรรคที่เรียกตัวเองว่า สังคม-ประชาธิปไตย อย่าง SPD ของนางอังเกลา แมร์เคิล ก็ดำเนินนโยบายเชิงเศรษฐกิจที่ไม่ได้ควบคุมมากเท่าหลักการทางทฤษฏีที่ต้องอยู่ฝ่ายซ้าย

 

กลุ่มขวากลางจะมีแนวคิดหลายอย่างคล้ายซ้ายกลางเช่นแนวทางเรื่องการให้สวัสดิการพื้นฐาน แต่จะไม่มองว่าปัญหาของสังคมเกิดขึ้นเพราะระบบชนชั้นและจะมองว่าปัญหาเกิดจากนโยบายที่ผิดพลาดมากกว่า กลุ่มขวาที่ชัดเจนมากกว่าหน่อยจะเป็นกลุ่ม อนุรักษน์นิยม (Conservatives) กลุ่มชาตินิยม (Nationalist) และ กลุ่มทุนนิยม (Capitalists)

right

 

กลุ่มขวารุนแรงมักมีการบริหารโดยใช้กำลังทหารแบบกลุ่มซ้ายรุนแรงที่เน้นอำนาจรัฐ มักประกอบด้วย กลุ่มรัฐอำนาจนิยม รัฐกลุ่มฟาสซิสต์ เป็นต้น ในขณะที่หากเป็นขวาแบบไม่นิยมอำนาจรัฐ (ขวาล่างในภาพ) จะเน้นให้กลไกตลาดและธรรมชาติเป็นตัวกำหนดแนวทางสังคมและกระแสเศรษฐกิจ กลุ่มนี้ประกอบด้วย เสรีนิยมแบบขวา (right libertarians) และในสภาวะสุดโต่งจะออกมาในรูปแบบอนาธิปไตย (anarchy)

 

ดังนั้นการที่จะระบุว่ากลุ่มใดขวาหรือซ้ายนั้นมักจะดูได้จากการเข้ามามีบทบาทของรัฐในแง่เศรษฐกิจ กลุ่ม Ultra-right หรือว่าขวารุนแรงที่เน้นนโยบายประชานิยมแบบชาตินิยม ต่อต้านการค้าเสรีและการเคลื่อนย้ายแรงงาน (Immigration) ที่เราเห็นอยู่ในกระแสการเมืองโลกจึงจัดเป็นขวาลักษณะที่ใช้รัฐเข้าควบคุม (ขวานิยมอำนาจรัฐ) ในขณะที่กลุ่มทุนนิยมพรรคพวกหรือกลุ่มที่เชื่อมากในกลไกตลาดมักไม่นิยมให้รัฐเข้ามามีบทบาทแม้กระทั่งตรวจสอบจรรยาบรรณในการปฏิบัติกิจการ

 

แล้วคุณคิดว่าประเทศไทยอยู่จุดไหนระหว่างขวาหรือซ้ายในแง่การเมืองและเศรษฐกิจ?

 

 

บทความโดย พชรพร พนมวันฯ
นักศึกษาปริญญาเอก สาขา เศรษฐศาสตร์ประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า